Search
 
NEWS
 

ด้วงจอมขยันแห่งโคลอมเบียช่วยกู้วิกฤตขยะ 

 
 
ปัญหาขยะจากเศษอาหารยังเป็นประเด็นที่หลายพื้นที่ทั่วโลกหาทางแก้ไข แต่ในโคลอมเบีย ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมได้เริ่มต้นโครงการเล็ก ๆ ที่ใช้ด้วงเป็นผู้ช่วยกู้วิกฤตนี้บ้างแล้ว เกอแมง เวียซัส ตีบาโมโซ่ วิศวกรด้านสิ่งแวดล้อมชาวโคลอมเบีย ได้ทดลองใช้ตัวอ่อนของด้วงสีเหลืองดำในการเปลี่ยนเศษอาหารให้กลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ตามธรรมชาติ แมลงตัวเล็ก ๆ ที่สามารถเติบโตได้ยาวถึง 17 เซนติเมตรนี้ มีวงจรชีวิตที่ซับซ้อน และมีคุณประโยชน์อย่างน่าทึ่งในหมู่มนุษย์ที่เพาะพันธุ์และสะสมพวกมัน เวียซัสเปิดบริษัทชื่อเทียร่า วีว่า ในพื้นที่ชนบทที่อยู่รอบ ๆ เมืองตุงคา ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ห่างจากเมืองหลวงโบโกตา ของโคลอมเบียไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 150 กิโลเมตร จุดเริ่มต้นของการค้นพบหนทางย่อยสลายขยะเศษอาหารด้วยตัวอ่อนแมลงนี้ เริ่มมาจากความล้มเหลวในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยหนอนของเวียซัส ในตอนนั้นเขาพบตัวอ่อนของด้วงในถุงดินที่ยังเหลืออยู่ จึงลองใช้ตัวอ่อนนั้นแทน โดยเขาได้นำเศษอาหารจำนวนมากที่รวบรวมจากชุมชนใกล้เคียงมากระจายไว้ในร่องน้ำคอนกรีตและกลบด้วยดิน จากนั้นจึงนำตัวอ่อนของด้วงฝังลงไปในดิน เขาพบว่า ด้วงตัวอ่อนเหล่านั้นเคี้ยวเศษขยะ และจุลินทรีย์ที่ย่อยอาหารในตัวพวกมันได้เปลี่ยนขยะเหล่านั้นให้เป็นปุ๋ยที่อุดมไปด้วยไนโตรเจนและฟอสฟอรัส หลังจากผ่านกระบวนการดังกล่าวไปประมาณสี่เดือน ดินดังกล่าวจะต้องผ่านตัวกรองที่แยกปุ๋ยออกจากตัวอ่อน ซึ่งกำลังจะกลายเป็นด้วงตัวเต็มวัย หลังจากนั้น ด้วงที่โตเต็มวัยจะเข้าสู่ช่วงการผสมพันธุ์และไข่ของพวกมันจะนำไปใช้ในกระบวนการแบบเดิมอีกทอดหนึ่ง แต่ใช่ว่าด้วงทุกตัวจะมีเส้นทางที่เหมือนกันทั้งหมด เพราะบางตัวมุ่งหน้าไปยังห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ และบางตัวได้พบกับเส้นทางใหม่ ที่ต้องข้ามฟ้าข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกไปถึงดินแดนอาทิตย์อุทัย ซึ่งสำหรับญี่ปุ่นแล้ว การเลี้ยงด้วงเป็นสัตว์เลี้ยงคู่กายได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่ง และบางครั้งมีการจำหน่ายด้วงในฐานะสัตว์เลี้ยง ตามร้านค้าออนไลน์อย่างแอมะซอนอีกด้วย เทียร่า วีว่า ส่งออกแมลง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นด้วงกว่างเฮอร์คิวลีส มาตั้งแต่ปี 2004 ซึ่งเวียซัส กล่าวว่าด้วงเหล่านี้มีราคาสูงถึงตัวละ 150 ดอลลาร์ หรือราว 5,300 บาทเลยทีเดียว ในปีนี้ ทางบริษัทได้ส่งออกด้วงราว 100 ตัวไปยังกรุงโตเกียว ของญี่ปุ่น ซึ่งลดลงจากปีที่แล้วที่ส่งไป 300 ตัว โดยบริษัทจะบรรจุด้วงลงในกล่องพลาสติกขนาดเล็ก ที่มีช่องอากาศและอาหารอยู่ในนั้น   ทั้งนี้ การจำหน่ายด้วงมักจะอยู่ในรูปสกุลเงินดิจิทัลที่เรียกว่า “Kmushicoin” ซึ่งเป็นคำในภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่าแมลงปีกแข็ง เวียซัส ในวัย 52 ปี กล่าวว่า โครงการนี้เป็นเรื่องที่ยากมากในโคลอมเบีย เพราะไม่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐหรือหน่วยงานอื่นใด ในขณะที่โครงการเช่นนี้ในประเทศอื่น ๆ ของโลก มักจะได้รับความช่วยเหลือมากมาย เขาทิ้งท้ายด้วยความหวังว่า โครงการนี้จะเติบโตและประสบความสำเร็จไปอีกศตวรรษหนึ่ง และบางทีอาจใช้ปุ๋ยจากด้วงเหล่านี้ในโครงการปลูกป่าได้อีกด้วย ที่มา: เอพี - READ MORE
By thai@voanews.com (AP)
Fri, 02 Dec 2022 05:33:07 +0700
 
PREVIOUS NEXT
Tagged:
ADD COMMENT
Topic
Name
9+6 =