การประหยัดพลังงานของ “ไฟฟ้าและแสงสว่าง”

การประหยัดพลังงานของ “ไฟฟ้าและแสงสว่าง”

แสงสว่าง” เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตของมุษย์ ระบบแสงสว่างที่ดี
นอกจากจะทำให้การประกอบกิจกรรมต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังเสียค่าใช้จ่ายใน การใช้งานน้อยด้วย

ทำอย่างไรระบบแสงสว่างถึงจะใช้งานได้ดีมีประสิทธิภาพ
1. เลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างอย่างเหมาะสมตามลักษณะการใช้งาน
2. ออกแบบระบบแสงสว่างให้เหมาะสม
3. ใช้งานไฟฟ้าแสงสว่างอย่างถูกวิธี
4. หมั่นบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่าง

1. หลักการในการเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่าง

1.1 การเลือกหลอดแสงสว่าง

พิจารณาประสิทธิภาพของแสงโดยดูที่ค่าลูเมนต่อวัตต์ ถ้ายิ่งมากยิ่งดีและมี ประสิทธิภาพสูง (ลูเมน คือ ปริมาณแสงที่ปล่อยออกมาจากหลอดแสงสว่าง ส่วนวัตต์ คือพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในการกำเนิดแสง)

ชนิดของหลอดแสงสว่าง ลูเมนต่อวัตต์
หลอดไส้ 8-22
หลอดแสงจันทร์ 26-58
หลอดฟลูออเรสเซนต์ 30-83
หลอดเมทัลฮาไลท์ 67-115
หลอดโซเดียมความดันสูง 74-132

อายุการใช้งาน หลอดแสงสว่างราคาถูกอายุจะสั้น จึงต้องเปลี่นนบ่อยๆซึ่ง อาจจะเสียค่าใช้จ่ายแพงกว่าหลอดแสงสว่างราคาแพงแต่อายุการใช้งานนานเช่น หลอดไส้ราคาถูก กว่าหลอดตะเกียบ (หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์) แต่อายุการใช้งานสั้นสั้นกว่า เป็นต้น

สีของแสงที่มาจากหลอดแสงสว่างต้องเหมาะกับลักษณะการใช้งาน เช่น สีคูล ไวท์ (แสงสว่างค่อนไปทางสีขาว) หรือเดย์ไลท์ (แสงสว่างสีขาว) เหมาะสำหรับห้องทำงาน ห้องเรียน ซุปเปอร์มาร์เก็ตในห้างสรรพสินค้า ส่วนสีวอร์มไวท์ (แสงสว่างค่อนไปทางสีส้ม) เหมาะสำหรับห้องนอน ห้องจัดเลี้ยง ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น

หลอดไส้ เป็นหลอดแสงสว่างราคาถูก สีของแสงดี ติดตั้งง่ายให้แสสว่างทันที่ เมื่อเปิด สามารถติดอุปกรณ์เพื่อปรับหรือหรี่แสงได้ง่าย แต่มีประสิทธิภาพแสงต่ำมาก อายุการใช้งานสั้น ไฟฟ้าที่ป้อนให้หลอดจะถูกเปลี่ยนเป็นความร้อนกว่าร้อยละ 90 จึงไม่ประหยัด พลังงาน แต่เหมาะสมกับการใช้งานประเภทที่ต้องการหรี่แสง เช่น ห้องจัดเลี้ยงตามโรงแรม ส่วนหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ไม่สามารถหรี่แสงได้

หลอดฟลูออเรสเซนต์ เป็นหลอดที่มีประสิทธิภาพแสงและอายุการใช้งานมากกว่า หลอดไส้ หลอดฟลูออเรสเซนต์แท่งยาวที่ใช้แพร่หลายมีขนาด 36 วัตต์ แต่ยังมีหลอดแสง สว่างประสิทธิภาพสูง (หลอดซุปเปอร์ลักซ์) ซึ่งมีราคาต่อหลอดแพงกว่าหลอดแสสว่าง 36 วัตต์ธรรมดา แต่ให้ปริมาณแสงมากกว่าร้อยละ 20 ในขนาดการใช้กำลังไฟฟ้าที่เท่ากัน นอกจากนี้ยังมีหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (CFL) หรือหลอดตะเกียบชนิดที่ให้สีของ แสงออกมาเทียบเท่าร้อยละ 8 เท่าของหลอดไส้ มี 2 แบบ คือ แบบขั้วเกลียวกับขั้วเสียบ

หลอด SL แบบขั้วเกลียว มีบัลลาสต์ในตัว มีขนาด 9, 13, 18, 25 วัตต์ ประหยัดไฟร้อยละ 75 เมื่อเทียบกับหลอดไส้ เหมาะกับสถานที่ที่เปิดไฟนานๆ หรือบริเวณ ที่เปลี่ยนหลอดยาก เช่น โคมไฟหัวเสา ทางเดิน

หลอดตะเกียบ 4 แท่ง ขั้วเกลียว (หลอด PL*E/C) ขนาด 9, 11, 15 และ 20 วัตต์ มีบัลลาสต์อีเล็กทรอนิกส์ในตัว เปิดติดทันที ไม่กระพริบประหยัดไฟได้ร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับหลอดไส้

หลอดตะเกียบตัวยู 3 ขด (หลอด PL*E/T) ขนาดกะทัดรัด 20 และ 23 วัตต์ ขจัดปัญหาหลอดยาวเกินโคมประหยัดไฟได้ร้อยละ 80 ของหลอดไส้

หลอดตะเกียบขั้วเสียบ (หลอด PLS) บัลลาสต์ภายนอกขนาด 7, 9 และ 11 วัตต์ ประหยัดไฟร้อยละ 80 ของหลอดไส้

หลอดตะเกียบ 4 แท่ง ขั้วเสียบ (หลอด PLC) บัลลาสต์ภายนอก ขนาด 8, 10, 13, 18 และ 26 วัตต์ ประหยัดไฟร้อยละ 80ของหลอดไส้

หลอดแสงจันทร์ ประสิทธิภาพแสงต่ำกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์เล็กน้อย แต่อายุ การใช้งานนานกว่า คุณภาพแสงลดลงมากเมื่อใช้ไปนานๆ เหมาะสมกับเป็นไฟถนน ไฟ สนามตามสวนสาธารณะ

หลอดเมทัลฮาไลด์ ประสิทธิภาพสูง คุณภาพแสงดี แต่ต้องใช้เวลาอุ่นหลอดเมื่อ เปิด เหมาะกับการใช้ส่องสินค้าในห้างสรรพสินค้า

หลอดโซเดียมความดันสูง ประสิทธิภาพสูง แต่คุณภาพแสงไม่ดี มักใช้กับไฟ ถนน ไฟส่องบริเวณที่เปลี่ยนหลอดยาก พื้นที่นอกอาคาร

หลอดโซเดียมความดันต่ำ มีประสิทธิภาพสูงสุดแต่คุณภาพแสงเพี้ยนมาก เหมาะสมกับไฟถนน ไฟรักษาความปลอดภัย

1.2 การเลือกบัลลาสต์

บัลลาสต์ คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเปิดติดและควบคุมไฟฟ้าที่จ่ายให้กับหลอดฟลู ออเรสเซนต์ให้เหมาะสม เราสามารถแบ่งได้ 3 ชนิดหลักๆ ดังนี้

1. บัลลาสต์ขดลวดแกนเหล็กแบบธรรมดา เป็นบัลลาสต์ที่ใช้กันแพร่หลายร่วม กับหลอดฟลูออเรสเซนต์ เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวดที่พันรอบแกนเหล็ก จะทำให้แกน เหล็กร้อน ทำให้มีพลังงานสูญเสียประมาณ 10-14 วัตต์
2. บัลลาสต์ขดลวดแกนเหล็กประสิทธิภาพสูง เป็นบัลลาสต์ที่ทำด้วยแกนเหล็ก และขดลวดที่มีคุณภาพดี ซึ่งมีการสูญเสียพลังงานจะลดลงเหลือ 5-6 วัตต์
3. บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นบัลลาสต์ที่ด้วยชุดวงจรอิเล็กทรอนิกส์ มี การสูญเสียพลังงานน้อยประมาณ 1-2 วัตต์ เปิดติดทันที ไม่กระพริบ ไม่ต้อง ใช้สตาร์ทเตอร์ ไม่มีเสียงรบกวน ทำให้อายุการใช้งานของหลอดแสงสว่างนานขึ้น 2 เท่า ของหลอดแสงสว่างที่ใช้ร่วมกับบัลลาสต์แกนเหล็กธรรมดา ดังนั้นหากมีชั่วโมงการใช้งานต่อวันมาก ควรเลือกใช้บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ เพราะนอกจากจะช่วยประหยัดไฟแล้ว ยังมีประโยชน์อีกหลาย อย่างดังที่กล่าวมาข้างต้น

1.3 การเลือกโคมไฟแสงสว่าง

โคมประสิทธิภาพสูงจะไม่ดูดกลืนหรือกักแสงไว้ แต่จะช่วยในการลดจำนวนหลอด แสงสว่างได้ในขณะที่ความสว่างคงเดิม เช่น จากเดิมใช้หลอดไฟ 4 หลอดต่อ 1 โคม จะ ลดลงเหลือ 2 หลอดต่อ 1 โคม โดยที่แสงสว่างที่ส่องลงมาจะยังเท่าเดิม โดยทั่วไปมักใช้ หลอดฟ,ออเรสเซนต์ตามอาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า

2. การออกแบบระบบแสงสว่างให้เหมาะสม

ควรออกแบบให้ความสว่างเหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไปและคำนึงถึงคุณ ภาพแสงด้วย กล่าวคือ ระดับความสว่างควรอยู่ในมาตรฐาน (ดูตารางมาตรฐานความสว่าง) คุณภาพแสงควรให้เหมาะกับประเภทการใช้งาน เช่น แสงสีขาวเหมาะกับการเขียนหนังสือ แสงสีส้มเหมาะกับใช้ในร้านอาหาร เป็นต้น
ควรออกแบบให้กำลังไฟฟ้าติดตั้งไม่เกินมารตฐานที่กำหนดในพระราชบัญญัติ การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535
ใช้แสงธรรมชาติเข้าช่วยใช้แสงธรรมชาติจากหลังคา จะช่วยลดจำนวนหลอดแสงสว่าง ช่วยประหยัดค่า ไฟและค่าบำรุงรักษา แต่กระจกที่ใช้ควรเป็นกระจก 2 ชั้น หรือกระจกติดฟิล์มเพื่อลดความ ร้อนจากแสงอาทิตย์ที่เข้ามาด้วย เหมาะกับห้องโถงตามโรงแรม ห้างสรรพสินค้า และโรงงาน
ใช้แสงธรรมชาติจากบริเวณริมกระจกหน้าต่างร่วมกับแสงจากหลอดแสงสว่าง โดยใช้โฟโต้เซลล์เป็นตัวตรวจสอบระดับแสง ถ้าแสงธรรมชาติมากเพียงพอ หลอดแสงสว่างบางส่วน จะถูกปิด หรือหรี่แสงลง เพื่อไม่ให้ผู้ใช้เกิดความรู้สึกเปลี่ยนแปลงมากนัก เหมาะกับบริเวณที่ ทำงานใกล้หน้าต่างในอาคารสำนักงาน

ตารางมาตรฐานการออกแบบกำลังไฟฟ้า
ประเภท วัตต์/ตารางเมตร
สำนักงาน โรงแรม สถานศึกษาและโรงพยาบาล 16
ร้านขายของ ศูนย์การค้า 23

3. การใช้งานอย่างถูกวิธี

ปิดไฟเมื่อไม่ใช้งานเป็นเวลานานกว่า 15 นาที จะช่วยประหยัดไฟ โดยไม่มีผล กระทบต่ออายุการใช้งานของอุปกรณ์ เช่น ในช่วงพักเที่ยงของสำนักงาน ในห้องเรียน ส่วน ตามบ้าน เช่น ในห้องน้ำ ในครัว เป็นต้น
– เปิด ปิดไฟ โดยอัตโนมัติ โดยใช้อุปกรณ์ตั้งเวลาหรือสั่งจากระบบควบคุม อัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยป้องกันการลืมปิดไฟหลังเลิกงานในอาคารสำนักงาน หรือสั่งปิดไฟ บริเวณระเบียงทางเดินในโรงแรม เป็นต้น
– ใช้อุปกรณ์ตรวจจับความเคลื่อนไหว (Occupancy Sensor) เหมาะกับห้อง ประชุม ห้องเรียน และห้องทำงานส่วนตัว โดยทั่วไปมี 2 ชนิด คือ อินฟราเรด และอัลตร้า โซนิค

แบบอินฟาราเรด
ตรวจจับจากความร้อนที่ปลดปล่อยจากคน เหมาะกับพื้นที่ไม่กว้างนัก ทางเดิน บริเวณมีลมแอร์เคลื่อนไหวมาก และพื้นที่ที่มีการสั่นสะเทือน ไม่เหมาะสมกับห้องน้ำหรือ พื้นที่ที่ไม่ค่อยมีคนเคลื่อนไหว

แบบอัลต้าโซนิค
ตรวจจับการเคลื่อนไหวของคลื่นเสียง มีความไวสูง เหมาะกับพื้นที่กว้าง ห้อง ประชุม ห้องน้ำ แต่ไม่เหมาะสมกับบริเวณที่มีลมแรง บริเวณที่มีการสั่นสะเทือน ห้องที่มี เพดานสูง ถ้าระบบแสงสว่างบางแห่งมีความสว่างสูงมากเกินความจำเป็นควรจะถอดหลอดแสง สว่างบางส่วนออก พร้อมทั้งถอดบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์ออก (กรณีที่ใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์)แต่อย่างไรก็ตามหลังจากลดจำนวนหลอดแสงสว่างแล้ว ต้องทำการตรวจวัดความ สว่างของแสงเพื่อให้อยู่ในมาตรฐานด้วย

ตารางมาตรฐานความสว่าง (มาตรฐาน IES)
ลักษณะพื้นที่ใช้งาน ความสว่าง (ลักซ์)
พื้นที่ทำงานทั่วไป 300-700
พื้นที่ส่วนกลาง ทางเดิน 100-200
ห้องเรียน 300-500
ร้านค้า / ศูนย์การค้า 300-750
โรงแรม : บริเวณทางเดิน 300
  ห้องครัว 500
  ห้องพัก ห้องน้ำ 100-300
โรงพยาบาล : บริเวณทั่วไป 100-300
  ห้องตรวจรักษา 500-1,000
บ้านที่อยู่อาศัย : ห้องนอน 50
  หัวเตียง 200
  ห้องน้ำ 100-500
  ห้องนั่งเล่น 100-500
  บริเวณบันได 100
  ห้องครัว 300-500

 

4. หมั่นบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ

เมื่อใช้งานระบบไฟฟ้าแสงสว่างไปเป็นระยะเวลานานๆ จะพบว่าความสว่างลดลง ทั้งนี้เนื่องจากการเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างดำ
– ต้องสำรวจระดับความสว่างและการใช้งานอยู่เสมอ
– ต้องหมั่นทำความสะอาด โคมไฟ ฝาครอบกระจายแสง เพดานผนัง กระจก หน้าต่าง
– ควรเปลี่ยนหลอดแสงสว่างเป็นกลุ่มแทนที่จะเปลี่ยนทุกครั้งเมื่อหลอดเสีย จะ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายจากค่าแรงที่ลดลงจากการซื้อเป็นจำนวนมาก และยังทำให้ความ สว่างคงที่หรือดีขึ้นอยู่เสมอ ระยะเวลาที่ควรเปลี่ยนหลอดไฟให้ได้ผลคุ้มค่าคือ เมื่อร้อยละ 60-80 ของอายุการใช้งานหลอด