DekGenius.com
 

คำศัพท์ทางไฟฟ้าเบื้องต้น

คำศัพท์ทางไฟฟ้า
ช่างไฟฟ้าทุกคนจะต้องเข้าใจคำจำกัดความทั่วไปของคำศัพท์ที่ใช้ในทางช่างไฟฟ้า เพื่อให้การสั่งวัสดุอุปกรณ์ และการอ่านรายละเอียดของวัสดุอุปกรณ์ของบริษัทผู้ผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้สั่งและผู้อ่านจะต้องมีความคุ้นเคยกับภาษาที่ใช้ในทางช่างไฟฟ้าด้วย ดังนั้นจึงควรอ่านคำจำกัดความแต่ละคำอย่างระเอียดให้เข้าใจ และควรพลิกดูคำเหล่านี้ทุกครั่งเมื่อมีความจำเป็น นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับคำนิยามของคำศัพท์เหล่านี้เพิ่มเติมในท้ายเล่มของหนังสือเล่มนี้ด้วย
       พลังงาน (energy) : ความสามารถในการทำงาน
       กำลังม้า (horsepower) : หน่วยวัดการทำงานของเครื่องจักรกลพวกมอเตอร์และเครื่องยนต์ เราจะใช้อักษรย่อ HP หรือ hp แทน โดยทั่วไปกำลังม้านี้จะใช้บ่งบอกเอาท์พุทของมอเตอร์ไฟฟ้า
ไฟฟ้า (electricity) : การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนผ่านตัวนำไฟฟ้า 
ตัวนำไฟฟ้า (conductor) : สสารที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวมันเองได้ง่าย
     ความนำไฟฟ้าหรือความเป็นสื่อไฟฟ้า (conductance) : ความสะดวกสบายต่อการไหลผ่านของกระแสไฟฟ้าในวงจร
     ฉนวนไฟฟ้า (insulator) : วัตถุที่มีคุณสมบัติด้านต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้า อาจจะกล่าวได้ว่าสสารนั้น ขัดขวางการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน
     อำนาจแม่เหล็ก (magnetism) : คุณสมบัติอย่างหนึ่งของสสารที่แสดงอำนาจดึงดูดเหล็กได้
     ขั้วไฟฟ้า (polarity) : คุณสมบัติของประจุไฟฟ้าที่แสดงออกมา ซึ่งจะมีค่าเป็นบวกหรือเป็นลบ
     แม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnet) : ขดลวดตัวนำไฟฟ้าที่แสดงอำนาจหรือคุณสมบัติทางแม่เหล็กเมื่อมีกระแสไฟฟ้า ไหลผ่านขดลวดนั้น
     ขดปฐมภูมิ (primary) : ขดลวดของหม้อแปลงไฟฟ้า ซึ่งต่ออยู่กับแหล่งจ่ายไฟฟ้าและรับพลังงาน นั้นก็คือด้านรับไฟฟ้าเข้าของหม้อแปลงไฟฟ้า
     ขดทุติยภูมิ (secondary) : ขดลวดของหม้อแปลงไฟฟ้าที่ติดอยู่กับโหลด (ภาระทางไฟฟ้า) โดยจะรับพลังงานด้วยหลักการเหนี่ยวนำทางอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าจากขดลวดปฐมภูมิไปสู่โหลดนั้นก็คือด้านจ่ายไฟออกของหม้อแปลงไฟฟ้า      กำลังไฟฟ้า (electric power) : อัตราการผลิตหรือใช้พลังงานทางทาวงไฟฟ้าในหนึ่งหน่วยเวลา
    วัตต์ (watt) : หน่วยวัดกำลังไฟฟ้า เราเรียนอักรย่อตัวพิมพ์ใหญ่ W แทน กำลังไฟฟ้ามีจะเป็นอักษรบอกพลังงานไฟฟ้าที่มีอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละตัวในการทำงาน อย่างเช่น หลอดไฟ 1,000 วัตต์ เครื่องปิ้งขนมปัง 1,000 วัตต์ 
    กิโลวัตต์ (kilowatt) : หน่วยกำลังไฟฟ้าที่มีค่าเท่ากับ 1,000 วัตต์ เราใช้ตัวย่อว่า KW เพราะเหตุว่าในทางปฏิบัตินั้นโหลด หรือภาระทางไฟฟ้ามีจำนวนมากๆ จึงมีค่าวัตต์สูงๆ หน่วยวัตต์ซึ่งทำให้การเรียกหรือบันทึกค่ายุ่งยากและเสียเวลา เราจึงนิยมใช้กิโลวัตต์ซึ่งเป็นหน่วยที่ใหญ่ขึ้นนี้แทน และยังมีหน่วยใหญ่กว่ากิโลวัตต์อีกก็คือ เมกกะวัตต์ (megawatt) ซึ่งเท่ากับ 1,000 กิโลวัตต์ หรือเขียนย่อๆ ว่า 1 MW
    กิโลวัตต์ – ชั่วโมง (kilowatt – hour) : หน่วยวัดการใช้กำลังไฟฟ้าในเวลา 1 ชั่วโมง เราจำใช้อักษรย่อพิมพ์ตัวใหญ่ KWH แทน ปกติแล้วการใช้พลังงานไฟฟ้าตามบ้านจะวัดค่าออกจากเครื่องวัดพลังงาน (หรือที่เราเรียกกันว่า หม้อมิเตอร์) มีหน่วยเป็นกิโลวัตต์ – ชั่วโมง หรือที่เรียกกันว่า ยูนิต (unit) แล้วคิดราคาไฟฟ้าที่เราต้องจ่ายเท่ากับ จำนวนยูนิตที่เราต้องใช้คูณด้วยราคาไฟฟ้าต่อหนึ่งยูนิต 
    ไฟฟ้ากระแสสลับ (alternating current) : ระบบไฟฟ้าที่ทิศทางการวิ่งของอิเล็กตรอนมีการสลับไปมาตลอดเวลา เราใช้สัญลักษณ์แทนด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ AC และมักนิยมใช้เป็นระบบไฟฟ้าตามบ้าน อาคาร โรงงานทั่วๆ ไป
    ไฟฟ้ากระแสตรง (direct current) : ระบบไฟฟ้าที่อิเล็กตรอนมีการวิ่งไปทางเดียวกันตลอดเวลา และต่อเนื่องกัน มักจะพบว่าใช้กันอยู่ทั่วๆ ไป ก็คือ เครื่องชาร์จแบตเตอรี่ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่รถยนต์เป็นต้น ใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ DC เป็นสัญลักษณ์แทน
    วงจรไฟฟ้า (circuit) : ทางเดินไฟฟ้าที่ต่อถึงกัน และไฟฟ้าไหลผ่านได้ดี 
วงจรอนุกรมหรือวงจรอันดับ (series circuit) : วงจรไฟฟ้าที่มีทางเดินไฟฟ้าได้เพียงทางเดียว จากแหล่งจ่ายไฟฟ้าผ่านวงจรไฟฟ้าไปครบวงจรอีกขั้วของแหล่งจ่ายไฟ และในวงจรนี้อาจจะมีอุปกรณ์พวกฟิวส์ สวิตซ์ เซอร์กิต – เบรกเกอร์ โดยต่อเป็นวงจรอันดับเข้าไปเพื่อป้องกัน และควบคุมวงจรดังรูป ที่ 1

        วงจรขนาน(parallelcircuit):วงจรไฟฟ้าที่มีทางเดินไฟฟ้าของกระแสไฟฟ้าผ่านได้มากกว่า 1 ทางเดินขึ้นไป และจะมีอุปกรณ์เช่นพวกเต้าเสียบหลอดไฟต่อขนานกัน และข้อดีของวงจรก็คือ ถ้าอุปกรณ์ตัวหนึ่งตัวใดไม่ทำงาน ขัดข้องหรือเสียขึ้นมา วงจรทางเดินไฟฟ้าจะไม่ขนาน ซึ่งตรงกันข้ามกับวงจรอนุกรม อุปกรณ์ในวงจรขนานตัวอื่นๆ ยังคงทำงานได้ต่อไปดังรูปที่2

รูปที่ 1 วงจรขนาน

     วงจรเปิด (open circuit) : สภาวการณ์ที่ทางเดินไฟฟ้าเกิดขาดวงจร เกิดวงจร หรือไม่ตลบวงจรทำให้กระแสไฟฟ้าไหลไม่ได้
     วงจรลัด (short circuit) : สภาวการณ์ที่เกิดมีการลัดวงจรทางเดินของกระแสไฟฟ้า อันเนื่องมาจากรอยต่อของสายต่างๆ พลาดถึงกัน มีกระแสไฟฟ้ารั่วต่อถึงกัน เป็นต้น
     แอมแปร์ (ampere) : หน่วยการวัดค่าอัตราการไหลของไฟฟ้าที่ผ่านตัวนำ เราจะใช้อักษรย่อตัวพิมพ์ใหญ่ A หรือ amp แทน ปกติแล้วหน่วยแอมแปร์นี้นิยมใช้ระบุขอบของการใช้กระแสไฟฟ้าด้านสูงสุดในการทำงานของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นอย่างปลอดภัย อย่างเช่น เต้าเสียบ 15 แอมแปร์ ฟิวส์ 30 แอมแปร์
     เฮิร์ตซ์ (hertz) : หน่วยความถี่มีค่าเป็นรอบต่อวินาที การที่อิเล็กตรอนวิ่งไปในทิศทางหนึ่งแล้ววกกลับมาสู่แหล่งจ่ายไฟฟ้าจากนั้นก็มีอิเล็กตรอนวิ่งออกมาจากแหล่งจ่ายไฟไปในทิศทางหนึ่งวกกลับมา โดยทิศทางการวิ่งของอิเล็กตรอนทั้ง 2 ครั้งวิ่งสวนทางกัน (หรือพูดอีกนับหนึ่งก็คือ วิ่งสลับไปสลับมานั้นเอง) เราเรียกว่า 1 รอบ ความถี่ของระบบไฟฟ้าบ้านเราใช้ความถี่ 50 เฮิร์ตซ์ ใช้สัญลักษณ์ HZ แสดงแทน
     โอห์ม (ohm) : หน่วยความต้านทานทางไฟฟ้าใช้สัญลักษณ์แทนด้วยตัวโอเมก้า ( ? ) ความต้านทานจะพยายามต่อต้านการไหลของกระแสไฟฟ้า ความต้านทานเป็นได้ทั้งผู้ทำงานให้หรือขัดขวางการทำงานให้ผู้ใช้ไฟ มันทำงานให้ในขณะที่ใช้มันเป็นฉนวนหรือใช้ควบคุมวงจร ตัวอย่างเช่น เทปพันสายไฟ เต้าเสียบที่ทำจากพลาสติก จะป้องกันอันตรายให้กับผู้ใช้ไฟได้ และใช้ความต้านทานแบบปรับค่าได้ (rheostat) ปรับความสว่างของหลอดไฟฟ้า แต่มันจะขัดขวางการทำงานเมื่อผู้ใช้ไฟ ใช้สายไฟเส้นเล็ก และยาวมากๆ หรือมีสนิมตามจุดสัมผัสต่างๆ ของตัวนำ จะเป็นสาเหตุของการเพิ่มค่าความต้านทาน ทำให้เกิดความร้อนมากเกินไป พร้อมทั้งเกิดการสูญเสียกำลังไฟฟ้าไปในสายตัวนำด้วย
   
กฎของโอห์ม (Ohm’s law)
 : กฎที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างแรงดัน กระแส และความต้านทานในวงจรไฟฟ้า กฎนี้กล่าวว่า ค่ากระแสไฟฟ้า (I) จะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับค่าแรงดันไฟฟ้า (E) และเป็นสัดส่วนผกผันกับค่าความต้านทาน (R)

I = E / R


     โวลต์ (volt) : หน่วยวัดแรงดันไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้าหรือแรงดันที่ทำให้เกิดมีการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนภายในตัวนำไฟฟ้า เราใช้ตัวย่อแทนแรงดันไฟฟ้าด้วย V, E หรือ EMF ปกติจะใช้ E และ EMF แทนแรงดันที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้าหรือ electromotive force (ซึ่งเป็นอีกนิยามหนึ่งของคำว่า โวลต์) เช่นเดียวกับคำว่า แอมแปร์แรงดันซึ่งระบุไว้ที่ตัวอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าจะเป็นตัวกำหนดขอบเขตการใช้แรงดันไฟฟ้าขณะทำงานได้โดยปลอดภัย เช่น มอเตอร์ 220 โวลต์ เครื่องเป่าผม 110 โวลต์ เราจะต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้ากับแรงดันไฟฟ้าตามที่ระบุไว้เท่านั้น
แอมมิเตอร์ (ammeter) : เป็นเครื่องวัดทางไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ใช้วัดค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรที่เราต้องการวัด โดยปกติเราจะใช้เครื่องมือนี้ต่ออนุกรมกับวงจรที่เราต้องการวัดค่ากระแส แต่ก็มีเครื่องมือวัดชนิดพิเศษที่ไม่ต้องต่อวงจรอันดับเข้ากับวงจรไฟฟ้านั้น จะได้กล่าวถึงในบทต่อๆ ไป 
โอห์มมิเตอร์ (ohm meter) : เป็นเครื่องวัดทางไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ใช้วัดค่าความต้านทานไฟฟ้าเวลาใช้จะต้องไม่มีการจ่ายไฟจากแหล่งจ่ายไฟใดในวงจรไฟฟ้านั้น
โวลต์มิเตอร์ (volt meter) : เป็นเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ใช้วัดค่าแรงดันไฟฟ้า
มัลติมิเตอร์ (multimeter) : เป็นเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่สามารถวัดค่าแรงดัน กระแสและความต้านทานได้ในเครื่องวัดตัวเดียวกัน
National Electric Code : เป็นหนังสือคู่มือรวบรวมข้อแนะนำและกฎข้อบังคับในการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าให้มีความปลอดภัย แม้ว่าจะมีเนื้อหามากมายแต่หนังสือคู่มือนี้ก็ไม่มีจุดมุ่งหมายสำหรับการสอน หรือใช้แก่บุคคลที่ไม่เคยผ่านการอบรมมาก่อน ส่วนของไทยเราก็มีคู่มือพวกนี้หลายแห่งด้วยกัน เช่น คู่มือของการไฟฟ้านครหลวง การพลังงานแห่งชาติ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งหลักการและกฎข้อบังคับส่วนใหญ่ก็คล้ายๆ กับของ NEC (National Electric Code) ของต่างประเทศนั่นเอง
สวิตซ์อัตโนมัติหรือเซอร์กิตเบรกเกอร์ (circuit breaker) : เป็นอุปกรณ์ป้องกันที่ใช้จำกัดกระแสไฟฟ้าสูงสุดในวงจร เมื่อกระแสเกินค่าจำกัดเซอร์กิตเบรกเกอร์จะเปิดวงจรไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลสู่วงจรอีก จนกว่าจะกดปุ่มทำงานใหม่ ปัจจุบันใช้แทนสวิตซ์ฟิวส์กันมาก เนื่องจากสามารถต่อวงจรเข้าไปใหม่ได้ทันที ในขณะที่ฟิวส์ต้องสลับเปลี่ยนตัวใหม่เข้าไปแทน และยิ่งในระบบไฟฟ้า 3 เฟสด้วยแล้วถ้าเกิดขาดที่ฟิวส์เพียงเส้นเดียวเหลือไฟฟ้ามาแค่ 2 เฟสเท่านั้น อาจเกิดการเสียหายไหม้ขึ้นที่มอเตอร์ 3 เฟสได้ หลักการทำงานของเซอร์กิตเบรกเกอร์จะทำงานโดยอาศัยอำนาจแม่เหล็ก เมื่อมีกระแสไฟฟ้าในวงจรไหลเข้ามามากๆ สนามแม่เหล็กจะดึงสวิตซ์ให้ตัดวงจรออก และบางแบบจะมีตัวป้องกันกระแสเกินขนาดด้วยความร้อนต่อร่วมมาด้วยโดยอาศัยการที่มีกระแสไหลผ่านความต้านทานของตัว ไบเมตอลลิก (bimetallic) (ไบเมตอลลิก เป็นโลหะที่ขยายตัวเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นและหดตัวเมื่ออุณภูมิต๋ำลง) เมื่อกระแสไหลผ่านมากจะเกความร้อนมาก ตัวไบเมตอลลิกจะขยายตัวดึงให้สวิตซ์ตัดวงจรออก เราใช้ตัวอักษรย่อแทนเซอร์กิตเบรกเกอร์ด้วย CB
ฟิวส์ (fuse) เป็นอุปกรณ์ป้องกันที่ใช้จำกัดกระแสไฟฟ้าสูงสุดในวงจร เมื่อกระแสเกินค่าจำกัดฟิวส์จะเกิดความร้อนมากขึ้นจนกระทั่งหลอมละลายขาดจากกัน วงจรก็จะเปิด ฟิวส์จะต้องอย่างอนุกรมกับวงจร
หม้อแปลง (transformer) : เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เปลี่ยนแรงดันไฟฟ้าให้สูงขึ้นหรือต่ำลง เพื่อให้ตรงกับแรงดันที่ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เช่น มีเครื่องซักผ้าแรงดัน 110 โวลต์ แต่มีไฟฟ้าแรงดัน 220 โวลต์ เราก็ต้องใช้หม้อแปลงแรงดัน 220 โวลต์ ให้เป็นแรงดัน 110 โวลต์ จึงจะใช้เครื่องซักผ้าได้ นอกจากนี้เรายังนิยมใช้หม้อแปลงกับเครื่องติดต่อภายใน และระบบเสียงกริ่งเรียก เป็นต้น
เฟส (phase) : หมายถึงชนิดของระบบไฟฟ้าที่ใช้มีทั้งระบบ 1 เฟส 2 สาย แล 3 เฟส 4 สาย อุปกรณ์ไฟฟ้า 1 เฟส 2 สาย จะใช้ตามบ้านที่อยู่อาศัย ส่วนระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย นิยมใช้กับธุรกิจใหญ่กับโรงงานอุตสาหกรรม

   (ส่งเข้าทาง inbox facebook)
(Share ผ่าน social network)