ตัวแปลภาษา การแปล และการประมวลผล

ตัวแปลภาษา การแปล และการประมวลผล

ภาษาจาวาถูกออกแบบให้มีความสามารถทำงานได้ในระบบปฏิบัติการที่หลากหลาย โดยติดตั้งส่วนรับการประมวลผลเพิ่มเติมที่ชื่อว่า จาวาเวอร์ชวลแมชชีน (Java Virtual Machine) และมีวิธีพัฒนาโปรแกรมตอบสนองการเข้าใช้งานของผู้ใช้ได้อย่างหลากหลายวิธี เช่น โปรแกรมประยุกต์ (Application) แอพเพลท  (Applet) เซิร์ฟเรต (Servlet) เจเอสพี (JSP = Java Server Page) แพ็คเกจ (Package) จาร์ (Jar) เป็นต้น

            ตัวแปลภาษา (Compiler)

For version 1.4   DOS> cd  c:\j2sdk1.4.1_01\bin

For version 5.0   DOS> cd  c:\sun\sdk\jdk\bin

            การแปลภาษา (Compiling)

DOS> javac  x.java

            การประมวลผล (Execution)

DOS> java   x

 

นามสกุลของแฟ้มเกี่ยวกับภาษาจาวา

.java        คือ แฟ้มรหัสต้นฉบับ (Source Code) เมื่อผ่านการแปล (Compile) จะได้แฟ้ม .class

.class     คือ แฟ้มที่ได้หลังจากแปล เป็นแบบ Bytecode ทำงานได้บน JVM

.jsp         คือ แฟ้มเก็บรหัสต้นฉบับที่ใช้ผ่านเครื่องบริการเว็บ จะแปลเมื่อถูกเรียกใช้

.jar          คือ แฟ้มที่รวมแฟ้ม .class หรือแฟ้มที่จำเป็น เพื่อให้เรียกใช้โดยสะดวก

คำแนะนำในการเริ่มต้นเขียนโปรแกรม

  1. เลือกภาษา สำหรับนักเรียน นักศึกษานั้นง่ายที่จะเลือก เพราะอาจารย์คอยชี้แนะ
  2. หาแหล่งข้อมูลอ้างอิงจากห้องสมุด ถ้าท่านไม่มีอะไรอยู่ในมือเลย คงนึกโครงสร้างภาษาไม่ออกเป็นแน่
  3. หาตัวแปลภาษา ทุกภาษาต้องมีตัวแปลภาษา มีหลายภาษาที่ถูกสร้างเป็น Free compiler ต้องหาดู
  4. เขียนโปรแกรมตัวแรกที่ง่าย เช่น พิมพ์เลข 5 เป็นต้น
  5. ศึกษาการทำซ้ำ และการเลือกตามเงื่อนไข เช่นพิมพ์สูตรคูณ หรือพิมพ์ 1 ถึง 10 เป็นต้น
  6. ติดต่อแฟ้มข้อมูล เพื่ออ่านมาแสดงผล หรือปรับปรุงข้อมูลได้
  7. เขียนเมนู เพื่อเลือกกระทำโปรแกรมตามตัวเลือก
  8. ทำรายงานจากการเชื่อมแฟ้มหลายแฟ้ม โดยกำหนดได้หลายตัวเลือก
  9. เขียนโปรแกรมเพิ่มข้อมูล เช่น ซื้อ ขาย ยืม คืน หรือโปรแกรมลงทะเบียนนักศึกษาแต่ละภาคเรียนเป็นต้น
  10. สร้างโปรแกรมขึ้นมาระบบหนึ่งให้สมบูรณ์ (ความสมบูรณ์ก็คือการสนองทุกความต้องการของผู้ใช้)

 

ตัวอย่าง 1.1 แสดงตัวเลขผ่านเมธอด main

class x {

public static void main(String arg[]) {

System.out.println(5);

}

}

 

ตัวอย่าง 1.2 สร้างสแตติก อินสแตนท์ และเมธอด

class x {

  static int a = 5;

public static void main(String arg[]) {

a++;

printMe();  // 6

x b = new x();

b.helpMe();  // 7

b.printMe();  // 6

b.a++;

x c = new x();

c.a++;

System.out.println(a); // 8

}

  static void printMe() { System.out.println(6); }

  void helpMe() { System.out.println(7); }

}

ตัวอย่าง 1.3 แสดงค่าของอินสแตนท์ในคนละพื้นที่

class x {

  int a = 5;

public static void main(String arg[]) {

x b = new x();

x c = new x();

c.a = 6;

System.out.println(c.a + b.a);  // 11

}

}