DekGenius.com
Search :
พจนานุกรม พุทธศาสน์ : ความหมายของคำว่า   ปิณฑปาติกังคะ คือ หมายถึง ...
   
  ปิณฑปาติกังคะ ความหมาย คือ เครื่องดื่ม , น้ำสำหรับดื่ม ที่คั้นจากลูกไม้ (น้ำคั้นผลไม้) จัดเป็นยามกาลิก ท่านแสดงไว้ ๘ ชนิด คือ ๑. อมฺพปานํ น้ำมะม่วง ๒. ชมฺพุหานํ น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า ๓. โจจปานํ น้ำกล้วยมีเม็ด ๔. โมจปานํ น้ำกล้วยไม่มีเม็ด ๕. มธุกปานํ น้ำมะทราง (ต้องเจือน้ำจึงจะควร) ๖. มุทฺทิกปานํ น้ำลูกจันทน์หรือองุ่น ๗. สาลุกปานํ น้ำเหง้าอุบล ๘. ผารุสกปานํ น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่นิยมเรียกว่า อัฏฐบาน หรือ น้ำอัฏฐบาน (ปานะ ๘ อย่าง)วิธีทำปานะที่ท่านแนะไว้ คือ ปอกหรือคว้านผลไม้เหล่านี้ที่สุด เอาผ้าห่อ บิดให้ตึงอัดเนื้อผลไม้ให้คายน้ำออกจากผ้าเติมน้ำลงให้พอดี (จะไม่เติมน้ำก็ได้เว้นแต่ผลมะทรางซึ่งท่านระบุว่าต้องเจือน้ำจึงควร) แล้วผสมน้ำตาลและเกลือเป็นต้นลงไปพอให้ได้รสดีข้อจำกัดที่พึงทราบคือ ๑. ปานะนี้ให้ใช้ของสดห้ามมิให้ต้มด้วยไฟ (ข้อนี้พระมิตสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรฐาณวโรรสว่าแม้สุกก็ไม่น่ารังเกียจ) ๒. ต้องเป็นของที่อนุปสัมบันทำ จึงควรฉันในเวลาวิกาล (ถ้าภิกษุทำถือเป็นเหมือนยาวกาลิก เพราะรับประเคนมาทั้งผล) ๓. ของประกอบเช่นน้ำตาลและเกลือ ไม่ให้เอาของที่รับประเคนค้างคืนไว้มาใช้ (แสดงว่ามุ่งให้เป็นปานะที่อนุปสัมบันทำถวายด้วยของของเขาเอง)
   
 
:: Back to Dictionary
   (ส่งเข้าทาง inbox facebook)
(Share ผ่าน social network)