COMPARISON

COMPARISON

ความหมาย

COMPARISON คือ การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบเพื่อหาความแข็งแกร่ง โดยเปรียบเทียบ (Relative Strength) ระหว่างหลักทรัพย์หนึ่งกับอีกหลักทรัพย์หนึ่ง หรือระหว่างอุตสาหกรรมหนึ่งกับอีกอุตสาหกรรมหนึ่ง หรือระหว่างตลาดหนึ่งกับอีกตลาดหนึ่ง รวมถึงการเปรียบเทียบระหว่างหลักทรัพย์หนึ่ง กับอุตสาหกรรมหนึ่ง  หรือกับตลาดหนึ่ง

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า COMPARISON เป็นการวิเคราะห์ทางเทคนิคในแนวกว้าง ซึ่งแตกต่างจากการวิเคราะห์ในแนวลึก ที่จะเป็นการเจาะจงวิเคราะห์หลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่ง หรืออุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง หรือตลาดใดตลาดหนึ่ง เพื่อหาแนวโน้มการเคลื่อนที่เฉพาะสิ่งที่เจาะจงวิเคราะห์นั้น ๆ

โดยการวิเคราะห์แบบ COMPARISON นี้ จะมีลักษณะทำนองเดียวกับ การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental) ของกองทุนระหว่างประเทศต่าง ๆ ในประเด็นที่ว่า จะต้องเริ่มต้นด้วยการเปรียบเทียบตลาดหุ้นของประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อหาว่าตลาดหุ้นของประเทศไทยหรือของภูมิภาคใด มีศักยภาพในการเจริญเติบโตสูงกว่าที่อื่น เพื่อจะได้เน้นการลงทุน (Overweight) ไปยังประเทศหรือภูมิภาคนั้น ๆ หลังจากนั้น จะทำการเปรียบเทียบต่อไปว่า กลุ่มอุสาหกรรมใดของประเทศนั้นที่มีศักยภาพในการเจริญเติบโตสูงกว่ากลุ่มอุตสาหกรรมอื่น และขั้นต่อมาจึงจะทำการเปรียบเทียบหาบริษัทที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมนั้น ๆ ที่มีศักยภาพในการเจริญเติบโตสูงกว่าบริษัทอื่น ๆ เพื่อว่า ในที่สุดจะได้เน้นการลงทุนไปที่บริษัทนั้น ๆ และกระจายการลงทุนที่เหลือไปยังบริษัทอื่น กลุ่มอุตสาหกรรมอื่น และ/หรือประเทศอื่น ๆ ที่มีศักยภาพรองลงไปตามลำดับ

การคำนวณ

COMPARISON โดยพื้นฐานแล้วเป็นการคำนวณอย่างง่าย ๆ โดยนำสิ่งที่ต้องการเปรียบเทียบตัวหนึ่ง หารด้วยสิ่งที่ต้องการเปรียบเทียบอีกตัวหนึ่ง เช่น

ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย / ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์

ดัชนีกลุ่มธนาคารพาณิชย์ / ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย

ดัชนีกลุ่มพนักงาน / ดัชนีกลุ่มเงินทุนหลักทรัพย์

ราคาหุ้นธนาคารกรุงเทพ / ดัชนีกลุ่มธนาคารพาณิชย์

ราคาหุ้นธนาคารกสิกรไทย / ราคาหุ้นธนาคารกรุงเทพ เป็นต้น

หรือเขียนเป็นสูตรการคำนวณได้ดังนี้

COMPARISON      =      Price X

Price Y

โดยที่    Price X =   ราคาของหลักทรัพย์ X ณ วันหนึ่ง ๆ

Price Y =   ราคาของหลักทรัพย์  ณ วันหนึ่ง ๆ

เมื่อได้ผลลัพธ์จากการหารในแต่ละช่วงเวลาแล้ว ให้นำมาสร้างเป็นกราฟต่อเนื่องกันไป ภาพกราฟที่ได้นี้ โดยทั่วไปแล้วจะมีลักษณะการเคลื่อนไหวที่คล้ายกับราคาหุ้น ดังรูป

การวิเคราะห์

ในการวิเคราะห์ COMPARISON ในลำดับต่อไปนั้น จะมีการนำการวิเคราะห์ทางเทคนิคในแนวลึกต่าง ๆ มาวิเคราะห์กราฟ COMPARISON อีกขั้นหนึ่ง โดยเครื่องมือที่นำมาใช้อาจได้แก่ การวิเคราะห์ Pattern, Moving Average, RSI, Stochastic หรือ Trend Line เป็นต้น ทั้งนี้แล้วแต่ความเหมาะสม รวมถึงระยะเวลาของการลงทุนด้วยว่าเป็นระยะสั้น ระยะกลาง หรือยาว

สำหรับหลักการวิเคราะห์เครื่องมือต่าง ๆ ข้างต้น ใช้แนวทางเดียวกันกับการวิเคราะห์หุ้นรายตัวนั่นเอง จะแตกต่างกันในประเด็นความหมายที่ได้รับ กล่าวคือ ถ้าเป็นการวิเคราะห์รายตัว ความหมายที่ได้จะเป็นการบอกถึงแนวโน้มของหุ้นตัวนั้น ๆ ว่าดีหรือเลว อยู่ในแนวโน้มขาขึ้นหรือลง แต่สำหรับการวิเคราะห์ COMPARISON นั้น ความเหมาะที่ได้จะเป็นการบอกถึงแนวโน้มของหลักทรัพย์หนึ่งว่า ดีกว่าหรือเลวกว่า  อีกหลักทรัพย์นั้นอาจเป็นการลงทุน เพียงแต่ว่าเป็นการขาดทุนที่น้อยกว่าการลงทุนในอีกหลักทรัพย์หนึ่ง

อนึ่งหุ้นได้รับการคัดเลือกจากการวิเคราะห์ด้วย COMPARISON ว่ามีแนวโน้มที่ดีกว่าหุ้นตัวอื่น ๆ ในตลาดนั้น ควรจะถูกนำมาวิเคราะห์ทางเทคนิคในแนวลึกอย่างละเอียดอีกครั้งก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนในหุ้นนั้น ๆ ทั้งนี้เพื่อให้ทราบถึงระดับราคาที่เหมาะสมแก่การลงทุน รวมถึงเป้าหมายของราคาที่ควรจะวิ่งไปถึงในอนาคต ต่อไปนี้เป็นภาพลำดับขั้นในการวิเคราะห์ (COMPARISON) :

ขั้นที่ 1   : ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย(SET9)มีแนวโน้มที่ดีกว่าดัชนีดาวโจนส์ (II30a)

ขั้นที่ 2  : ดัชนีกลุ่มธนาคารพิจารณา (SETBANK) มีแนวโน้มที่ดีกว่าดัชนีตลาดไทยโดยรวม  (SET 9)

ขั้นที่ 3   : หุ้นธนาคารกรุงไทย (KTB9) มีแนวโน้มที่ดีกว่ากลุ่มธนาคารโดยรวม (SETBANK)

ขั้นที่ 4  : วิเคราะห์ระดับราคาและปริมาณการซื้อขายหุ้นธนาคารกรุงไทยอย่างละเอียดอีกครั้งก่อนตัดสินใจลงทุน

จากตัวอย่างข้างต้น แสดงให้เห็นว่าการวิเคราะห์ COMPARISON) เป็นให้สามารถคัดเลือกหุ้นที่ดีรวดเร็ว ซึ่งช่วยให้การวิเคราะห์ทางเทคนิคประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น