การจับปิคกีต้าร์
ปิคกีต้าร์นั้นมีหลายแบบหลายรูปทรง แต่ที่นิยมใช้กันทั่ว ๆ ไปก็คือ ปิคแบน (flat
pick) ที่เห็นกันอยู่ทั่วไปก็จะมีอยู่ 2 ทรงคือ รูป 3 เหลี่ยม แล้วก็ รูปหยดน้ำ
มีให้เลือกตามขนาดความหนาของปิค ตั้งแต่ บาง , ปานกลาง และ หนา ส่วนจะเลือกใช้ขนาดไหน
ก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละคน ในการเล่นตีคอร์ดนั้นแนะนำให้ใช้ปิคแบบบาง
เพราะจะเกิดแรงต้านกับสายน้อยเล่นแล้วจะรู้สึกพริ้วไหวไม่สะดุด ส่วนการเล่น Solo นั้นใช้ได้ทุกขนาดขึ้นอยู่กับความชอบความถนัดของแต่ละคน
การจับปิคนั้นให้วางปิคลงด้านบนสันของปลายนิ้วชี้
นิ้วชี้อยู่ในลักษณะงอเข้าหาปลายนิ้วโป้ง แล้วใช้นิ้วโป้งกดทับตัวปิค
การจับไม่ได้จับจนแน่นมากให้จับพอกระชับไม่ให้หลุด ปลายปิคเลยออกมาจากนิ้วประมาณ 3-4 มิล
ไม่สั้นหรือยาวออกมามากจนเกินไป ปิคต้องอยู่ในลักษณะตั้งฉากกับสายหรือเกือบจะตั้งฉากกับสาย
และเอียงตัวปิคประมาณ 45 องศา
เพื่อลดแรงประทะกับสายในขณะดีด ทำให้ดีดได้คล่องและไม่รู้สึกติดขัด

การจับคอร์ดกีต้าร์
ในเว็บไซต์คอร์ดกีต้าร์
เราได้แสดงภาพการจับคอร์ดกีต้าร์ในตำแหน่งของนิ้วมือของมือซ้ายของคุณ
และวิธีการที่กดลงบนสายเพื่อให้เสียงคอร์ดได้อย่างถูกต้องนั้น
เราได้ใส่เลขกำกับของนิ้วมือไปด้วย
ซึ่งวิธีการจับคอร์ดกีต้าร์นั้นจะเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้ครับ
แผนภาพคอร์ดกีตาร์คือเปรียบเทียบกับคอร์ดของกีตาร์จริง
ซึ่งจะเริ่มต้นจากคอของกีต้าร์

ตัวเลขในตำแหน่งนิ้วต่างๆ
แสดงแทนจุดสีดำๆ สอดคล้องกับนิ้วมือในแผนภาพด้านล่าง:

ตัวอักษรตัว x เล็กๆ
ด้านบนของสายกีตาร์ซึ่งหมายถึงคุณไม่ต้องดีดสายนี้ ดังภาพข้างล่าง D7

ตัวอย่างการจับคอร์ด
ตัวเลขที่เห็นแทนนิ้วมือนั้นๆ Db

และเลข 3 หมายถึง
ตำแหน่งบาร์ หรือช่องของกีตาร์
คอร์ดพื้นฐาน
การหัดจับคอร์ดกีต้าร์ควรจะหัดจับคอร์ที่ง่ายๆประมาณ2-3คอร์ดก่อนพอเริ่มจับได้2-3คอร์ดแล้วค่อยมาหัดจับคอร์ดอื่นๆต่อไป
ลองหัดจับคอร์ดตามด้านล่างนี้ป็นคอร์ดที่จับได้ไม่ยากมากเหมาะสำหรับคนที่เริ่มต้นเล่น


การจับคอร์ดทาบ (Bar Chord)
การจับคอร์ดทาบนั้นสำหรับคนที่หัดเล่นใหม่ๆแล้ว
จะรู้สึกว่าจับยากมากทั้งเจ็บนิ้วไม่มีแรงกด เสียงบอด
แต่การจับคอร์ดทาบนั้นมีเทคนิคอยู่นิดเดียว คือ การหักข้อมือลงด้านล่าง
แล้วใช้นิ้วโป้งประคองตรงกลางหลังคอกีต้าร์ไว้
แทนการใช้นิ้วโป้งกำคอกีต้าร์แบบการจับคอร์ดธรรมดา แบบนี้จะเป็นการจับที่ถูกวิธี
และช่วยให้มีแรงกดสายมากขึ้นทำให้เสียงไม่บอด
ส่วนนิ้วที่ใช้กดสายก็พยายามให้ปลายนิ้วตั้งฉากกับสายมากที่สุดไม่ให้ไปโดนสายอื่นเพราะจะทำให้เสียงบอดได้
ลักษณะพิเศษของ
คอร์ดทาบ หรือ (Bar Chord)
ลักษณะพิเศษของคอร์ดทาบ
ก็คือ คุณสามารถ เลื่อนคอร์ดในลักษณะการจับที่ยังเหมือนเดิม ถอยหลังเข้าหาตัว หรือ
เลื่อนไปด้านหน้า
แล้วคอร์ดจะเปลี่ยนไปเป็นอีกคอร์ดหนึ่งโดยที่รูปแบบการจับยังเหมือนเดิม
โดยมีหลักอยู่ว่า ถ้าเลื่อนถอยเข้าหาตัว 1 ช่อง (เสียงสูงขึ้น)
คอร์ดเดิมที่เล่นอยู่ก็จะติด( # )เช่นคุณจับคอร์ด F แล้วเลื่อนเข้าหาตัว 1 ช่อง
คอร์ดก็จะเปลื่ยนเป็น F# ถ้า 2 ช่องคอร์ดก็จะเปลื่ยนเป็นคอร์ด G ในทางตรงกันข้าม
ถ้าเลื่อนไปด้านหน้าออกห่างตัว 1 ช่อง (เสียงต่ำลง) คอร์ดเดิมที่เล่นอยู่ก็จะติด( b ) เช่นคุณจับคอร์ด B แล้วเลื่อนออกห่างตัว 1 ช่อง คอร์ดก็จะเปลื่ยนเป็น Bb ถ้าเลื่อนไป 2 ช่องคอร์ดก็จะเปลื่ยนเป็นคอร์ด A สายเปิด
คือไม่ต้องใช้นิ้วชี้ทาบ เพราะตำแหน่งที่ต้องทาบเป็นสะพานรองสาย (Nut) พอดี
ส่วนการเลื่อนคอร์ดว่าเลื่อนกี่ช่องแล้วจะเปลี่ยนเป็นคอร์ดอะไรจะใช้หลักของ Major Scale คือ
คอร์ด E กับ F และคอร์ด B กับ C ห่างกัน 1 ช่อง (ครึ่งเสียง) ส่วนคอร์ดอื่น A กับ B , D กับ E , F กับ G ห่างกัน 2 ช่อง (หนึ่งเสียงเต็ม)
การเกากีต้าร์
การดีดด้วยนิ้ว
หรือ การเกาสาย (Finger Style หรือบางทีเรียก Finger Picking) เรามักเรียกการเล่นแบบนี้ว่า”การเกากีตาร์” ซึ่งปกติเราจะใช้นิ้วสำหรับเกาสายทั้งหมด 4 นิ้ว คือ โป้ง , ชี้ , กลาง , นาง
ส่วนนิ้วก้อยบางครั้งก็นำมาใช้ด้วยเหมือนกัน แต่ไม่นิยมนัก
การเกากีตาร์ โดยส่วนที่สัมผัสกันระหว่างปลายนิ้ว
กับ สายกีตาร์ในตอนดีดนั้น ถ้าเป็นนิ้วโป้ง จะใช้ด้านข้างด้านที่อยู่นอกตัวมือ ส่วนนิ้ว
ชี้ , กลาง , นาง
จะอยู่ปลายนิ้วค่อนไปทางนิ้วโป้ง อธิบายอย่างนี้อาจจะเข้าใจยาก
ดูรูปประกอบจะดีกว่า
จากรูปส่วนที่เป็นสามเหลี่ยมเล็กๆคือส่วนที่นิ้วสัมผัสกับสายกีตาร์

การเล่นกีตาร์สไตล์นี้
จริงๆแล้วไม่ใช่เรื่องยากเลย เพียงแต่ต้องการการฝึกทักษะของนิ้วให้คุ้นเคยกับงานดีดสาย
และสามารถวางนิ้วลงตำแหน่งที่ควรอยู่ได้อย่างอัตโนมัติเท่านั้นเอง
ซึ่งหากจะแบ่งรูปแบบในการเกาสายที่เป็นที่นิยมเล่นกันมากที่สุด จะมีอยู่ 3 รูปแบบ
แบ่งตามจำนวนนิ้วที่ใช้เล่นเสียงสูง ดังนี้
การเกากีตาร์แบบ 3 นิ้ว
รูปแบบนี้จะมีการแบ่งให้นิ้วโป้งใช้ดีดสายที่ให้เสียงเบส
นั่นคือสายที่ 4,5,6 ส่วนนิ้วที่เหลือจะดีดสายที่ให้เสียงสูง คือนิ้วชี้จะดีดประจำที่สายที่ 3
, นิ้วกลางจะดีดประจำที่สายที่ 2 และนิ้วนางจะดีดประจำที่สายที่ 1
ปกติการเกาสายรูปแบบนี้
จะเหมาะมากในกรณีการเล่นแบบกระจายเสียงคอร์ด(Arpeggio) ที่ต้องการเสียงกังวาลประสานกัน (Ring) ซึ่งมักมีแพลตเทิร์นในการดีดที่ซ้ำไปซ้ำมา
จึงนิยมใช้เล่นเป็นดนตรีเพื่อประกอบการร้อง

การเกากีตาร์แบบ 2 นิ้ว
รูปแบบนี้จะมีการแบ่งให้นิ้วโป้งใช้ดีดสายที่ให้เสียงเบส
นั่นคือสายที่ 4,5,6 ส่วนนิ้วที่เหลือจะใช้เพียงนิ้วชี้ และ นิ้วกลาง ที่จะสลับกันดีด
(คล้ายการเคลื่อนไหวของขาเวลาวิ่ง) ประจำสาย 1,2,3 อย่างไรก็ตามบางครั้งก็มีการใช้นิ้วโป้งไปเล่นสายที่ 1,2,3 ด้วยเช่นกัน
หรือบางทีนิ้วชี้และนิ้วกลาง ก็ไปเล่นสาย 4,5,6 ได้เช่นกัน โดยให้พิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละเพลง
ปกติการเกาสายรูปแบบนี้
จะเหมาะมากในกรณีการเล่นเพลงบรรเลงแบบเดี่ยวกีตาร์ เพราะนิ้วชี้และนิ้วกลาง
เมื่อดีดสลับกัน จะมีความคล่องตัว และสามารถดีดได้ถี่และรวดเร็ว

การเกากีตาร์แบบ 1 นิ้ว
รูปแบบนี้จะมีการแบ่งให้นิ้วโป้งใช้ดีดสายที่ให้เสียงเบส
นั่นคือสายที่ 4,5,6 ส่วนนิ้วที่จะใช้เล่นสายเส้นที่เป็นเสียงสูงทั้งหมดคือสายที่ 1,2,3 จะใช้นิ้วชี้เพียงนิ้วเดียว
ซึ่งวิธีนี้อาจดูง่ายสำหรับผู้เริ่มหัด
แต่กรณีที่เล่นเพลงที่ซับซ้อน จะค่อนข้างสับสน และหลงสายได้ง่าย
และเมื่อยนิ้วง่ายด้วย จึงไม่ค่อยนิยมนำมาเล่นในแบบบรรเลงเดี่ยวกีตาร์
หรือแบบกระจายคอร์ดเท่าใดนัก อย่างไรก็ตาม การเล่นแบบนิ้วเดียวกลับมีความคล่องตัว
ในกรณีใช้เล่นคอร์ดในแพล็ตเทริ์นที่ใช้นิ้วโป้งเล่นเดินเบส
สลับกับการใช้นิ้วชี้ตลัดขึ้นเพื่อเล่นสายเส้นล่างๆทั้ง 3 เส้นพร้อมกัน

อย่างไรก็ตาม
รูปแบบการเกาทั้ง 3 รูปแบบที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น เราควรจะฝึกฝนให้สามารถเล่นได้ทั้ง 3 รูปแบบ อย่างชำนาญ
เพราะในเพลงบางเพลง ก็มีความซับซ้อนของทำนอง จนอาจจำเป็นที่จะต้องใช้ทั้ง 3 รูปแบบผสมผสานกัน
จุดเด่นของการดีดโดยใช้นิ้ว
1. สามารถเล่นเสียงประสาน
จากสายกีตาร์ตั้งแต่ 2-4 เส้นพร้อมกัน โดยที่สายแต่ละเส้นไม่จำเป็นต้องอยู่ติดกัน
2. มีความคล่องตัวในการดีดแบบกระจายคอร์ด
ที่มีแพล็ตเทริ้นในการดีดซ้ำๆกันตลอดทั้งเพลง
3. การดีดคอร์ดด้วยวิธีการใช้นิ้วทั้ง 4 ดีดพร้อมกัน ให้ความรู้สึกคลาสสิค
คล้ายเสียงเปียโน
จุดด้อยของการดีดโดยใช้นิ้ว
1. เสียงจากการดีดจะไม่ใส,ชัดเจน เหมือนกับการใช้ปิ๊ค
2. สำหรับการดีดทำนองที่เร็ว เช่น
การเล่นลูกนิ้ว (Lick) แบบต่างๆ
จะไม่คล่องเท่ากับการดีดด้วยใช้ปิ๊ค
จดไว้
: สัญลักษณ์ทางโน๊ตกีตาร์ เพื่อบอกว่าให้ใช้นิ้วใดในการเกาสาย มีดังนี้
T = นิ้วโป้ง
I = นิ้วชี้
M = นิ้วกลาง
A = นิ้วนาง
O = นิ้วก้อย

การดีดกีตาร์แนว Finger Style บางครั้ง
หากต้องการให้เสียงที่ได้มีความคมชัด,ใส,บาง ก็สามารถสวมปิ๊คนิ้ว (Finger
Pick) เข้าไปกับนิ้วที่ใช้ดีดได้
แต่อย่างไรก็ตามการสวมปิ้คนิ้ว อาจทำให้ความคล่องตัวในการเกาสายลดน้อยลง
การดีดโดยใช้ปิ๊คผสมนิ้ว
จริงๆแล้ววิธีนี้
อาจไม่ได้ถือว่าเป็นวิธีหลักในการใช้เล่นเพลง
เพียงแต่เป็นการเล่นแนวพลิกแพลงเพื่อใช้เล่นกับบางเพลงที่ต้องการเสียงที่เกิดจากจุดเด่นของการดีดสายโดยใช้ปิ๊ค
และการดีดโดยใช้นิ้วหรือการเกาสายไว้ด้วยกัน
ซึ่งรูปแบบการเล่นที่นิยมมีอยู่สองรูปแบบคือ
1. ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จับปิ๊คดีดเหมือนปกติ
แต่ช่วงที่จำเป็นต้องเกาสาย จะใช้นิ้วกลาง, นาง, ก้อย ในการเล่น
2. ใส่ปิ๊คนิ้วให้กับนิ้วโป้ง
ดังนั้นเราสามารถจีบนิ้วชี้กับนิ้วโป้ง ได้เหมือนกับตอนจับปิ๊คตามปกติ
ให้ใช้ปิ้คนิ้วที่อยู่ที่นิ้วโป้งในการดีดสาย และในช่วงที่จำเป็นต้องเล่นแบบเกาสาย
ก็สามารถปล่อยการจีบนิ้ว แล้วใช้งานนิ้วชี้, กลาง ,นาง ในการเกาสายเหมือนการเกาแบบปกติ

สำหรับกีตาร์โปร่งนั้น
ตำแหน่งการวางมือขวา หรือตำแหน่งในการดีด จะให้เสียงที่ต่างกันดังนี้
- ตำแหน่งเหนือโพรงเสียง
จะให้เสียงดัง, กังวาน
- ตำแหน่งที่อยู่ใกล้บริดจ์
จะให้เสียงบางใส
การอ่านแทปเบื้องต้น
สำหรับคนที่สนใจอยากเล่น
แต่ยังอ่านแทปไม่เป็น ไม่ต้องกังวลไปครับ เพราะจริงๆแล้ว "แทป" มันก็ออกแบบมาให้มือกีต้าร์ที่ขี้เกียจอ่านโน๊ตอย่างเราๆอยู่แล้ว
ก่อนอื่นเราลองมาเปรียบเทียบการอ่านแทป กับการอ่านโน๊ตกันก่อนครับ
แทปเพลง VS โน๊ตเพลง
การอ่านแทปยังข้อดีเหนือการอ่านโน๊ตอยู่อย่างก็คือ
แทปจะบอกเราชัดเจนเลยว่า กดตรงนี้ๆนะ แต่ถ้าเป็นโน๊ต เราจะบอกไม่ได้โดยตรงว่าควรกดตรงไหน
เพราะโน๊ตตัวหนึ่งสามารถกดได้หลายที่ในคอกีต้าร์ เวลาอ่านโน๊ตก็ต้องเดาๆเอาว่า
น่าจะกดตรงนี้นะ
อย่างไรก็ตามการอ่านแทปก็จะมีข้อเสียอยู่
นั่นคือ แทปส่วนใหญ่จะไม่มีตัวบอกจังหวะกำหนดไว้ เช่น ตัวขาว ตัวดำ ตัวขเบ็ด
และการอ่านโน๊ตเป็นจะทำให้เรารู้ทฤษฎีในเบื้องต้น
และสามารถใช้ประยุกต์กับการเล่นให้หลากหลายขึ้นได้
ฉะนั้นถ้าถามผู้เขียนว่าการอ่านแทปกับการอ่านโน๊ตอันไหนดีกว่ากัน
ก็ตอบได้ว่า ทั้งคู่ครับ แต่ขั้นต้น การอ่านแทปอาจจะเหมาะกว่า เพราะได้ผลเร็ว
แต่สำหรับใครที่ต้องการพัฒนาฝีมือตัวเองให้เก่งขึ้น
ก็แนะนำว่าควรจะอ่านโน๊ตเป็นด้วยครับ
การอ่านแทป
"แทป"
จริงๆแล้วก็คือภาพของคอกีต้าร์ที่หงายหน้าขึ้นมาเท่านั้นเองครับ
โดยบรรดทัดบนสุดคือ สาย 1 ของกีต้าร์ ไล่เรื่อยลงมาจนบรรทัดที่ 6 (สาย 6), สาย 1
นั้นคือสายที่มีเสียงสูงที่สุด, ส่วนตัวเลขที่อยู่ในแต่ละบรรทัดนั้นคือ
เฟรตกีต้าร์ (Fret board) ซึ่งก็คือช่องที่อยู่ตามคอนั่นแหละครับ
ดูรูปประกอบด่านล่าง คิดว่าคงจะเห็นภาพได้ชัดเจน

สิ่งที่คุณจะพบอีกอย่างในการอ่าน Tab ก็คือ
ตัวเลขมากมายที่ปรากฏอยู่บนสายแต่ละเส้น
ซึ่งตัวเลขแต่ละตัวจะแทนการใช้นิ้วมือซ้ายกดสายกีตาร์ที่ช่องนั้นๆ บนคอกีตาร์ เช่น
เลข 0 = ไม่มีการกด , เลข
1 = กดช่องที่ 1 , เลข
2 = กดช่องที่ 2 เป็นต้น

การอ่านแท็บกีต้าร์
สายกีต้าร์จะถูกเขียนแทนด้วยเส้น 6 เส้น
เรียงเป็นลักษณะของสายกีต้าร์บนฟิงเกอร์บอร์ด และเส้นบนสุดคือสาย 1
ของกีต้าร์ไล่ลงมาเป็นสาย 2 สาย 3 สาย 4 สาย 5 สาย 6
และมีตัวเลขที่อยู่บนแท็บนั้นหมายถึงตำแหน่งช่องที่ต้องกดบนฟิงเกอร์บอร์ด
ของสายนั้นๆ ส่วนเลข 0 หมายถึง การดีดสายเปล่า
และถ้าตัวเลขที่อยู่บนเส้นอยู่ในตำแหน่งเดียวกันในแนวตั้งดังรูปให้ดีดพร้อมกัน
ส่วนใหญ่จะเป็นการตีคอร์ด หรือเล่นดีดประสาน และถ้าตัวเลขเรียงกันไปทางขวามือ
ให้ดีดทีละครั้งตามลำดับ
แบบฝึกเกาที่
1 ดีดตามจังหวะตก การนับจังหวะเหมือนเดิมนะครับ

เริ่มจากช้าๆก่อนนะครับให้นิ้วคุ้นกับตำแหน่งการดีดแล้วค่อยเพิ่มความเร็ว
เมื่อฝึกคล่องแล้วเราอาจจะเพิ่มความเร็วในการเล่น(ดีด) โดยการเล่นในจังหวะยก
แต่ความเร็วในการนับเท่าเดิม
สัญลักษณ์เบื้องต้นที่ใช้ใน TAB
h = hammer on
p = pull off
b = bend string up (ดันสายขึ้น)
r = release bend (ดันสายค้างไว้
ดีดแล้วจึงผ่อนสายลง)
/ = slide up (สไลด์ขึ้น)
\ = slide down (สไลด์ลง)
s = legato slide (การสไลด์ไปยังโน๊ตตัวอื่นโดยไม่ต้องดีดซ้ำ)
v, ~ = vibrato (ทำเสียงสั่น)
tr = trill (การรัวนิ้ว)
T = tap (การเล่น Tabping)
x = on rhythm muted slash (การให้จังหวะโดยทำเสียงบอด)
การไล่โน้ตทั้งคอกีต้าร์
พื้นฐานของโน็ตบนคอกีต้าร์
ความสำคัญอยู่ที่เสียง มาตรฐานของสายเปิดก่อน นั่นคือ เสียง ไล่จากสายที่ 1
ไปถึงสายที่ 6 จะต้องได้มาตรฐานเสียก่อน นั่นคือ E B G D A E หากยังไม่ได้ตั้งสาย
ก็อย่าเพิ่งไล่โน้ตครับ เพราะ มันเพี้ยนแน่ๆ ทีนี้การไล่โน้ต มันไล่ยังไง ไม่ยากครับ
ให้เราจำง่ายๆ ก่อนว่า มันมีตัวโน้ต ที่ มีช่วงห่าง 2 แบบ
1.ช่วงห่างโน้ต
1 เสียงเต็ม นั่นคือ นับจากตำแหน่งโน็ตอ้างอิงบนคอกีต้าร์ ไปอีก 2 ช่อง
2.ช่วงห่างโน้ต
1/2 เสียง นั่นคือ นับจากตำแหน่งโน้ตอ้างอิงบนคอกีต้าร์ ไปอีก 1 ช่อง
ข้อควรจำ
ถ้าเป็นช่วงห่างโน้ต แบบ 1 เสียงเต็ม หรือ 2 ช่อง แปลว่า ตอนนี้เรากำลังพูดถึง
ช่องทั้งหมด 3 ช่อง เจ้าช่องที่ 2
จะเป็นเสียง สูงขึ้นของช่องแรก ที่เรียกว่า เสียง ชาร์ป # และเป็นเสียงที่ต่ำลงของช่อง 3 หรือ b แฟล็ต
เรามาดูกันว่า
ปกติจะไล่โน้ตกันอย่างไร C D E F G A B C มีโน็ตติดกัน
เพียง 2 คู่เท่านั้น ที่ห่างกัน 1/2 เสียง นั่นคือ E F หรือ มีกับฟา และ BC หรือ ทีกับโด นอกนั้นห่างกัน เต็ม 1 เสียงหมดครับ
ต่อไปเรามาดูว่า
ตรง 3 ช่องแรกที่คอกีต้าร์นั้น มีโน้ตตัวใดประจำอยู่บ้าง ดังภาพนี้ครับ 
เราจะเห็นว่า
มีการไล่สายคือ สายที่ 1 - 6 โดยมีโน้ตประจำสายโดยไม่ต้อง กด คือ ดีที่สายนั้นเฉยๆ
ก็ได้โน้ตตัวนั้นเลย เช่น สายที่ 1 หรือสายล่างสุด เมื่อดีดเฉยๆ จะได้โน้ต ตัว มี
ในทันที แต่ที่สาย 1 นี้เมื่อกดที่ช่องที่ 1 จะได้ เสียงโน้ต F หรือ ฟา เมือกดช่องที่ 3 ของสายที่
1 จะได้ เสียง G ซอล
เป็นต้น
เมื่อเรามาดูที่สาย
4 และ 5 จะเห็นว่า มีกลุ่มตัวโน้ต EF และ BC ตามลำดับ
ซึ่งสอดคล้องกับ สิ่งที่เรารู้มาแล้วว่า โน้ต 2 คู่นี้เสียงต่างกัน 1/2 เสียง
นั่นเอง และจะเห็นว่ามันห่างกันเพียง 1 ช่องตรงกับที่เรารู้มาก่อนทุกประการ นี่คือแบบแผนที่แน่นอน ของดนตรีครับ
ดังนั้น หากเราจำ การไล่ลำดับตัวโน้ต ในแบบแผนนี้ ไว้ คือ C D E F G
A B C เราก็สามารถไล่โน้ตได้ทั่วคอกีต้าร์โดยไม่ต้องไปนั่งจำ
ให้ลองไล่แล้วเขียนลงบนกระดาษเอง จะทำให้เราจำได้เอง และอาจจะแบ่งเป็นส่วนต่างๆ
เพื่อทำให้การไล่ทำได้เร็วขึ้น
มาดูตัวอย่างการไล่โน้ต
บนคอกีต้าร์ บนสายที่ 1 กัน

หมายเหตุ:
การไล่โน้ต จะเห็นว่า สายที่ 1 และ สายที่ 6 มีตำแหน่งโน้ต เหมือนกัน คือ E
F G ที่ต้นคอ
ทำให้ตำแหน่งโน้ตอื่นๆ ที่ไล่จะเหมือนกันทุกประการ
เริ่มจากไหนก็กลับไปดูแบบแผนการไล่โน้ต
จากสายหนึ่ง มันเริ่มจากสายเปล่าโดนดีด ก็เป็นเสียง E หรือ มีก่อน จากนั้นกดช่องแรก จะได้เสียง F เรากลับไปดูที่ แบบแผน
จะเห็นว่า หลังจาก F ก็เป็น G คือ จาก ฟา
ก็มาเป็น ซอล ซึ่งมันเป็น ตัวโน้ตที่ห่างกัน 1 เสียงเต็ม ก็ไล่ไป 2 ช่อง ตรงตามภาพ
จากนั้น จาก G เป็นอะไรครับ
ก็ต้องเป็น A หรือ
ลา ใช่ไหม ห่างกัน 1 เสียงเต็มก็นับไปอีก 2 ช่อง เห็นไหมครับ ตามภาพ ไม่ยากเลย
จาก A ก็เป็น B หรือ ที
มันก็ห่างกัน 1 เสียงเต็ม ก็นับไปอีก 2 ช่อง ได้ ตำแหน่ง B ที่ช่อง 7 เรียบร้อย
เห็นไหมครับไม่ยากเลย
สายอื่นๆ
ก็ไล่แบบเดียวกัน เพียงระวังเอาไว้ว่า หากเป็นคู่โน้ต EF กับ BC มันจะห่างกันเพียง 1/2 เสียง
ก็นับห่างกันเพียง 1ช่อง ทำได้แบบนี้รับรองไล่ได้ทั้งคอครับ อยากรู้ตรงไหน ช่องไหน
สายไหน โน้ตอะไรก็ใช้หลักการนี้ครับ

ตัวเลขแสดงจังหวะ และ ห้อง
วันนี้จะเริ่มแนะนำการเรียนโน้ตในเบื้องต้น
แต่จะให้ ท่านดีดสายเปล่า ตัวโน้ต E ในสายที่
1. และ 6. กันก่อน โดย ให้แบ่งจังหวะออกเป็น 2 แบบ

รูปแบบที่ 1ดูในภาพประกอบไปด้วยครับ
จะเป็นการดีดลงอย่างเดียวครับ ในแบบที่ 1 ให้ทำดังนี้ ท่านจะเห็นเลข 4 / 4
นั่นหมายถึง ใน 1 ห้อง มี 4 จังหวะ จากนั้นให้ดีดดังนี้ 1 2 3 4 พร้อมนับดังๆ
นะครับ หนึ่ง สอง สาม สี่ พยายามนับและดีดให้พร้อมกัน และควรตบเท้า ตามไปพร้อมๆ
กันด้วย จะเห็นว่า มี 4 ห้องก็ทำให้ครบ ช้าๆ โดยให้เน้น ที่เลข 1
ให้เสียงดังกว่าเพื่อน และดีดแรงกว่าเพื่อนด้วย จะทำให้
เราคุ้นเคยจังหวะได้ดีกว่าครับ
เคล็ดลับ
1.ได้มาจากอาจารย์ของผม
การนับ 1234 นี้ จะแม่นมาก ต้องมี เมโทรนอม ครับ ตั้งความเร็วสัก 55 ตอนแรก พอได้ก็เลื่อนมา
60 แล้ว พยายามทำให้ได้ 80 จะทำให้เราเก่งขึ้น ต้องลงตรงกับเสียง ติ๊กๆๆๆ
ในทุกจังหวะครับ
2.ใครไม่มี
เมโทรนอม ให้ดูเข็มนาฬิกาก็ได้ครับ วินาทีละ 1 จังหวะ หรือ 2 วินาที 1 จังหวะ
ก็ได้
รูปแบบที่ 2 จะเห็นว่ามีเลข 3/4 แปลว่า มี 3จังหวะใน
1 ห้องครับ ก็ฝึกเหมือนกัน เพียง แต่ต้องปรับเมโทรนอม เป็น แบบ 3
จังหวะเท่านั้นเอง
ฝึกทั้งสองสาย
ให้คล่อง ให้เวลากับบทเรียนนี้สัก 2-3 วันครับ วันละ 15-20 นาที พอแล้ว
จากนั้นค่อยไปบทเรียนต่อไป เน้นแน่นๆ ครับ อย่ารีบ