ฟิบอนนาซี่แบบเส้นขนาน (FIBONACCI LINES)

ฟิบอนนาซี่แบบเส้นขนาน  (FIBONACCI LINES)

การสร้างรูปแบบนี้ สามารถทำได้ทั้งในแนวนอน หรือตามแนวโน้มที่กำลังขึ้นหรือลงอยู่ โดยในแนวนอน เริ่มต้นจะต้องหาจุดสูงสุด หรือต่ำสุดของแนวโน้มที่มีนัยสำคัญของราคาหุ้นเสียก่อน แล้วทำการสร้างเส้นตรงแนวนอน (Horizontal line) ผ่านจุดนั้น, ส่วนในแนวโน้มขึ้น เริ่มต้นด้วยการสร้างเส้นแนวโน้มขึ้นจากจุดต่ำสุดอย่างน้อยสองจุด, สำหรับในแนวโน้มลง จะเริ่มด้วยการสร้างเส้นแนวโน้มลงจากจุดสูงสุดอย่างน้อยสองจุด

หลังจากนั้น ให้สร้างเส้นตรงที่ขนานกับเส้นแรก โดยลากผ่านจุดสูงสุดหรือต่ำสุดที่ตรงข้ามกับเส้นแรก และต่อมาก็สร้างเส้นขนานในช่องระหว่างเส้นทั้งสอง ตามอัตราส่วน 38.2% 50.0% และ 61.8% ตามอัตราส่วนเลขฟิบอนนาซี่ (FIBONACCI RATIO) เพื่อแบ่งช่องว่างระหว่างเส้นขนานระหว่างจุดสูงสุดและต่ำสุด และ ณ เส้นตรงขนานระดับ 38.2%, 50.0% และ 61.8% นี้เองทำหน้าที่เป็นทั้งแนวรับหรือแนวต้านสำหรับราคา และเมื่อราคาหุ้นสามารถวิ่งทะลุผ่านขึ้นหรือลงก็จะให้สัญญาณซื้อหรือขายตามลำดับ

จากรูปภาพ เป็นตัวอย่างของฟิบอนนาซี่แบบเส้นขนานในแนวนอน เรากำหนดให้จุด A เป็นจุดสูงสุด และจุด B เป็นจุดต่ำสุด โดยมีเส้นขนาน C, D, และ E เป็นตัวแบ่งความกว้างระหว่างจุด A และ B ตามอัตราส่วนเลขฟิบอนนาซี่ และสำหรับการวิเคราะห์ เราจะเห็นได้ว่า ในช่วงระหว่าง JUNE ถึง SEP. ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีการเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบกว้าง ๆ ระหว่างเส้น C ที่กรณีนี้ทำหน้าที่เป็นแนวต้านและเส้น E ที่ทำหน้าที่เป็นแนวรับในขณะที่มีเส้น D อยู่ตรงกลาง ซึ่งทำหน้าที่เป็นแนวรับเมื่ออยู่ต่ำกว่าราคาหุ้น และแนวต้านในกรณีอยู่สูงกว่าราคาหุ้น เราเห็นได้จากการเคลื่อนที่ของดัชนีฯ ตามกราฟ ที่เมื่อใดที่ดัชนีฯ มีการเคลื่อนไหวขึ้นไปใกล้แนวต้าน(เส้น C) จะหักหัวลง ซึ่งเกิดขึ้นถึง 4 ครั้งในช่วงระยะเวลา JUNE-SEP. ที่ผ่านมา จนประสบความสำเร็จวิ่งทะลุผ่านได้ในที่สุด และวิ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง SEP. ในทางกลับกัน ดัชนีฯ ก็จะหักหัวสูงขึ้น เมื่อเข้าใกล้แนวรับตามเส้น D และ E แต่ถ้าทะลุแนวรับลงไปได้ก็จะลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน อาทิเช่น ในช่วงปลาย MAY

สำหรับรูปฟิบอนนาซี่แบบเส้นตรงในแนวโน้มขึ้นและลง เป็นดังตัวอย่างต่อไปนี้