DekGenius.com
Search :

เศรษฐศาสตร์ (economics)

No.
คำ
ความหมาย
  1   Community development ความหมาย
  2   Community organization ความหมาย
  3   Comparative advantage ความหมาย
  4   Comparative economics ความหมาย
  5   Compensation ความหมาย
  6   Compensation ความหมาย
  7   Compensation trade ความหมาย
  8   Compensatory financing ความหมาย
  9   Competition ความหมาย
  10   Competition trade ความหมาย
  11   Competitive product ความหมาย
  12   Competitiveness ความหมาย
  13   Compiler ความหมาย
  14   Complementarily agreement ความหมาย
  15   Complementary investment ความหมาย
  16   Compulsory licence ความหมาย
  17   Computer aided design ความหมาย
  18   Computer aided manufacture ความหมาย
  19   Concerted lending ความหมาย
  20   Concession ความหมาย
  21   Confinancing ความหมาย
  22   Conflict ความหมาย
  23   Conflict ความหมาย
  24   Conglomerate corporation ความหมาย
  25   Conservatism ความหมาย
Page : [1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [X] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [>>]
   (ส่งเข้าทาง inbox facebook)
(Share ผ่าน social network)
 

เศรษฐศาสตร์ (อังกฤษ: economics) เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการผลิต การกระจาย การบริโภคสินค้าและบริการ ตามคำจำกัดความของนักเศรษฐศาสตร์และนักการเมือง เรย์มอนด์ บารร์ แล้ว "เศรษฐศาสตร์คือศาสตร์แห่งการจัดการทรัพยากรอันมีจำกัด เศรษฐศาสตร์พิจารณาถึงรูปแบบที่พฤติกรรมมนุษย์ได้เลือกในการบริหารทรัพยากรเหล่านี้ อีกทั้งวิเคราะห์และอธิบายวิถีที่บุคคลหรือบริษัททำการจัดสรรทรัพยากรอันจำกัดเพื่อตอบสนองความต้องการมากมายและไม่จำกัด"

คำว่า เศรษฐศาสตร์ มาจากคำภาษากรีก oikonomia ซึ่งแปลว่าการจัดการครัวเรือน (oikos แปลว่าบ้านและ nomos แปลว่า จารีตประเพณีหรือกฎหมาย ซึ่งรวมกันหมายความว่ากฎเกณฑ์ของครัวเรือน) แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันแยกออกมาจากขอบเขตที่กว้างของวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองเมื่อปลายศตวรรษที่ 19

การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ถูกประยุกต์ใช้ครอบคลุมทั้งสังคมในด้าน ธุรกิจ, การเงิน และรัฐบาล แม้แต่ทั้งด้านอาชญากรรม, การศึกษา, ครอบครัว, สุขภาพ, กฎหมาย, การเมือง, ศาสนา, สถาบันสังคม, สงคราม และวิทยาศาสตร์

ภาพแสดงผู้ซื้อและผู้ขายกำลังต่อรองราคาอยู่หน้าตลาดชิชิคาสเทนานโก ในประเทศกัวเตมาลา วิชาเศรษฐศาสตร์จัดเป็นวิชาเชิงปทัสฐาน (เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น) เมื่อเศรษฐศาสตร์ได้ถูกใช้เพื่อเลือกทางเลือกอันหนึ่งอันใด หรือเมื่อมีการตัดสินคุณค่าบางสิ่งบางอย่างแบบอัตวิสัย ในทางตรงข้ามเราจะเรียกเศรษฐศาสตร์ว่าเป็นวิชาเชิงบรรทัดฐาน (เศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริง) เมื่อเศรษฐศาสตร์นั้นได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำนายและอธิบายถึงผลลัพธ์ที่ตามมาเมื่อมีการเลือกเกิดขึ้น โดยพิจารณาจากสมมติฐาน และชุดของข้อมูลสังเกตการณ์ ทางเลือกใดก็ตามที่เกิดจากการใช้สมมติฐานสร้างเป็นแบบจำลอง หรือเกิดจากชุดข้อมูลสังเกตการณ์ที่สัมพันธ์กันนั้น ก็เป็นข้อมูลเชิงบรรทัดฐานด้วยเช่นเดียวกัน

เศรษฐศาสตร์จะให้ความสนใจกับตัวแปรที่สามารถวัดค่าได้เท่านั้น โดยสาขาของวิชาเศรษฐศาสตร์จะถูกจำแนกออกตามเนื้อหาเป็นสองสาขาใหญ่ ๆ คือ

เศรษฐศาสตร์จุลภาค ซึ่งสนใจพฤติกรรมขององค์ประกอบพื้นฐานในระบบเศรษฐกิจซึ่งรวมถึง ตลาดแต่ละตลาดและตัวแทนทางเศรษฐกิจ (เช่นครัวเรือน หน่วยธุรกิจ ผู้ซื้อ และผู้ขาย) เศรษฐศาสตร์มหภาค จะสนใจเศรษฐกิจในภาพรวม ตัวอย่างเช่น อุปทานมวลรวมและอุปสงค์มวลรวม การว่างงาน เงินเฟ้อ การเติบโตของเศรษฐกิจ นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถจำแนกออกตามการวิเคราะห์ปัญหาได้แก่

เศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ หรือเศรษฐศาสตร์ตามความเป็นจริง (Positive economics) เศรษฐศาสตร์นโยบาย หรือเศรษฐศาสตร์ตามที่ควรจะเป็น (Normative economics) สำหรับประเด็นหลัก ๆ ที่เศรษฐศาสตร์ให้ความสนใจจะอยู่ที่การจัดสรรทรัพยากร การผลิต การกระจายสินค้า การค้า และการแข่งขัน โดยหลักการแล้วคำอธิบายทางเศรษฐศาสตร์จะถูกนำไปประยุกต์ใช้เพื่ออธิบายปัญหาที่เกี่ยวข้องกับทางเลือกภายใต้ข้อจำกัดด้านความขาดแคลนมากขึ้นเรื่อย ๆ หรืออาจจะเรียกได้ว่ามีการกำหนดมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ให้กับทางเลือกนั้น ๆ นั่นเอง

ในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยธุรกิจของประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะนิยมสอนทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่เรียกว่า เศรษฐศาสตร์แบบสำนักคลาสสิกใหม่ (Neo - Classical Economics) ทั้งนี้ เศรษฐศาสตร์กระแสหลักจะวิเคราะห์ถึง "ความเป็นเหตุเป็นผล-ความเป็นปัจเจกชน-ดุลยภาพ" ตรงกันข้ามกับเศรษฐศาสตร์ทางเลือกที่เน้นวิเคราะห์ "สถาบัน-ประวัติศาสตร์-โครงสร้างสังคม" เป็นหลัก