ตัวแปลภาษา การแปล และการประมวลผล
ภาษาจาวาถูกออกแบบให้มีความสามารถทำงานได้ในระบบปฏิบัติการที่หลากหลาย โดยติดตั้งส่วนรับการประมวลผลเพิ่มเติมที่ชื่อว่า จาวาเวอร์ชวลแมชชีน (Java Virtual Machine) และมีวิธีพัฒนาโปรแกรมตอบสนองการเข้าใช้งานของผู้ใช้ได้อย่างหลากหลายวิธี เช่น โปรแกรมประยุกต์ (Application) แอพเพลท (Applet) เซิร์ฟเรต (Servlet) เจเอสพี (JSP = Java Server Page) แพ็คเกจ (Package) จาร์ (Jar) เป็นต้น
ตัวแปลภาษา (Compiler)
For version 1.4 DOS> cd c:\j2sdk1.4.1_01\bin
For version 5.0 DOS> cd c:\sun\sdk\jdk\bin
การแปลภาษา (Compiling)
DOS> javac x.java
การประมวลผล (Execution)
DOS> java x
นามสกุลของแฟ้มเกี่ยวกับภาษาจาวา
.java คือ แฟ้มรหัสต้นฉบับ (Source Code) เมื่อผ่านการแปล (Compile) จะได้แฟ้ม .class
.class คือ แฟ้มที่ได้หลังจากแปล เป็นแบบ Bytecode ทำงานได้บน JVM
.jsp คือ แฟ้มเก็บรหัสต้นฉบับที่ใช้ผ่านเครื่องบริการเว็บ จะแปลเมื่อถูกเรียกใช้
.jar คือ แฟ้มที่รวมแฟ้ม .class หรือแฟ้มที่จำเป็น เพื่อให้เรียกใช้โดยสะดวก
คำแนะนำในการเริ่มต้นเขียนโปรแกรม
- เลือกภาษา สำหรับนักเรียน นักศึกษานั้นง่ายที่จะเลือก เพราะอาจารย์คอยชี้แนะ
- หาแหล่งข้อมูลอ้างอิงจากห้องสมุด ถ้าท่านไม่มีอะไรอยู่ในมือเลย คงนึกโครงสร้างภาษาไม่ออกเป็นแน่
- หาตัวแปลภาษา ทุกภาษาต้องมีตัวแปลภาษา มีหลายภาษาที่ถูกสร้างเป็น Free compiler ต้องหาดู
- เขียนโปรแกรมตัวแรกที่ง่าย เช่น พิมพ์เลข 5 เป็นต้น
- ศึกษาการทำซ้ำ และการเลือกตามเงื่อนไข เช่นพิมพ์สูตรคูณ หรือพิมพ์ 1 ถึง 10 เป็นต้น
- ติดต่อแฟ้มข้อมูล เพื่ออ่านมาแสดงผล หรือปรับปรุงข้อมูลได้
- เขียนเมนู เพื่อเลือกกระทำโปรแกรมตามตัวเลือก
- ทำรายงานจากการเชื่อมแฟ้มหลายแฟ้ม โดยกำหนดได้หลายตัวเลือก
- เขียนโปรแกรมเพิ่มข้อมูล เช่น ซื้อ ขาย ยืม คืน หรือโปรแกรมลงทะเบียนนักศึกษาแต่ละภาคเรียนเป็นต้น
- สร้างโปรแกรมขึ้นมาระบบหนึ่งให้สมบูรณ์ (ความสมบูรณ์ก็คือการสนองทุกความต้องการของผู้ใช้)
ตัวอย่าง 1.1 แสดงตัวเลขผ่านเมธอด main
class x {
public static void main(String arg[]) {
System.out.println(5);
}
}
ตัวอย่าง 1.2 สร้างสแตติก อินสแตนท์ และเมธอด
class x {
static int a = 5;
public static void main(String arg[]) {
a++;
printMe(); // 6
x b = new x();
b.helpMe(); // 7
b.printMe(); // 6
b.a++;
x c = new x();
c.a++;
System.out.println(a); // 8
}
static void printMe() { System.out.println(6); }
void helpMe() { System.out.println(7); }
}
ตัวอย่าง 1.3 แสดงค่าของอินสแตนท์ในคนละพื้นที่
class x {
int a = 5;
public static void main(String arg[]) {
x b = new x();
x c = new x();
c.a = 6;
System.out.println(c.a + b.a); // 11
}
}