การแปลงประเภทข้อมูล (Data Conversion)

การแปลงประเภทข้อมูล (Data Conversion)

ตัวแปร (Variable) หรือวัตถุ (Object) ที่มีความสามารถในการเก็บข้อมูล (Data) มีรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เป็นตัวเลข หรือตัวอักษร เมื่อมีการกำหนดค่าข้อมูลให้กับตัวแปร ย่อมต้องส่งค่าและประเภทที่ถูกต้องเข้าไปยังตัวแปรให้ถูกต้อง ถ้าส่งผิดประเภทย่อมเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้

การส่งข้อมูลผิดประเภทเข้าไปอาจเกิดขึ้นได้ในกรณีที่วางแผนไว้ล่วงหน้า ซึ่งภาษาจาวาเตรียมวิธีการส่งข้อมูลต่างประเภทกันเข้าไปในตัวแปร หรือวัตถุที่ต้องการได้ เช่น แปลงข้อมูลจากตัวอักษรเป็นตัวเลข แล้วส่งเข้าตัวแปร หรือวัตถุเป้าหมาย

บางครั้งมีข้อมูลแบบตัวอักษร หากต้องการแปลงเป็นตัวเลขเพื่อนำไปประมวลผล ก็ต้องใช้คลาส และเมธอดที่ตัวแปลภาษามีให้ เช่น Byte.parseByte( ) ซึ่งรับตัวอักษร แล้วคืนค่ากลับมาเป็นตัวเลข

      String a = “5”;

      String b = “6”;

      System.out.println(Byte.parseByte(a) + Byte.parseByte(b));

ตัวอย่าง 1.7 การแปลงข้อมูลให้เป็นแบบไบท์

– คำถาม : ถ้ามี String 2 ตัวแปร ให้นำมาหาผลรวม ต้องทำอย่างไร

int a = 260;

byte b = (byte)a;                   // ค่าของ b คือ 4 = 1 0000 0100

byte c = (byte)260;                 // ค่าของ c คือ 4 = 1 0000 0100

byte d = Byte.parseByte(“10”);      // ค่าของ d คือ 10

byte e = Byte.valueOf(“5”).byteValue();   // ค่าของ e คือ 5

byte f = (byte)129;                 // ค่าของ f คือ -127

129 = 1000 0001

0111 1110 = 112 + 14 = – 126 – 1 = -127

128   64    32    16    8     4     2     1