อุปาสกัตตเทสนา
รูปอาศัย , รูปที่เกิดสืบเนื่องจากมหาภูตรูป , อาการของมหาภูตรูปตามหลักฝ่ายอภิธรรมว่า มี ๒๔ คือก. ประสาท หรือ ปสาทรูป ๕ ได้แก่ จักขุ ตา , โสต หู , ฆาน จมูก , ชิวหา ลิ้น , กาย , มโน ใจ ข. โคจรรูป หรือ วิสัยรูป (รูปที่เป็นอารมณ์) ๕. ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (โผฏฐัพพะ ไม่นับเข้าจำนวน เพราะตรงกับปฐวี เตโช วาโย ซึ่งเป็นมหาภูตรูป) ค. ภาวรูป ๒ ได้แก่ อิตถีภาวะ ความเป็นหญิง และปุริสภาวะ ความเป็นชาย ง. หทัยรูป ๑ คือ หทัยวัตถุ หัวใจ จ. ชีวิตรูป ๑ คือ ชีวิตินทรีย์ ภาวะที่รักษารูปให้เป็นอยู่ ฉ. อาหารรูป ๑ คือ กวฬิงการาหาร อาหารที่กินเกิดเป็นโอชา ช. ปริจเฉทรูป ๑ คือ อากาศธาตุ ช่องว่าง ญ. วิญญัติรูป ๒ คือ กายวิญญัติ ไหวกายให้รู้ความ วจีวิญญัติ ไหววาจาให้รู้ความ คือพูดได้ ฎ. วิการรูป ๕ อาการดัดแปลงต่างๆ ได้แก่ลหุตา ความเบา , มุทุตา ความอ่อน , กัมมัญญตา ความควรแก่งาน , (อีก ๒ คือ วิญญัติรูป ๒ นั่นเอง ไม่นับอีก) ฏ. ลักขณรูป ๔ ได้แก่ อุปจยะ ความเติบขึ้นได้ , สันตติ สืบต่อไปได้ , ชรตา ทรุดโทรมได้ , อนิจจตา ความสลายไม่ยั่งยืน (นับโคจรรูปเพียง ๔ วิการรูปเพียง ๓ จึงได้ ๒๔); ดู มหาภูติ ด้วย