การใช้อาร์เรย์
อาร์เรย์ในภาษา PHP นั้นจะแตกต่างจากอาร์เรย์ในภาษาซีหรือจาวาตรงที่ว่า อาร์เรย์ในภาษา PHP มีขนาดที่เปลี่ยนแปลงได้ หรือจะเรียกว่า dynamic array หรือ vector (สำหรับอาร์เรย์มิติเดียว) เริ่มต้นอาจจะแจ้งใช้ตัวแปรแบบอาร์เรย์ พร้อมเจาะจงขนาดเริ่มแรก เช่น มีขนาดเป็นศูนย์ก็ได้
$myarray[]=3; $myarray[]=1.1; $myarray[]=”abc”; |
แต่เมื่อใช้อาร์เรย์ไป ขนาดของมันจะปรับเปลี่ยนได้ คือขยายจำนวนข้อมูลที่เก็บอยู่ภายในอาร์เรย์ ตามจำนวนข้อมูลที่เราใส่เพิ่มเข้าไป จากตัวอย่างข้างบน ในกรณีที่เรามิได้กำหนดเลขดัชนี (index) ก็หมายความว่า จะมีการขยายขนาดของอาร์เรย์เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งโดยอัตโนมัติ ทุกครั้งที่เราใส่ข้อมูลที่อยู่ทางขวา และค่าที่เรากำหนดจากทางขวามือ และจะเก็บไว้ในที่ใหม่ของอาร์เรย์ เราไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องการจอง หรือ ปลดปล่อยหน่วยความจำของอาร์เรย์ เหมือนอย่างในกรณีของอาร์เรย์ แบบไดนามิกในภาษาซี
นอกจากนั้นข้อมูลแต่ละตัวในอาร์เรย์ไม่จำเป็น ต้องเป็นข้อมูลชนิดเดียวกัน เช่น อาจจะมีทั้งจำนวนเต็ม เลขทศนิยม และข้อความ ปะปนกันไป ตัวอย่างเช่น
<?
$myarray[0] = 1; $myarray[1] = “abc”; $myarray[2] = 1.3; $myarray[]= 13+10; // the same as $myarray[3]= 13+10; for ($i=0; $i < 4; $i++) { ?> |
ถ้าเราต้องการจะทราบจำนวนของข้อมูลที่มีอยู่ในอาร์เรย์เราจะใช้คำสั่ง count()
เทคนิคหนึ่งที่ใช้ในการสร้างอาร์เรย์ที่เก็บหลายๆข้อความหรือสตริงค์ คือ แทนที่เราจะกำหนดค่าของสมาชิก ในอาร์เรย์ทีละตัว เราจะสร้างได้โดยอัตโนมัติ โดยเก็บสตริงค์เหล่านั้นไว้ในสตริงค์เพียงอันเดียวโดยมีสัญลักษณ์ | เป็นตัวแยก และก็แล้วใช้ฟังก์ชันเป็นตัวแบ่งเพื่อสร้างอาร์เรย์อีกที ตามตัวอย่าง
<? // create empty array $a=array(); // define string containing color names separated by | (pipe) // create array from string |
ลองดูอีกตัวอย่างหนึ่งที่ใช้ฟังก์ชัน explode() สร้างอาร์เรย์โดยอัตโนมัตสำหรับใส่ไว้ใน FORM ในส่วนของ SELECT เป็นเมนูให้เลือก
<? // create selection list from a given string function str2select($str, $delim) { $options = explode($delim,$str); $num = count($options); for( $i=0; $i < $num;$i++) { echo “<option> $options[$i]</option>\n”; } } $select_str=”10 บาท|20 บาท|30 บาท|40 บาท|50 บาท|100 บาท|200 บาท|500 บาท|1000 บาท”; ?> <FORM> |