เทคนิคพ้อยท์แอนด์ฟิคเกอร์ POINT & FIGURE TECHNIQUE

เทคนิคพ้อยท์แอนด์ฟิคเกอร์ POINT & FIGURE TECHNIQUE

เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ที่นิยมใช้กันมากชนิดหนึ่ง ในการหาจังหวะเวลาในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ โดยมีข้อดีในแง่ที่ว่าเข้าใจง่าย และมีสัญญาณชัดเจนในการบอกให้ซื้อหรือขาย ข้อมูลที่ใช้ต้องการเพียงระดับราคาหุ้นสูงสุด และต่ำสุดในแต่ละวันเท่านั้น (หรือระดับราคาสุดท้ายในแต่ละช่วงเวลา ในกรณี POINT & FIGURE แบบ INTRADAY)

วิธีการกำหนด BOX SIZE
สำหรับทำแผนภูมิพ้อยท์แอนด์ฟิคเกอร์

ตามแนวตั้งของตารางกราฟ จะแสดงการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาหุ้นที่นำมาทำ โดยใช้อัตราส่วน 1 ช่อง (BOX) ต่อ 1 ช่วงราคาตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดไว้ อาทิเช่น หุ้น ABC ระดับราคาอยู่ประมาณ 150 บาท ตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้ช่วงการเปลี่ยนแปลงของราคาช่วงละ 1 บาท ดังนั้น ในกระดาษกราฟ 1 ช่องจะเท่ากับ 1 บาทนั่นเอง และเมื่อหุ้น ABC มีราคาขึ้นไปเกิน 200 บาท ซึ่งตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้ช่วงการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นเป็นช่วงละ 2 บาท ช่องถัดไปจากช่องที่ราคา 200 บาทขึ้นไปจะคิดเป็น 1 ช่องเท่ากับ 2 บาท

ตารางการเปลี่ยนแปลงช่วงราคา

 

            ราคาหุ้น (บาท) ช่วงละ (บาท)
ตั้งแต่ 0 ถึงน้อยกว่า 10 0.10
ตั้งแต่ 10 ถึงน้อยกว่า 50 0.25
ตั้งแต่ 50 ถึงน้อยกว่า 100 0.50
ตั้งแต่ 100 ถึงน้อยกว่า 200 1.00
ตั้งแต่ 200 ถึงน้อยกว่า 600 2.00
ตั้งแต่ 600 ถึงน้อยกว่า 1,000 4.00
ตั้งแต่ 1,000 ขึ้นไป 6.00

 

 

วิธีการสร้างแผนภูมิ POINT AND FIGURE แบบ DAILY

1. ในวันเริ่มทำแผนภูมิ ถ้าราคาปิดเป็นบวก จากราคาปิดครั้งก่อน ให้เขียนเครื่องหมาย X ตั้งแต่ราคาต่ำสุดของวันนั้นขึ้นไปจนถึงราคาสูงสุดของวันนั้น แต่ถ้าราคาปิดเป็นลบ ก็ให้เขียนเครื่องหมาย O ตั้งแต่ราคาสูงสุด ลงมาจนถึงราคาต่ำสุดของวันนั้น (ถ้าเป็นหุ้นใหม่เข้าตลาดในวันแรก ก็ให้ดูว่าราคาปิดสูงกว่าหรือต่ำกว่าราคาเปิด ถ้าสูงกว่าให้ถือว่าราคาปิดเป็นบวกแล้วเขียนเครื่องหมาย O)

2. ในวันต่อมา กรณีที่ในแผนภูมิเป็นแถวของ X อยู่ หากราคาสูงสุดยังคงสูงขึ้นกว่าเดิมก็ให้เขียนเครื่องหมาย X ต่อขึ้นไปจนถึงราคาสูงสุดของวันนั้น และในทางกลับกันกรณีที่ในแผนภูมิเป็นแถวของ O และราคาต่ำสุดของวันก็ยังต่ำกว่าครั้งก่อนให้เขียนเครื่องหมาย O ต่อลงมาจนถึงราคาต่ำสุดนั้น

3. กรณีที่ราคาหุ้นเริ่มมีการเปลี่ยนทิศทาง คือเมื่อเราอยู่ในแถวของเครื่องหมาย X ซึ่งวันต่อมาเราต้องดูที่ราคาสูงสุด แต่เมื่อปรากฏว่าราคาสูงสุดของวันใหม่ที่เรากำลังดูมีราคาเท่าเดิม หรือต่ำกว่าเดิมก็ให้ไปพิจารณาดูที่ราคาต่ำสุด ถ้าราคาต่ำสุดต่ำกว่าราคาสูงสุดเดิมที่ทำไว้ในกระดาษกราฟเมื่อครั้งก่อน ตามช่วงราคาที่กำหนดไว้ (REVERSAL) เช่น ตั้งแต่ 3 ช่วงราคาเป็นต้นไป ก็ให้เขียนเครื่องหมาย O ในแถวถัดมาด้านขวามือ โดยให้ O ตัวบนสุดอยู่ต่ำกว่า X ในแถวเดิม 1 ช่วง แล้วเขียน O ลงมาจนถึงราคาต่ำสุดในวันนั้น แต่ถ้าราคาต่ำสุดในวันนั้นต่างจากราคาสูงสุดเดิมน้อยกว่าช่วงราคาที่กำหนดไว้ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในกราฟ

ในทางกลับกัน ถ้าเดิมเราอยู่ในแถวของเครื่องหมาย O ซึ่งวันต่อมาเราต้องดูที่ราคาต่ำสุด แต่ปรากฏว่าราคาต่ำสุดใหม่ที่เราดูนั้นเท่าเดิมหรือสูงกว่าเดิม ก็ให้ไปพิจารณาดูราคาสูงสุด ซึ่งถ้าราคาสูงสุดต่างจากราคาต่ำสุดเดิมที่ทำไว้ในกระดาษกราฟเมื่อครั้งก่อนตามช่วงราคาที่กำหนดไว้ เช่น ตั้งแต่ 3 ช่วงราคาเป็นต้นไป ก็ให้เขียนเครื่องหมาย X ในแถวถัดมาทางขวามือ โดย X ตัวล่างสุดอยู่สูงกว่า O ในแถวเดิม 1 ช่องแล้วเขียน X ขึ้นไปจนถึงราคาสูงสุดในวันนั้น แต่ถ้าราคาสูงสุดในวันนั้นต่างจากราคาต่ำสุดเดิมน้อยกว่าช่วงราคาที่กำหนดไว้ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในกราฟ

ตัวอย่าง สมมุติว่าเริ่มทำแผนภูมิในวันที่ 3 มิ.ย. โดยในวันนั้นมีราคาปิดเป็นบวกจากวันก่อน

 

ตัวอย่าง  สมมุติว่าเริ่มทำแผนภูมิในวันที่ 3 มิ.ย. โดยในวันนั้นมีราคาปิดเป็นบวกจากวันก่อน

BOX SIZE         =   1  บาท
REVERSAL        =   3  BOX SIZE

 

วัน/เดือน ราคาสูงสุด ราคาต่ำสุด 159
03/06 152 149 158
04/06 152 150 157 X
05/06 153 145 156 X
06/06 147 145 155 X
07/06 146 143 154 X
10/06 146 144 153 X X
11/06 145 143 152 X O X
12/06 146 143 151 X O X
13/06 149 142 150 X O X
14/06 148 146 149 X O X X
17/06 148 147 148 O X O X
18/06 150 148 147 O X O X
19/06 152 146 146 O X X O
20/06 157 152 145 O X O X
144 O X O X
143 O O
142

*ข้อสังเกต ถ้ากำลังอยู่ในแถวของ X ในวันต่อมาให้พิจารณาดูที่ราคาสูงสุดก่อน และถ้าอยู่ในแถวของ O ในวันต่อมาให้พิจารณาดูที่ราคาต่ำสุดก่อน

วิธีการสร้างแผนภูมิ POINT AND FIGURE
แบบ INTRADAY

การสร้างแผนกูมิลักษณะนี้ต่างจากแบบ DAILY ที่มีการนำราคาซื้อขายหุ้นทุกรายการ (TICK) มาใช้ในการสร้างแผนภูมิ แทนราคาสูงสุด หรือต่ำสุดของวัน และการเปลี่ยนทิศทางของราคาหุ้นไม่ได้ขึ้นกับ การเปรียบเทียบราคาสูงสุดและต่ำสุดที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงจากวันก่อนหน้า แต่ขึ้นกับราคาซื้อขายหุ้นที่เปลี่ยนแปลงจากขึ้นเป็นลงหรือลงเป็นขึ้น โดยอย่างน้อยเท่ากับค่า REVERSAL ที่กำหนด เช่น ถ้ากำหนดค่า REVERSAL เป็น 2 ในกรณีการเปลี่ยนแปลงราคาจากขึ้นเป็นลง จะไม่มีการเขียนเครื่องหมาย O จนกว่าราคาหุ้นจะลดลงจากราคา X สุดท้ายอย่างน้อยเท่ากับ 2

1. เมื่อเริ่มทำแผนภูมิ ให้กำหนดราคาเริ่มต้น ถ้าราคาต่อมาสูงกว่าราคาเริ่มต้นซึ่งเป็น X ให้เขียนเครื่องหมาย X ต่อขึ้นไปจากเดิมจนถึงราคานั้น และในทางกลับกัน ถ้าราคาเริ่มต้นเป็น O และราคาต่อมาต่ำกว่าราคาเริ่มต้น ให้เขียนเครื่องหมาย O ต่อลงมาจนถึงราคานั้น

2. กรณีที่ราคาหุ้นเริ่มเปลี่ยนทิศทาง คือ ในขณะที่อยู่ในแถว X ถ้าราคาต่อมาลดต่ำลงจนได้ผลต่างจากราคา X สุดท้ายอย่างน้อยเท่ากับค่า REVERSAL ให้เขียนเครื่องหมาย O ในแถวถัดมาด้านขวามือ โดยให้ O ตัวบนสุดอยู่ต่ำกว่า X ในแถวเดิม 1 ช่องแล้วเขียน O ต่อลงมาจนถึงราคาใหม่นั้น แต่ถ้าราคาใหม่ต่ำกว่าราคา X สุดท้ายน้อยกว่าค่า REVERSAL แล้ว จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในกราฟ

ในทางกลับกัน ถ้าเดิมราคาอยู่ในแถว O แต่ราคาต่อมาอยู่สูงกว่าราคา O สุดท้ายอย่างน้อยเท่ากับค่า REVERSAL ให้เขียนเครื่องหมาย X ในแถวถัดมาด้านขวามือ โดยให้ X ตัวล่างสุดอยู่สูงกว่า O ในแถวเดิม 1 ช่อง แล้วเขียน X ขึ้นไปจนถึงราคาใหม่นั้น แต่ถ้าราคาใหม่อยู่สูงกว่าราคา O สุดท้าย น้อยกว่าค่า REVERSAL จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในกราฟ

วิธีการสร้างแผนภูมิ เทคนิคพ้อยท์แอนด์ฟิคเกอร์
ตัวอย่าง 3 POINTS REVERSAL

 

Price Plot 35
29 Start 34
32 X 33 X
29 O 32 X X O
33 X 31 X O X O X
30 O 30 X O X O X O
28 O 29 * O O X O
30 No Plot 28 O O
31 X 27 O
29 No Plot 26
27 O 25

วิธีการอ่านแผนภูมิ POINT & FIGURE

มีหลักฐานในการอ่าน 3 ประการคือ

1. สัญญาณให้เข้าซื้อ เกิดขึ้นเมื่อ X ในแถวที่กำลังทำอยู่ สามารถไต่ขึ้นไปได้สูงกว่า X ในแถวที่ใกล้ที่สุด จุดที่เริ่มสูงกว่าคือจุดซื้อ

X

X          จุดซื้อ

X                      X

X          O         X

X          O         X

X          O

2. สัญญาณในการขาย เกิดขึ้นเมื่อ O ในแถวที่กำลังทะอยู่ตกต่ำกว่า O ในแถวที่ใกล้ที่สุด จุดที่เริ่มต่ำกว่าคือจุดขาย

O         X

O         X          O

O         X          O

O                     O

O         จุดขาย

O

3. สัญญาณให้เข้าซื้อ หรือขาย ซึ่งเกิดจากการเปรียบเทียบระดับสูงต่ำระหว่างแถวที่กำลังทำอยู่ กับแถวที่ไกลออกไป ดังเช่น X ในแถวที่ 5 กับ X ในแถวที่ 1 จะมีค่าความน่าเชื่อถือในการซื้อ น้อยกว่าการเปรียบเทียบระหว่างแถวที่กำลังทำอยู่กับแถวที่ใกล้กว่า เช่น X ในแถวที่ 5 กับ X ในแถวที่ 3

X          น่าเชื่อถือในการซื้อ มาก

X                      X

X          O         X

X          O         X

X          O         X          น่าเชื่อถือในการซื้อ น้อย

X                      X          O         X

X          O         X          O         X

X          O                     O         X

X          O         O

นอกจากการอ่านสัญญาณตามหลักพื้นฐานทั้ง 3 ประการแล้ว แผนภูมินี้ ถ้ามีจำนวนของข้อมูลย้อนหลังมาก ๆ เราสามารถนำรูปแบบการเคลื่อนไหวของอดีตมาเปรียบเทียบกับรูปแบบที่เกิดขึ้นในปัจจุบันแล้วคาดทำนายอนาคตได้

รูปแบบแผนภูมิที่ใช้ประกอบการวิเคราะห์
การนำเอารูปแบบแผนภูมิต่าง ๆ เข้ามาช่วยประกอบในการวิเคราะห์เทคนิค POINT & FIGURE จะช่วยให้ได้สัญญาณที่ชัดเจนและถูกต้องแม่นยำมากขึ้น ตามความเชื่อพื้นฐานที่ว่า “ประวัติศาสตร์มักจะซ้ำรอยเดิม” รูปแบบต่าง ๆ ที่จะนำมาเสนอจะเป็นรูปแบบอย่างง่าย ๆ แต่มีความถูกต้องแม่นยำค่อนข้างสูง และจากรูปแบบต่าง ๆ เหล่านี้ถ้ามีการสะสมตัวเป็นเวลานานจะยิ่งมีความถูกต้องแม่นยำยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีกดังจะยกตัวอย่างต่อไปนี้

รูปแบบการทะลุผ่านสองยอด (BREAK DOUBLE TOP) และการทะลุผ่านสองฐาน (BREAK DOUBLE BOTTOM)

รูปแบบการทะลุผ่านสองยอด (BREAK DOUBLE TOP) เป็นรูปแบบพื้นฐานในตลาดขาขึ้น ดังตัวอย่างในภาพ โดยจุดสูงสุดจุดแรกของราคาอยู่ที่ 124 ต่อมาราคาตกต่ำลงมาถึง 119 บาท แล้ววิ่งกลับขึ้นไปที่ 124 บาทอีก จะเกิดเป็นรูป DOUBLE TOP ถ้าราคาสามารถทะลุผ่านระดับ 124 บาทขึ้นไปได้แสดงให้เห็นถึงสัญญาณซื้อ และยิ่งถ้ามียอดมากเท่าใดความแม่นยำก็จะมีมากขึ้นตาม

รูปแบบการทะลุผ่านสองฐาน (BREAK DOUBLE BOTTOM) เป็นรูปแบบพื้นฐานในตลาดขาลง ตัวอย่างเช่น จุดต่ำสุดจุดแรกอยู่ที่ 121 ต่อมาราคากลับวิ่งขึ้นไปถึง 124 แล้วตกกลับลงมาที่ 121 อีกครั้งหากราคาทะลุผ่านระดับ 121 ลงไปได้ แสดงให้เห็นถึงสัญญาณขายและยิ่งถ้ามีฐานมากเท่าใดความแม่นยำก็มีมากขึ้นเท่านั้น
รูปแบบสามเหลี่ยมขาขึ้น (BULLISH TRIANGLE)
กับสามเหลี่ยมขาลง (BEARISH TRIANGLE)

เมื่อมีการรวมตัวของราคาหุ้นเป็นรูปสามเหลี่ยม เราจะให้ความสำคัญค่อนข้างมากในการวิเคราะห์พฤติกรรมของราคาหุ้นนั้น ๆ

รูปแบบสามเหลี่ยมขาขึ้น (BULLISH TRIANGLE) การรวมตัวของราคาเป็นรูปแบบนี้จะต้องมีจุดต่ำสุดที่สูงขึ้นและจุดสูงสุดที่ต่ำลงดังรูป และเมื่อเราลากเส้นแนวโน้ม 45 องศาจากจุดสูงสุด กับจุดต่ำสุดจะปรากฏเป็นรูปสามเหลี่ยม และหากระดับราคาสามารถทะลุเส้นแนวโน้มขึ้นไปได้ดังรูป จะเป็นสัญญาณให้ซื้อ

รูปแบบสามเหลี่ยมขาลง (BEARISH TRIANGLE) การรวมตัวของราคาเป็นรูปแบบนี้จะต้องมีจุดสูงสุดที่ต่ำลง และจุดต่ำสุดที่สูงขึ้น และเมื่อเราลากเส้นแนวโน้ม 45 องศาจากจุดสูงสุดและจุดต่ำสุด จะปรากฏเป็นรูปสามเหลี่ยม และหากระดับราคาสามารถทะลุผ่านเส้นแนวโน้มลงมาจะเป็นสัญญาณให้ขาย


นอกจากนี้ยังอาจมีการรวมตัวเป็นหลายรูปแบบในหุ้นตัวเดียวกันได้ แต่ลักษณะการวิเคราะห์จะเหมือนกับรูปแบบต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นอีกทั้งหากเราสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับ PRICE PATTERN แบบต่าง ๆ จะยิ่งเป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น (มีกล่าวไว้ในเรื่อง PRICE PATTERN ของแผนภูมิแบบแท่ง)