การออกแบบบ้านให้ประหยัดพลังงาน

การออกแบบบ้านให้ประหยัดพลังงาน

  • ปลูกต้นไม้ทรงสูงเพื่อบังแสงอาทิตย์ โดยที่จะต้องให้มีกระแสลมเย็นพัด ผ่านใต้พุ่มใบในความเร็วที่พอเหมาะ เพื่อลดอุณภูมิภายนอกใกล้บริเวณบ้านและ ป้องกันลมพัดผ่านเข้าตัวบ้านมากเกินไป โดยควรปลูกต้นไม้ในทิศตะวันออกและ ทิศตะวันตก
  • ควรเลือกชนิดต้นไม้ที่เหมาะสมสำหรับใช้เป็นร่มเงาที่มีอยู่ตามท้องถิ่นเช่น ต้นปีบ ต้นอินทนิล ต้นสัตบัน ต้นสุพรรณิกา เป็นต้น เพื่อลดการใช้ปุ๋ย ยาฆ่า แมลงการดูแลรักษา เนื่องจากต้นไม้เหล่านี้มีความเคยชินกับสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศในประเทศไทยอยู่แล้ว
  • นำหลักภูมิสถาปัตย์มาใช้ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมรอบๆ บริเวณบ้านให้ เย็นสบาย โดยการปลูกพืชคลุมดิน ปลูกหญ้า จัดแต่งสวน จัดทำน้ำตกจำลอง เป็นต้น
  • ถมดินบริเวณรอบบ้านให้สูง เพื่อให้พื้นและผนังบางส่วนต่ำกว่าดิน
    ทำให้สามารถนำความเย็นจากดินมาใช้ และปลูกไม้พุ่มบริเวณผนังบ้าน
  • ในกรณีที่มีพื้นที่จำกัด อาจจะปลูกต้นไม้ดัด หรือไม้เลื้อยตามระเบียง
    หรือรั้ว
    เพื่อลดลมร้อนพัดผ่านเข้าตัวบ้าน และลดความแรงของแสงแดดที่
    ส่องผิวอาคาร

  • ทำรางน้ำและท่อระบายน้ำจากหลังคา หรือส่วนต่างๆ ภายในบ้านให้ เหมาะสม เพื่อป้องกันความชื้นซึมเข้าไปในบ้าน หรืออาจจะทำท่อระบายน้ำที่ได้จาก การซักล้างไปใช้รดน้ำต้นไม
  • ถ้าต้องการทำที่จอดรถ ควรทำที่จอดรถพร้อมหลังคาในด้านทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก เพื่อเป็นการช่วยลดความร้อนผ่านเข้ามาในตัวบ้านโดยตรง
  • บุฉนวนกันความร้อนที่หลังคาและผนัง โดยความหนาของฉนวนที่ใช้ต้อง ขึ้นอยู่กับภาระทำความเย็น แต่ส่วนใหญ่ใช้ฉนวนที่มีความหนาประมาณ 2-3 นิ้ว (50-75 มม.) ฉนวนสำหรับหลังคาและผนังมีหลายชนิด ได้แก่ ฉนวนใย แก้ว ฉนวนเยื่อกระดาษ ฉนวนเซรามิก
  • ทาสีผนังด้านนอกของบ้านเป็นสีอ่อน ใช้วัสดุที่มีผิวมันและกันความชื้น
  • ใช้กระเบื้องหลังคาสีอ่อน เพื่อสะท้อนความร้อนได้ดี
  • สำหรับผนังด้านที่มีระเบียงยื่น ควรเลือกใช้ประตูหรือหน้าต่างชนิดบาน
    พลิก
    ซึ่งสามารถควบคุมปริมาณลมได้ดีกว่าการใช้ประตูหรือหน้าต่างชนิดบานเลื่อน
  • ติดตั้งหน้าต่างกระจกเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น โดยให้เพียงพอในการรับแสง
    สว่างจากธรรมชาติ และควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งด้านทิศตะวันออกและตะวันตก

  • ทำกันสาดให้กับหน้าต่างกระจก โดยกันสาดแนวราบเหมาะสมกับหน้าต่าง ที่อยู่ทางทิศเหนือและทิศใต้ เพราะสามารถบังแสงอาทิตย์ในช่วงเที่ยงและช่วง บ่าย ส่วนกันสาดแนวดิ่งเหมาะสมกับหน้าต่างที่อยู่ทิศตะวันออกและทิศตะวันตก
  • ติดตั้งผ้าม่านหรือมู่ลี่บริเวณหน้าต่างกระจก เพื่อป้องกันความร้อนจากแสง อาทิตย์เข้าภายในตัวบ้าน ส่วนการติดฟิล์มกรองแสงที่กระจกหน้าต่างนั้น แม้จะป้องกัน ความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้ดีกว่า แต่ค่าใช้จ่ายสูงกว่าจึงไม่ค่อยเป็นที่นิยม
  • สำหรับห้องนอนหรือห้องที่ต้องการปรับอากาศที่ตั้งอยู่บริเวณชั้นสองเหนือ บริเวณที่จอดรถหรือระเบียง ควรมีการทาหรือพ่นฉนวนที่ฝ้าเพดานของที่จอดรถ หรือระเบียงนั้นๆ เพื่อป้องกันการนำความร้อนจากภายนอกผ่านใต้พื้นห้องเข้า สู่ตัวห้อง
  • ติดตั้งพัดลมระบายอากาศบนหลังคา เพื่อดูดอากาศร้อนใต้หลังคาออกไป ภายนอก
  • ทำระเบียงยื่นพร้อมติดกันสาดในทิศตะวันออกและทิศตะวันตก สำหรับใช้ เป็นที่นั่งทานอาหารว่างหรือใช้ทำครัวนอกบ้านแล้วยังช่วยลดความร้อนเข้ามา ในบ้านอีกด้วย
  • อุดรอยรั่วด้วยซีเมนต์หรือซิลิโคน (Silicone) ที่ช่องติดตั้งโคมไฟ ช่องติด ตั้งพัดลมเพดาน ช่องที่เตรียมไว้สำหรับเดินท่อน้ำ เป็นต้น เพื่อป้องกันความ ร้อนจากภายนอกผ่านเข้าช่องเพดาน
  • อุดรอยรั่วตามรอยต่อ ระหว่างผนังขอบประตู หน้าต่าง เพื่อป้องกันความ ร้อนและความชื้นจากภายนอกผ่านเข้าไปในบ้าน ในกรณีที่ห้องนั้นเป็นห้อง ปรับอากาศ
  • จัดวางตู้และชั้นวางของให้เหมาะสม ไม่บังลม ไม่กีดขวางการระบาย อากาศ และไม่บังแสง
  • จัดวางโต๊ะเขียนหนังสือให้หันหน้าไปในผนังด้านที่รับแสงธรรมชาติได้
  • หมั่นดูแลรักษาทำความสะอาด พรม ผ้าม่าน โซฟา ไม่ให้เปียกชื้น เพื่อลดภาระทำความเย็นเนื่องจากความร้อนแฝง

                       

  • จัดแบ่งห้องใช้สอยโดยคำนึงถึงการประหยัดพลังงาน โดยจัดห้องที่ใช้ ตอนเช้าอยู่ในทิศตะวันออก ส่วนห้องที่ใช้สอยเกือบทั้งวันให้อยู่ทิศเหนือ เพราะจะเย็นสบายที่สุด เช่น ห้องนั่งเล่นอยู่ในทิศเหนือ เป็นต้น
  • ควรติดตั้งคอนเดนเซอร์ระบายความร้อนด้วยอากาศในที่ร่ม หรือใต้ต้นไม้ และต้องไม่มีสิ่งกีดขวางทางลมเข้าและออกจากคอนเดนเซอร์ ในด้านทิศ เหนือของบ้านเป็นด้านที่เหมาะสมที่จะติดตั้งคอนเดนเซอร์มากที่สุด แต่ถ้าไม่ สามารถติดตั้งในด้านทิศเหนือก็สามารถติดทางทิศใต้ที่มีกันสาดแทนได้
  • ควรติดตั้งคอนเดนเซอร์ในที่ๆ สามารถดูแลบำรุงรักษาสะดวก และใน ที่ๆ ไม่ส่งเสียงรบกวนเข้ามาภายในห้อง
  • ควรติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ (Thermostat) ภายในห้องปรับอากาศ ให้เหมาะสมคือ ไม่ควรโดนแสงอาทิตย์โดยตรง เพราะจะทำให้เทอร์โมสตัท อ่านค่าผิดพลาดและควรติดตั้งในบริเวณที่สามารถอ่านค่าอุณหภูมิได้ง่ายและ และสะดวกต่อการปรับตั้งค่าอุณหภูมิตามต้องการ
  • ควรติดตั้งเครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า ในบริเวณที่ไม่ปรับอากาศและเปิดโล่ง เช่น ที่จอดรถ ระเบียงนอกบ้าน เพื่อระบายความร้อนและลดความชื้นที่ปลด ปล่อยมาจากเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ แต่ถ้าต้องติดตั้งในห้องปิด ควรจะต้องติด ตั้งพัดลมระบายอากาศ เพื่อป้องกันการสะสมความร้อนและความชื้นภายในห้อง

           

  • พิจารณาทำห้องครัวให้อยู่นอกตัวบ้าน แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ห้องครัวที่อยู่ ภายในตัวบ้านควรมีการระบายความร้อนที่ดี เพราะห้องครัวมักประกอบด้วย เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิด เช่น เตาอบ เตาหุงต้ม กาต้มน้ำร้อน ตู้เย็น ซึ่งเป็น แหล่งปลดปล่อยความร้อนที่สำคัญ
  • ติดตั้งเครื่องดูดกลิ่นหรือดูดควันใบริเวณที่ทำการหุงต้ม และอากาศ ที่ใช้กับเครื่องดูดกลิ่นหรือดูดควันนี้ ควรมาจากภายนอกบ้านไม่ควรใช้อากาศ
    เย็นจากเครื่องปรับอากาศโดยตรง
  • เลือกใช้อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง นอกจากจะประหยัด พลังงานจากตัวมันเองแล้ว ยังลดความร้อนที่ถูกปล่อยออกมาในเวลาใช้งาน อีกด้วย เช่น ใช้ตู้เย็นประสิทธิภาพสูง ใช้หลอดไฟประสิทธิภาพสูง เป็นต้น