วงจรชีวิตการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle )
การเขียนโปรแกรมเป็นเพียงส่วนเล็กหรือขั้นตอนหนึ่งในวงจรชีวิตการพัฒนาระบบ (SDLC = System Development Life Cycle) นักพัฒนาควรศึกษาวงจรนี้ให้ละเอียดว่ากระบวนการทั้งหมดเริ่มต้น จบลง และเริ่มต้นใหม่อย่างไร และทำความเข้าใจในภาพรวมว่าเป็นอย่างไร เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบของตน และทำให้ระบบถูกใช้งานได้อย่างยั่งยืน ซึ่งวงจรชีวิตการพัฒนาระบบมี 7 ขั้นตอน ดังนี้
- ทำความเข้าใจปัญหาในระบบเดิม (Problem Recognition)
1.1 สรุปลักษณะองค์กรจากผู้บริหาร (Executive Summary)
1.2 แนะนำลักษณะของปัญหาโดยทั่วไป (Problem Specification)
– กำหนดหัวเรื่องของปัญหา (Subject)
– กำหนดของเบตของปัญหา (Scope)
– กำหนดวัตถุประสงค์ของการศึกษา (Objective)
1.3 แสดงส่วนที่ก่อให้เกิดปัญหา และที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล (Relation of Problem and Data)
1.4 อธิบายหลักการและเหตุผลในการแก้ปัญหา (Guiding for Basic Solution)
- การศึกษาความเหมาะสม และความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาระบบ (Feasibility Study)
2.1 การสัมภาษณ์ (Interview) หาสภาพความเป็นจริง
2.2 ศึกษาจากข้อมูล และรายงานเอกสาร ว่าเกิดได้อย่างไร (Document Study)
2.3 ศึกษาขั้นตอนการดำเนินงานของระบบ (Process Study)
2.4 ทบทวน และสรุปหัวเรื่อง, ขอบเขต และเป้าหมาย (Objective Review)
2.5 นำเสนอข้อสรุป วิธีการ เวลา ต้นทุน และผลตอบแทนของตัวเลือก (Option Summary)
2.6 จัดทำเอกสารสรุปเกี่ยวกับแผนพัฒนาระบบใหม่ (Choosing Summary)
- ทำความเข้าใจระบบที่ใช้อยู่เดิม (Understanding Existing System)
3.1 คำอธิบายทั่วไปเกี่ยวกับระบบที่ใช้อยู่ (Existing System Explannation)
– ข้อมูลนำเข้า (Input)
– ขั้นตอนการทำงาน (Process)
– ข้อมูลนำเสนอ หรือผลลัพธ์ (Output)
– ทรัพยากรต่าง ๆ (Resourse)
– บุคลากร (Personal)
– สินค้าคงคลัง (Stock)
– ฐานะการเงิน (Finance State)
– ความสะดวกในด้านต่าง ๆ (Facility)
– ขั้นตอนทางด้านบัญชี (Accounting Process)
3.2 เอกสาร (Document of Existing System)
– บทสัมภาษณ์ (Interview)
– เอกสารข้อมูล (Data Document)
– แผนผังเอกสาร (Document Flow)
– แผนผังแสดงการไหลเวียนของข้อมูล (Data Flow Diagram)
– แผนผังงาน (Layout Chart)
– แผนผังองค์กร (Organization Chart)
3.3 ข้อดีของระบบที่ใช้อยู่ (Advantage of Existing System)
3.4 ข้อเสียของระบบที่ใช้อยู่ (Disadvantage of Existing System)
- ออกแบบระบบใหม่ (System Design)
4.1 อธิบายข้อมูลนำเข้า (Input)
4.2 อธิบายข้อมูลที่นำเสนอ (Output)
4.3 อธิบายการประมวลข้อมูล (Data Process)
4.4 อธิบายโครงสร้างแฟ้ม (File Structure)
4.5 อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล และเมนู (Data Dictionary and Menu Design)
4.6 อธิบายการไหลของเอกสาร หรือข้อมูล (Data Flow)
4.7 อธิบายวิธีการควบคุม และระบบรักษาความปลอดภัย (Security)
4.8 อธิบายเทคนิคพิเศษที่นำมาใช้ในการทำงานในระบบใหม่ (Technique)
4.9 อธิบายการเลือกซื้อ hardware และ software (Hardware & Software)
- การพัฒนาระบบ (System Construction)
5.1 การเขียนโปรแกรม (Programming)
5.2 การทดสอบโปรแกรม (Testing and Evaluation)
5.3 จัดทำคู่มือ (Documentation)
5.4 ฝึกอบรม (Training)
- การติดตั้งระบบใหม่ หรือนำมาใช้จริง (Conversion and Installation)
6.1 ป้อนข้อมูล (Data Entry)
6.2 เริ่มใช้งานระบบ (Go On)
- การบำรุงรักษาระบบ (System Maintenance)