หลักการใช้สำนวนช่วยโครงสร้างวลีภาษาญี่ปุ่น

หลักการใช้สำนวนช่วยโครงสร้างวลีภาษาญี่ปุ่น

คำกริยาภาษาญี่ปุ่น

ประโยคในภาษาพูดของภาษาญี่ปุ่นส่วนใหญ่  มักจะมีการละประธานของประโยคทิ้งไป  ซึ่งจะเกิดขึ้นในกรณีทั้งผู้พูดและผู้ฟังเข้าใจประธานของประโยคที่ละทิ้งไปนั้นหมายถึงอะไร   ส่วนที่คงเหลือไว้ในประโยคคำพูดนั้น  คือ “ภาคแสดง”ของประโยค  หรือเรียกชื่ออย่างอื่นว่า “กริยาวลี” ก็ได้  ในกริยาวลีดังกล่าวนั้น  กริยาแท้ของประโยคอาจเป็นสกรรมกริยา  (Tadooshi)   หรืออกรรมกริยา (Jidooshi)  เพราะฉะนั้น โครงสร้างกริยาวลีในภาษาญี่ปุ่นจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก  หรืออาจกล่าวได้ว่า ในการสื่อสารกันนั้น   โครงสร้างกริยาวลีจะใช้สื่อความหมายมากกว่าโครงสร้างที่เป็นภาคประธานของประโยค  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  เมื่อคู่สนทนาได้เกรินหัวข้อเรื่องที่สนทนาผ่านไปแล้ว (Old Information)  การพูดคุยในภายหลังจะทำให้คู่สนทนานั้น   ใช้กระบวนการละภาคประธานเป็นส่วนใหญ่  เพื่อเป็นการลดข้อความที่ซ้ำ   และประหยัดเวลาในการสื่อความหมายกัน  ภาคประธานของประโยคจะมีการกล่าวขึ้นต้นประโยคเสมอ เมื่อประโยคที่กล่าวขึ้นนั้นเป็นเรื่องใหม่ (New Information)  ซึ่งทั้งผู้พูดและผู้ฟังยังไม่เข้าใจอย่างละเอียดดีกับเรื่องนั้น  ถ้าเข้าใจดีแล้ว  เนื้อหาข่าวสารดังกล่าวนั้นจะเป็นเนื้อหาที่ผ่านไป (Old  Information)   ดังนั้น หนังสือเล่มนี้จะให้ความสำคัญกับกริยาวลีโดยเจาะจงไปที่ “คำสำนวนที่ใช้ตามหลังคำกริยา”

รูปพจนานุกรมของคำกริยาภาษาญี่ปุ่น

คำกริยารูปพจนานุกรมของภาษาญี่ปุ่นจะลงท้ายด้วยเสียง อึ (เช่น u,ku,su,mu เป็นต้น)   รูปนี้จะปรากฏอยู่ในกริยารูปที่ 3 (V3)ในแผนภูมิการผันคำกริยา  ซึ่งจะกล่าวในอันดับต่อไป

ประเภทของคำกริยาภาษาญี่ปุ่น

  1. คำกริยาประเภทที่ตัวคำของกริยา (คืออักษรที่อยู่ก่อนตัวสุดท้าย เช่น ในคำ Okiru คือ ตัว ki ) เป็นพยัญชนะที่ออกเสียงเป็น อิ หรือว่า เอะ นำหน้าตัวอักษรหรือพยัญชนะ ru

(1) ถ้าเป็นเสียง อิ นำหน้าตัว ru เรียกว่า Kami Ichidan Katsuyoo Dooshi    หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า -Iru Dooshi เช่น

miru  “ดู”

iru  “อยู่,มี”  เป็นต้น

(2) ถ้าเป็นเสียง เอะ นำหน้าตัว ru  เรียกว่า  Shimo  Ichidan  Katsuyoo

Dooshi หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  -Eru Dooshi เช่น

taberu  “กิน”

deru  “ออกไป”

ข้อยกเว้น: คำกริยาต่อไปนี้ถึงแม้จะลงท้ายด้วย -iru หรือ -eru ก็ตาม แต่ก็จัดให้

อยู่ในหมวดที่ II  หรือ Godan Katsuyoo Dooshi  ได้แก่

hairu  “เข้าไป”

hashiru  “วิ่ง”

iru  “ต้องการ”

kaeru  “กลับ”

kagiru  “จำกัด”

kiru  “ตัด”

shiru  “ทราบ,รู้” เป็นต้น

  1. คำกริยาที่อยู่นอกเหนือจากกริยาหมวดที่ I (กริยา Kami Ichidan Katsuyoo กับ

Shimo Ichidan Katsuyoo) เรียกว่า Godan Katsuyoo Dooshi ได้แก่

aru  “มี,อยู่”

kaku  “เขียน”

yomu  “อ่าน”

iu  “พูด,เรียก”

narau  “เรียน”

matsu  “คอย,รอ”

tatsu  “ยืน”

dasu  “เอาออก,ส่ง”

 III.  คำกริยาประเภทสุดท้ายนี้  ถือว่าเป็นคำกริยาอปกติ (คือมีลักษณะการผันคำอย่างไม่มี   กฎเกณฑ์ จะต้องจดจำเอาแต่ละลักษณะของการผันคำ)  ดังนี้

(1) Suru “ทำ”เรียกคำกริยาที่อยู่ในหมวดนี้ว่า “Sagyoo Henkaku Katsuyoo

Dooshi” คำกริยาที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้  ได้แก่

suru  “ทำ”

benkyoo suru  “เรียน”

renshuu suru  “ทำแบบฝึกหัด”

ai suru  “รัก”

ryokoo suru  “เดินทาง,ท่องเที่ยว”  เป็นต้น

(2) Kuru “มา” มีคำนี้คำเดียว เรียกว่า “Kagyoo Katsuyoo Dooshi”

(3) Nasaru “ทำ”  (รูปยกย่องของคำกริยา suru)

Kudasaru “ให้”  (รูปยกย่องของคำกริยา kureru)

Ossharu “พูด”  (รูปยกย่องของคำกริยา yuu [คำจริงเขียนด้วยiu])

Irassharu “อยู่,ไป,มา”  (รูปยกย่องของคำกริยา iru,iku,kuru)

คำว่า “รูปยกย่อง” ในที่นี้หมายถึง “รูปสุภาพ” ด้วย

(4) Gozaru “เป็น,มี” (รูปสุภาพของคำกริยา aru) โดยทั่วไปคำกริยาถ้าจะใช้

กับกริยาช่วย -masu จะต้องเปลี่ยนเป็นรูปที่ 2 (V2) เท่านั้นในภาษาญี่ปุ่นสมัยปัจจุบัน  เช่น

Koko ni hon ga gozaimasu.

“ที่นี่มีหนังสือ”

Koko ni hon ga gozaimasen.

“ที่นี่ไม่มีหนังสือ”

Koko ni hon ga gozaimashita.

“ที่นี่มีหนังสือ(รูปอดีต)”

สำหรับคำกริยาที่อยู่หัวข้อ (3) และ (4) เรียกว่า  “Fukisoku Godan Katsuyoo Dooshi”