อาร์เรย์แบบเชื่อมโยงหรือ associative array
การเก็บข้อมูลในอาร์เรย์แบบนี้จะใช้กับข้อมูลที่จัดเก็บเป็นคู่ๆไป ซึ่งแตกต่างจากอาร์เรย์แบบแรกที่เราได้ทำความรู้จัก ตัวอย่างเช่น ใช้ทำ lookup table เช่น สมมุติว่า “red” ให้แทนค่า 0xff0000 “green” ให้แทนค่า 0x00ff00 และ “blue” 0x0000ff โดยเก็บไว้ในอาร์เรย์ชื่อ $color_table ตามตัวอย่างต่อไปนี้
$color_table[“red”] = 0xff0000; $color_table[“green”] = 0x00ff00; $color_table[“blue”] = 0x0000ff; $color_name= “red”; |
หรืออีกรูปแบบหนึ่งที่เขียนสร้างอาร์เรย์ดังกล่าวได้ โดยใช้คำสั่ง array ()
$color_table = array( “red” => 0xff0000, “green” => 0x00ff00, “blue” => 0x0000ff ); |
เราอาจจะสร้างอาร์เรย์เป็นสองมิติก็ได้ เช่น
<? $countries = array ( “thailand” => array ( “zone” => “Asia”, “D_NAME” => “.th”), “malasia” => array ( “zone” => “Asia”, “D_NAME” => “.my”), “india” => array ( “zone” => “Asia”, “D_NAME” => “.in”), “holland” => array ( “zone” => “Europe”, “D_NAME” => “.nl”), “france” => array ( “zone” => “Europe”, “D_NAME” => “.fr”) ); echo “domain name=”.$countries[ “thailand”][“D_NAME”].”<BR>\n”; |