การบำรุงรักษาบ้าน

การบำรุงรักษาบ้าน

สวนและสนาม

  • ปัญหา – มีน้ำขังในสนามนาน ทำให้ราก ไม้เน่า
    การแก้ไข – เจาะขุดรางเพื่อระบายน้ำออกจากสนาม
  • ปัญหา – หญ้าแพรกขึ้นรก แทรกหญ้าที่ ปลูกไว้
    การแก้ไข – ถอนหญ้าแพรกให้ถึงราก เพราะมิฉะนั้น มันจะงอกขึ้นใหม่อีก
  • ปัญหา – มีเศษขยะ เศษไม้ ก้อนหิน ฯลฯ ทับอยู่บนสนามหญ้านานเกินไป ทำให้หญ้าเฉาตาย
    การแก้ไข – เก็บเศษขยะ เศษไม้ เศษหิน แล้วปลูก หญ้าใหม่แทนหญ้าที่เฉาตาย

    พื้นซีเมนต์

  • ปัญหา – ใช้ผิดลักษณะ เช่น ใช้บ้านเป็น โกดังเก็บของ บรรทุกของหนักเกินไปทำให้แตกร้าว
    การแก้ไข – อย่าวางของหนักซ้อนกันมากในที่จุด เดียวกัน ควรวางเฉลี่ยพื้นที่ให้กว้างขึ้น
  • ปัญหา – พื้นทรุดตามสภาพดิน ตามธรรม ชาติ
    การแก้ไข – แต่งตามขอบที่ชำรุด ถ้าต้องการเททับ ใหม่ ต้องขัดตะไคร่และสิ่งสกปรกออก และเทหนาอย่างน้อย 2-3 ซม.
  • ปัญหา – รอยด่างดวงจากสารเคมีบาง อย่างเช่น น้ำมันเครื่อง หรือสี
    การแก้ไข – ถ้าจำเป็นต้องใช้พื้นที่ เพื่อทำกิจกรรม ที่อาจทำให้สารเคมีหกเลอะได้ ควรปูรองพื้นด้วยกระดาษ หนาๆ หรือแผ่นพลาสติกก่อน
  • ปัญหา – พื้นคอนกรีตดาดฟ้าแตกลายงา มาก จนเป็นสาเหตุให้น้ำขังซึมลงข้างล่าง
    การแก้ไข – ระมัดระวังในการสกัดผิวบนที่แตกลาย งาออกให้ลึกเพียง 1-2 ซม. แล้วเทปูนทรายผสมน้ำยากัน ซึมทับหน้าคอนกรีตเดิมเพิ่มสูง 2-3 ซม. หลังจากเทปูนแล้ว 12 ชม. ควรบ่มน้ำ 6-7 วัน

    พื้นกระเบื้องยาง พื้นไม้ พื้นปาร์เก้

  • ปัญหา – มีรอย ขีด ขูด มาก หรือเป็น รอยหลุมเล็กๆ เพราะใช้ผิดวิธี เช่น การลากเฟอร์นิเจอร์กับ พื้น
    การแก้ไข – เคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์ด้วยการยกแทน การลาก ควรห้ามเด็กๆ ถูของเล่นกับพื้น
  • ปัญหา – มีรอยด่างมาก เพราะถูกสารเคมี หรือน้ำยาถูพื้นผิดประเภท หรือขี้บุหรี่เผาไหม้
    การแก้ไข – ห้ามใช้ปากกาเคมีขีดเขียนพื้น บริเวณ ที่ต้องรับแขก ให้วางที่เขี่ยบุหรี่ไว้เสมอ
  • ปัญหา – กระเบื้องยางเลื่อนผิดจากแนว เพราะวางโต๊ะ ม้านั่ง แล้วไปกดเลื่อนตลอดเวลา
    การแก้ไข – ที่ซึ่งวางเฟอร์นิเจอร์ ควรย้ายตำแหน่ง (ขยับ) เฟอร์นิเจอร์ทุกๆ 2-3 เดือน
  • ปัญหา – รอยด่างอันเกิดจากการถูกสารเค มีผสมสี หรือสีพ่นที่ต้องผสมทินเนอร์ หรือแอลกอฮอล์ ฯลฯ
    การแก้ไข – ก่อนพ่นสี หรือทาสีผนัง เพดาน หรือ เฟอร์นิเจอร์ ควรมีผ้าหนาๆ หรือกระดาษหนาๆ รองไว้ที่พื้น ป้องกันละออง และสีหยดพื้นเป็นรอยด่าง
  • ปัญหา – สีลอก หรือเป็นรอย เนื่องจาก การวางภาชนะร้อนๆ ลงบนพื้น เช่น กาต้มน้ำ
    การแก้ไข – ใช้ภาชนะ หรือจานรอง รองภาชนะร้อนๆ นั้น

    พรมทอ

  • ปัญหา – พรม อับชื้น และเกิดกลิ่นอับ เนื่องจากแมลงที่อยู่ใต้พรม
    การแก้ไข – อย่าปิดห้องให้อับทึบ ควรให้มีการ ระบายอากาศอย่างเพียงพอ พยายามหลีกเลี่ยง การทำให้ พรมเปียกชื้น บริเวณห้องซึ่งติดต่อกับห้องน้ำ ควรมีพรม เช็ดเท้าวางไว้
  • ปัญหา – พรมสีซีดจางจากแสงแดด
    การแก้ไข – ภายในห้องควรติดม่าน เพื่อป้องกัน ไม่ให้พรมถูกแสงแดดจัดโดยตรง
  • ปัญหา – พรมเป็นรอยด่างจากน้ำมันหรือ น้ำยาเคมี หรือล้อยาง
    การแก้ไข – หลีกเลี่ยงการวางน้ำมัน น้ำยาเคมี หรือการใช้เก้าอี้ล้อยางในห้องที่ใช้พรม หากจะวางก็ควรมี แผ่นพลาสติกรองไว้ หรือเก้าอี้ล้อยางควรเปลี่ยนเป็นล้อ พลาสติก
  • ปัญหา – พรมขนร่วงหลุด
    การแก้ไข – ใช้พรมทอหนาขึ้น เวลาทำความสะอาด ควรหลีกเลี่ยงการใช้ไม้กวาดก้านแข็ง ให้ใช้เครื่องดูดฝุ่นแทน
  • ปัญหา – พรมเผยอ
    การแก้ไข – พรมตีอัดไม่แน่น ขนาดไม่พอดีหรือไม่ มีบัวเชิงยึดด้านข้าง

    พรมดูราฟลอร์ พรมวิทยาศาสตร์

  • ปัญหา – รอยหมองของความสกปรก รอย ขีดข่วนจากรองเท้าที่มีฝุ่นผงมาก และรอยดำจากส้นรองเท้า
    การแก้ไข – ใช้แผ่นเช็ดเท้าวางไว้ที่ทางเข้าออก และ ทำความสะอาดด้วยน้ำมันสน น้ำยาทำความสะอาดพื้น ที่ผสม แอมโมเนีย แล้วขัดมันด้วย WAX
  • ปัญหา – แผ่นพรมบิดงอ สีซีดจางการถูก แสงแดดมากเกินไป
    การแก้ไข – ป้องกันไม่ให้ถูกแสงแดดจัดมากเกินไป โดยใช้ม่านปิด
  • ปัญหา – รอยดำหรือรอยสนิทบริเวณที่วาง ตู้หรือโต๊ะ
    การแก้ไข – หลีกเลี่ยงการใช้แผ่นยางรองขาตู้หรือ โต๊ะ ควรเปลี่ยนมาใช้แผ่นสักหลาดหรือใช้เศษพรมวางรองขา ตู้หรือโต๊ะแทน
  • ปัญหา – รอยขุ่นมัวจากการทำความสะ อาด โดยใช้น้ำยาผิดประเภท
    การแก้ไข – หลีกเลี่ยงน้ำยาทำความสะอาดที่มี ส่วนผสมที่เป็นสารละลาย เช่น ทินเนอร์ ควรใช้น้ำยาทำ ความสะอาดพื้นผสมแอมโมเนีย

    กระเบื้องโมเสค หินขัด

  • ปัญหา – แผ่นโมเสคหลุด เนื่องจากปูนที่ จับผิวโมเสคไม่ดีพอ
    การแก้ไข – ถ้าโมเสคหลุดควรรีบปูใหม่ ซ่อมแซม แผ่นหลุดโดยด่วนเพราะมิฉะนั้น แผ่นต่อไปจะหลุดตามมา
  • ปัญหา – โมเสคหลุด เพราะปูนยาแนว รอบข้างโมเสคหลุด
    การแก้ไข – อย่าขัดด้วยแปรงลวดที่รอบแนวรอย ต่อหรือใช้น้ำยากัดพื้นชนิดรุนแรง เพราะจะไปทำลายขอบ โมเสคให้หลุดหายทำให้โมเสคร่อนหลุดง่าย
  • ปัญหา – หินอ่อนหรือหินขัดมีรอยด่าง เพราะถูกสารเคมี เช่น กรด ด่าง หรือรอยไหม้จากยากันยุง
    การแก้ไข – หลีกเลี่ยงการเทสารเคมี (หรือทำหก เลอะ) บนพื้นหินขัด อย่าจุดยากันยุงบนพื้นหินขัดโดยเด็ด ขาด และหากมีรอยด่างจากสาเหตุนี้ ให้ใช้ใยสังเคราะห์ที่ ใช้ขัดหม้อข้าว ค่อยๆ ถูวันละเล็กวันละน้อย จนกระทั่งรอย ด่างจะหมดไปเอง

    โครงหลังคาเหล็ก

  • ปัญหา – เป็นสนิม
    การแก้ไข – ควรตรวจสอบเป็นระยะๆ ทุกๆ 2 ปี และทาสีทับใหม่เท่าที่จำเป็น ถ้าโครงเหล็กเป็นสนิมจนผุ มาก ควรเปลี่ยนโครงหลังคาชิ้นนั้นๆ ใหม่

    ประปา ไฟฟ้า

  • ปัญหา – ไฟรั้ว กริ่ง ฯลฯ ใช้ไม่ได้
    การแก้ไข – ให้ช่างไฟฟ้าตรวจดูว่าน้ำซึมเข้าท่อร้อย สายไฟในสนามหรือไม่ (เวลาขุดดินอาจทำให้ท่อแตกร้าว หรือหักได้)
  • ปัญหา – เมื่อปิดน้ำทั้งบ้านแล้ว มิเตอร์ ประปาหมุน
    การแก้ไข – แสดงว่าท่อประปารั่วที่ใดที่หนึ่ง อาจ เป็นเพราะดินทรุดตามธรรมชาติ ทำให้ท่อแตกหรือขุดดิน โดนท่อก็ได้ ให้ช่างประปาแก้ไข
  • ปัญหา – ท่อน้ำ P.V.C. ส่วนที่อยู่เหนือ พื้นรั่วแตก รอยต่อรั่ว ฯลฯ
    การแก้ไข – สาเหตุอาจเกิดจากการใช้เครื่องสูบน้ำ ที่มีกำลังแรงอัดมากเกินไป
  • ปัญหา – มีเสียงดังจากท่อประปาทุกครั้งที่ เปิดใช้เครื่องสูบน้ำ
    การแก้ไข – เสียงอาจเกิดจากท่อประปาบางส่วน ยึดเกาะผนังหรือพื้นไม่แน่น ให้ตรวจสอบและรีบแก้ไข
  • ปัญหา – มีแสงไฟเรือง หลักจากปิดสวิทซ์ ในหลอดฟลูออเรสเซนต์ (หลอดนีออน) ทำให้เปลืองค่าไฟ ฟ้า หลอดมีอายุการใช้งานสั้นกว่าปกติ
    การแก้ไข – อาจต่อสายไฟสลับผิดกับสายดิน ควร ให้ช่างไฟฟ้าตรวจซ่อมโดยเร็ว
  • ปัญหา – ไฟฟ้ารั่วที่เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ
    การแก้ไข – ให้ต่อสายดิน และตรวจสอบสาเหตุ อื่น พร้อมทั้งรีบแก้ไขโดยด่วน

    ผนังฉาบปูน ผนังอืฐ หรือคอนกรีตบล็อคโชว์แนว

  • ปัญหา – สีผนังซีดด่าง ลอก ร่อน ตาม อายุการใช้งาน
    การแก้ไข – แซะผิวสีเก่าออกให้หมดจนถึงเนื้อ ปัด หรือล้างฝุ่นละอองออก แล้วค่อยทาทับใหม่
  • ปัญหา – ผนังแตกลายงา เพราะมีการ เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิทันทีทันใด
    การแก้ไข – การแตกลายงามักเกิดขึ้นเสมอ ซึ่งเป็น เรื่องที่แก้ไขยาก เพราะประเทศในแถบมรสุมเมืองร้อนมีฝน ตกชุก และแดดจัด วิธีที่ดีที่สุดคือ ปัดฝุ่นที่เกาะตามรอย แตกแล้วค่อยทาสีใหม่
  • ปัญหา – ผนังแตกร้าว เพราะวงกบไม้ เบียดขยายหรือเกิดจากการยืดหดตัว หรือเพราะรอยต่อผนัง กับคานหรือเสาอัดปูนไม่แน่นพอ
    การแก้ไข – ผนังร้าว ควรรอตรวจสาเหตุที่แท้จริง ก่อน ถ้าผ่านไปสัก 6 เดือน รอยร้าวไม่ขยายก็ให้สกัดปูน รอยร้าว แล้วอุดแต่งปูนใหม่
  • ปัญหา – ตะไคร่ขึ้นเพราะถูกน้ำและแสง แดด
    การแก้ไข – ใช้แปรงขนอ่อนๆ หรือฟองน้ำขัดถู ออก

    ประตูหน้าต่างไม้ ประตูรั้วเหล็ก ประตูบานเลื่อนอลูมิ เนียมหน้าต่างบานเกล็ด

  • ปัญหา – น้ำซึมเข้าตามขอบวงกบ และวง กรอบหน้าต่าง
    การแก้ไข – อัดพุตตี้หรือซิลิโคนตรงรอยต่อ
  • ปัญหา – หน้าต่างบานเกล็ดมือหมุนหัก
    การแก้ไข – เปลี่ยนเฉพาะมือหมุน เมื่อหมุนถึงจุด ที่ตึงให้หยุดหมุนทันที
  • ปัญหา – เปิดปิดฝืด เพราะไม้ขยายตัว เนื่องจากความชื้นในอากาศ
    การแก้ไข – ตรงส่วนที่คับ ไสไม้ออกเท่าที่จำเป็น
  • ปัญหา – ลูกบิดประตูเปิดปิดยากขึ้นภาย หลัง เพราะประตูเปิดปิดแรง แล้วลูกบิดไปชนถูกผนัง ทำ ให้รอยเดือยเคลื่อน
    การแก้ไข – ควรมีลูกยางกันชนที่ผนังหรือตัวบาน ประตูยาก
  • ปัญหา – ประตูหน้าต่างฝืด เพราะประตู ตกเนื่องจากเด็กห้อยโหน
    การแก้ไข – ให้ช่างตรวจสอบ แล้วขันยึดบานพับ ให้แน่น
  • ปัญหา – ประตูหน้าต่างเปิดแล้วมีเสียงดัง
    การแก้ไข – ใช้น้ำมันหยอดที่บานพับ
  • ปัญหา – ประตูรั้วเหล็กเป็นสนิม
    การแก้ไข – ขัดสนิม และทาสีใหม่ทุกๆ ปี
  • ปัญหา – ประตูบานเลื่อนอลูมิเนียมขัดที่ ล็อคไม่ได้
    การแก้ไข – ส่วนที่รับที่ล็อคที่ข้างวงกบอาจเลื่อน หลุดลง แก้ไขโดยเลื่อนระดับให้ตรงกับที่ล็อคที่บานประตู แล้วขันตะปูเกลี่ยวให้แน่น
  • ปัญหา – ประตูบานเลื่อนอลูมิเนียมตก ครูดกับราง
    การแก้ไข – ยกประตูขึ้นให้พอเหมาะ แล้วขันตะปู เกลียวในรูกลมๆ ด้านข้างบานประตู ปรับลูกล้อให้ประตู เลื่อนสูงขึ้น
  • ปัญหา – ประตูเหล็กรั้วฝืด เปิดปิดหรือดึง เลื่อน
    การแก้ไข – อาจเพราะบานพับ หูข้าง งอบิด หรือ ลูกล้อเหล็กเหล็กตกราง ให้ช่างเหล็กแก้ไข

    โถส้วม อ่างล้างมือ อุปกรณ์สุขภัณฑ์

  • ปัญหา – เทน้ำสบู่ น้ำผงซักฟอกลงไปใน โถส้วม ทำให้ส้วมเต็มเร็ว
    การแก้ไข – อย่าเทน้ำสบู่หรือผงซักฟอก เพราะจะ ไปฆ่าแบคทีเรียที่เป็นตัวทำลายสิ่งปฏิกูล ทำให้สิ่งปฏิกูลไม่ สลายตัว ค้างจับแน่นในถังส้วม
  • ปัญหา – เศษผ้า เศษกระดาษบางชนิด ทำให้อุดตัน
    การแก้ไข – เศษผ้า กระดาษบางชนิด ไม่เปื่อย หรือสลายตัวเป็นตัวการที่ทำให้ท่ออุดตันได้ง่าย อย่าทิ้งลง ไปในโถส้วม
  • ปัญหา – สารเคมีที่มีไขมันสูง เส้นผม ฯลฯ ทำให้อ่างล้างชามอ่างล้างหน้าอุดตัน
    การแก้ไข – ไขมันเป็นตัวจับยึดสิ่งสกปรกง่าย ถ้า จำเป็นควรผสมน้ำให้เจือจางมากที่สุด และควรทำความสะ อาด โดยหมุนถอดคอห่านน้ำทิ้งออกล้างทุกๆ 1-3 เดือน แล้วแต่การใช้สอยว่ามากน้อยเพียงไร
  • ปัญหา – น้ำในอ่างล้างมือซึมหาย
    การแก้ไข – เป็นเพราะยางอุดสะดืออ่างสึก ควร เปลี่ยนของใหม่
  • ปัญหา – น้ำซึมขอบอ่างอาบน้ำ ทำให้น้ำ ขังนอกใต้อ่างอาบน้ำ
    การแก้ไข – ควรใช้ปูนซีเมนต์ขาวยาแนวขอบอ่าง อาบน้ำ หรือใช้ยางซิลิโคนอุดรอบแนวขอบ
  • ปัญหา – ผิวสุขภัณฑ์ชนิดที่ทำจาก P.V.C. หรือไฟเบอร์กล๊าสไม่เรียบ เนื่องจากใช้แปรงลวดหรือใยลวด ขัดถูบ่อย
    การแก้ไข – ควรทำความสะอาดโดยใช้ฟองน้ำ