ฟิบอนนาซี่ FIBONACCI

ฟิบอนนาซี่  FIBONACCI

FIBONACCI เป็นชื่อเรียกเลขอนุกรม ที่ตั้งขึ้นตามผู้คิดค้นคือ LEONARDS FIBONACCI และได้มีการบันทึกไว้ในราวต้น ค.ศ.ที่ 13 จากการที่เขาได้สังเกต และศึกษาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ เช่น รูปแบบของฟ้าแลบ รูปแบบของผลไม้ต่าง ๆ และรูปแบบของเปลือกหอยทาก เป็นต้น พบว่า การเกิดของปรากฏการณ์เหล่านั้นมีรูปแบบที่เป็นปกติ และค่อนข้างสม่ำเสมอ (Regular) ซึ่งเขาได้นำมาคิดเป็นตัวเลขทางคณิตศาสตร์ คือ1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21, 34, 55, 89 และต่อ ๆ ไป โดยตัวเลขเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน กล่าวคือ ตัวเลขตัวหลังเป็นผลบวกของสองตัวเลขก่อนหน้า เช่น 1 บวก 2 เท่ากับ 3 และ 3 บวก 5 เท่ากับ 8 เป็นต้น และอัตราส่วนของตัวเลขก่อนหน้าต่อตัวตามติดมาหลังจากใน 4 ตัวแรกแล้ว จะเข้าใกล้อัตราส่วน 0.618 เสมอหรือกลับกันที่เข้าใกล้อัตราส่วน 1.618 ทั้งนี้เมื่อตัวเลขยิ่งเพิ่มขึ้นมาก ๆ ความเข้าใกล้อัตราส่วน 0.618 และ 1.618ยิ่งมากเช่นกันดังตัวอย่างต่อไปนี้

 

1/1  =  1.0 1/1  =  1.0
1 / 2  =  .5 2/1  =  2.0
2/3  =  .667 3/2  =  1.5
3/5  =  .60 5/3  =  1.667
5/8  =  .625 8/5  =  1.6
8/12  =  .615385 13/8  =  1.625
13/21  =  .619048 21/13  =  1.61538
21/34  =  .617647 34/21  =  1.61905
34/55  =  .618182 55/34  =  1.61765
55/89  =  .618056 89/55  =  1.61818

อัตราส่วนนี้ต่อมา เป็นตัวเลขทางคณิตศาสตร์ที่เป็นที่รู้จักกันดีของชาวกรีกและอียิปต์สมัยโบราณ โดยเรียกอัตราส่วนนี้ว่า อัตราส่วนทอง  (Golden Ratio) และได้มีการนำอัตราส่วนนี้ไปประยุกต์ใช้ได้ดีกับวิชาการดนตรี ศิลปะการสถาปัตยกรรม และชีววิทยา และเชื่อกันว่าชาวกรีก ใช้หลักของอัตราส่วนนี้ในการก่อสร้างโบสถ์พาธินอน (Parthenon) ที่มีสถาปัตยกรรมอันงดงามในกรุงเอเธนส์ และชาวอียิปต์ก็เช่นเดียวกัน ใช้หลักของอัตราส่วนนี้ในการสร้างปิรามิด

จากตัวเลข FIBONACCI ดังกล่าว ต่อมาได้มีการประยุกต์นำมาใช้ในการวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของราคาหุ้นที่เชื่อว่า มีการเคลื่อนไหวในรูปแบบที่ค่อนข้างแน่นอนเพื่อที่จะใช้ค้นหาแนวโน้ม แนวต้าน แนวรับ สัญญาณซื้อและขาย ของราคาหุ้น โดยมีรูปแบบอยู่ 3 ลักษณะ คือ

ฟิบอนนาซี่แบบเส้นขนาน  (FIBONACCI LINES)

ฟิบอนนาซี่แบบพัด  (FIBONACCI FAN LINES)

ฟิบอนนาซี่แบบระยะเวลา  (TIME ZONES)

โดยใน 2 รูปแบบแรก (แบบข้อ 1 และ 2) จะเกี่ยวข้องกับเรื่องราคาเป็นสำคัญ ในขณะ รูปแบบหลัง (แบบข้อ 3) จะเกี่ยวข้องกับเรื่องเวลา