การทำขั้นตอนซ้ำหรือวนลูป
การวนลูปหรือสร้างลูปเพื่อทำงานซ้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในภาษา PHP ก็จะใช้โครงสร้างเหมือนภาษาซี ดังต่อไปนี้
- while-do loop
- do-while loop
- for-loop
ตัวอย่างการใช้ while-do loop เพื่อคำนวณค่า เลขยกกำลังสอง ซึ่งมีเลขฐานตั้งแต่ 1 ถึง 10
<?
$x = 1; ?> |
เริ่มต้นด้วยการกำหนดตัวแปร $x ให้มีค่าเป็นหนึ่ง ซึ่งในกรณีนี้ เราใช้เป็นเลขฐาน ในการคำนวณเลขยกกำลังสอง เมื่อเข้าสู่การวนลูปแบบ while-do จะมีการตรวจดูเงื่อนไข ของการวนลูปในแต่ละครั้งว่า เงื่อนไขเป็นจริงอยู่หรือไม่ ในกรณีนี้ เรากำหนดเงื่อนไขในการวนลูปไว้ว่า ถ้าค่าของ $x มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 ก็ให้ทำคำสั่งที่อยู่ภายในลูป ซึ่งก็คือ echo $x*$x,”\n”; โดยจะพิมพ์ค่าของผลคูณซึ่งหมายถึงเลขยกกำลังสองนั่นเอง หลังจากนั้น ก็ให้เพิ่มค่าของ $x ทีละหนึ่งในการวนลูปแต่ละครั้ง ค่าของ $x จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนมีค่ามากกว่า 10 เมื่อถึงเวลานั้น ก็จะเป็นการจบการวนลูป เพราะว่า เราจะได้ว่า เงื่อนไข ($x <= 10) มีค่าเป็นเท็จ
สมมุติว่า ถ้าเปลี่ยนจาก $x++ เป็น $x– ปัญหาก็จะเกิดตามมาเวลาใช้งาน คือ แทนที่จะวนลูปแค่สิบครั้ง ก็กลับกลายเป็นว่า เป็นการวนลูปนับครั้งไม่ถ้วน เพราะว่า ค่าของ $x จะลดลงเรื่อยๆในการวนลูปแต่ละครั้ง คือเป็นลบ และค่าเป็นลบจะน้อยกว่า 10 เสมอ(ยกเว้นแต่ว่า เมื่อถึงจุดเวลาหนึ่งค่าเป็นลบมากๆ จะกระโดดกลับเป็นบวก)
ตัวอย่างการใช้ do-while loop เพื่อคำนวณค่าเลขยกกำลังสอง ซึ่งมีเลขฐานตั้งแต่ 1 ถึง 10
<?
$x = 1; ?> |
โปรดสังเกตความแตกต่างระหว่างการใช้ while-do และ do-while โดยเฉพาะตรงเงื่อนไข ในการจบการวนลูป ในกรณีของ do-while เราจะกระทำขั้นตอนในลูปก่อนหนึ่งครั้ง แล้วค่อยตรวจดูว่า เงื่อนไขในการวนลูปเป็นจริงหรือไม่ ความแตกต่างนี้ เราสามารถจำได้ง่ายๆ คือว่า ถ้าใช้ do-while จะต้องมีการทำคำสั่ง ภายในลูปหนึ่งครั้งเสมอ แม้ว่าเงื่อนไขโดยเริ่มต้นจะเป็นเท็จก็ตาม ซึ่งแตกต่างจาก while-do ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จตั้งแต่เริ่ม ก็จะไม่มีการทำคำสั่งที่อยู่ในลูป
อีกแบบหนึ่งสำหรับการวนลูปคือใช้ for-loop ทำได้ตามตัวอย่างต่อไปนี้
<?
for ($x = 1; $x <=10; $x++) { ?> |
ในบรรทัดที่เริ่มต้นด้วย for ระหว่างวงเล็บเปิดและปิด จะถูกแบ่งเป็นสามส่วนโดยเครื่องหมาย semicolon (;) ในส่วนแรกเราสามารถใส่คำสั่งที่ต้องการจะกระทำก่อนเข้าลูป ส่วนแรกนี้จะมีหรือไม่มีก็ได้ ในส่วนที่สองจะเป็นเงื่อนไขสำหรับการทำ loop และในส่วนที่สามจะคำสั่งที่จะต้องทำเป็นการจบท้ายลูปในแต่ละครั้ง หลักการทำงานของ for-loop จะคล้ายกับ while-do-loop
การใช้งาน for-loop และวางตำแหน่งส่วนต่างๆ อาจจะไม่จำเป็นต้องทำเหมือนกันแต่ให้ผลเหมือนกัน เช่น
<?
$x=1; $x=1; ?> |
จากตัวอย่างข้างบนที่ผ่านๆมา เป็นการวนลูปจะใช้การนับเลขเพิ่มขึ้นทีละหนึ่ง เรายังสามารถเขียนใหม่โดยเป็นการนับเลขลดลง ยกตัวอย่างเช่น เราต้องการจะพิมพ์ตัวเลขเรียงลำดับจาก 10,9,8…,1 ก็อาจจะเขียนคำสั่งได้ดังนี้
<?
for ($x=10 ; $x >0; $x–) { ?> |
การใช้งาน for-loop ก็จะเหมือนกับเวลาใช้ในภาษาซี ในหลายๆเรื่อง เช่น เราสามารถใส่คำสั่งได้ มากกว่าหนึ่งโดยใช้เครื่องหมาย (,) เป็นตัวแยก ตัวอย่างเช่น
<?
for ($x=1, $y=0 ; $x < 10; $x++, $y–) { ?> |