เครื่องมือแสดงการเคลื่อนไหวของระดับราคา
DIRECTIONAL MOVEMENT INDEX
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิคอย่างหนึ่ง ที่มีลักษณะคล้าย OSCILLATOR ซึ่งใช้ประกอบ หรือยืนยันกับเครื่องมือทางเทคนิคตัวอื่น ๆ โดยเฉพาะกับการหาแนวโน้มของการเคลื่อนไหวของระดับราคา โดยการคำนวณหาค่า DIRECTIONAL MOVEMENT INDEX หากค่าที่หาออกมาได้มีค่ามาก แสดงว่ามีแนวโน้มที่ชัดเจน โดยค่าที่คำนวณออกมานี้จะอยู่ในช่วงระหว่าง 0-100 เท่านั้น
การคำนวณหาค่า DIRECTIONAL MOVEMENT INDEX มีสูตรดังต่อไปนี้
+DI = +DMN
TRN
หรือ
-DI = -DMN
TNN
+DMN ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของ +DM ณ เวลาปัจจุบัน
+DM ราคาสูงสุดในปัจจุบัน – ราคาสูงสุดของวันก่อน
-DMN ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของ -DM ณ เวลาปัจจุบัน
-DM ราคาต่ำสุดในปัจจุบัน – ราคาต่ำสุดของวันก่อน
TRN ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ช่วงที่เป็นจริงที่มีค่ามากที่สุดจาก
ผลต่างระหว่างราคาสูงสุดวันนี้ กับต่ำสุดวันนี้
(Hightoday – Lowtoday)
ผลต่างระหว่างราคาสูงสุดวันนี้ กับราคาปิดเมื่อวันนี้
(Hightoday – Closeyesterday)
ผลต่างระหว่างราคาปิดเมื่อวานนี้ กับราคาต่ำสุดของวันนี้
(Closeyesterday – Lowtoday)
การคำนวณหา DM
ค่า DM จะเป็นค่า + หรือ – เท่านั้น โดยการหาค่า +DM หรือ -DM จะเกิดขึ้นจาก 3 กรณี ดังนี้
- ราคาสูงสุดของวันปัจจุบัน (C) สูงกว่าราคาสูงสุดของวันก่อน (A) และราคาต่ำสุดของวันปัจจุบัน (D) สูงกว่าราคาต่ำสุดของวันก่อน (B) ค่า C+A จะเป็นค่า +DM
- ราคาสูงสุดขงวันปัจจุบัน (C) ต่ำกว่าราคาสูงสุดของวันก่อน (A) และราคาต่ำสุดของวันปัจจุบัน (D) ต่ำกว่าราคาต่ำสุดของวันก่อน (B) ค่า D-8 จะเป็นค่า -DM
- ราคาสูงสุดของวันปัจจุบัน (C) สูงกว่าราคาสูงสุดของวันก่อน (A) และราคาต่ำสุดของวันปัจจุบัน (D) ต่ำกว่าราคาต่ำสุดของวันก่อน (B) สามารถพิจารณาได้ 2 กรณี
-ถ้าผลต่างของราคาสูงสุดมากกว่าผลต่างของราคาต่ำสุด ค่า C-A จะเป็น +DM
-ถ้าผลต่างของราคาต่ำสุด มากกว่าผลต่างของราคาสูง ค่า D-B จะเป็น -DM
หมายเหตุ : ในกรณีที่ระดับราคาสูงสุดของวันปัจจุบันเท่ากับ หรือต่ำกว่าราคาสูงสุดของวันก่อน และราคาต่ำสุดของวันปัจจุบัน เท่ากับหรือสูงกว่า ราคาต่ำสุดของวันก่อน จะไม่มีค่า DM หรือเรียกว่า ZERO DM
การหาค่า DI
เมื่อได้ค่า DM มาแล้วก็จะสามารถคำนวณหาค่าความสัมพันธ์ของ DIRECTIONAL MOVEMENT โดยการคำนวณหาค่า DIRECTIONAL INDICATIOR (DI) จากสูตรข้างต้น
ขั้นต่อไปเพื่อให้ค่า DIRECTIONAL INDICATOR เป็นเครื่องมือที่มีความหมายน่าเชื่อถือมากขึ้น เราก็จะคำนวณหาค่า DI 14 วัน หรือ DI 14 เหตุที่ใช้ค่า 14 วัน เพราะว่านาย J. Wells Wilder ซึ่งเป็นผู้คิดค้นทฤษฎีนี้ได้ทดลองค่าจากเวลาที่ต่างกัน จนกระทั่งเขาพบว่าการใช้ระยะเวลาเท่ากับ 14 วันนั้นจะให้ค่าที่เหมาะสมและถูกต้องมากที่สุด จากนั้นเราจะได้ค่า +DI14 และ -DI14
หลักการวิเคราะห์
จากการคำนวณหาค่า DIRECTIONAL MOVEMENT INDEX (DI)
เมื่อนำค่า DI มาวาดกราฟ หากเส้น +DI14 ตัดเส้น -DI14 ขึ้นไป (การเคลื่อนที่ในทางบวกมากกว่าทางลบ) ถือเป็นสัญญาณซื้อ (BUY SIGNAL) เพราะแสดงถึงราคามีแนวโน้มขึ้น
ในทางตรงกันข้ามถ้าเส้น +DI14 ตัดเส้น -DI14 ลงมา (การเคลื่อนที่ในทางลบมากกว่าทางบวก) ถือเป็นสัญญาณขาย (SELL SIGNAL) เพราะแสดงถึงราคามีแนวโน้มลง