การตรวจงานก่อสร้างด้วยตนเอง
– งานวางผัง
ผังก่อสร้างที่วางไว้สัมพันธ์กับทิศทางแดดลม วิวแนว อาคารข้างเคียง ถนน หรือคูคลอง ตลอดจนต้นไม้ใหญ่เดิมที่ มีอยู่ และขนาดต่างๆ ถูกต้องตามแบบหรือไม่
– งานเสาเข็ม
เข็มต้องตรงไม่โค้งงอหรือมีรอยแตกร้าว เนื้อคอนกรีต เข็มต้องไม่ยุ่ยหรือร่วน ในขณะทำการตอกเข็มต้องได้ดิ่ง หาก จำเป็นต้องใช้เข็มต่อควรใช้วิธีต่อที่ได้มาตรฐาน
ตำแหน่งศูนย์กลางเข็มต้องตรงตามที่แบบโครงสร้างระบุระยะไว้
– งานฐานราก
ขุดดินโคลนออกจากก้นหลุม หากมีน้ำต้องสูบออก ใส่ ทรายเทคอนกรีตหยาบก่อนเทคอนกรีตฐานราก ต้องล้างหัวเข็ม ให้สะอาด ตรวจสอบขนาด ,ตำแหน่งเข็มว่าศูนย์กลางเข็มได้ระยะตามแบบโครงสร้าง
และสัมพันธ์ถูกต้องกับขนาดฐานรากหรือไมและตรวจสอบ่ระยะตะแกรงเหล็กฐานราก
– งานคอนกรีต
คอนกรีตเป็นวัสดุโครงสร้างที่มีส่วนผสมประกอบ ด้วยปูนซีเมนต์ ทราย หิน และน้ำ ในสัดส่วนที่พอเหมาะ โดยมีคุณสมบัติที่เหมาะสม ดังนี้
1. ปูนซีเมนต์ ต้องเป็นปูนซีเมนต์ใหม่ ไม่เป็นเม็ด เนื่องจากได้รับความชื้น
2. ทราย เป็นทรายหยาบ เม็ดแข็ง มีเหลี่ยมคม ขนาด 2-3 มม. สะอาด ไม่มีวัสดุอื่นเจือปน เช่น ดิน ใบ ไม้ เป็นต้น
3. หิน เป็นชนิดแข็ง ไม่ผุกร่อน มีขนาดเล็กใหญ่ คละกัน ไม่มีวัสดุอืนเจือปน
4. น้ำ เป็นน้ำสะอาด ปราศจากกรด ด่าง เกลือ น้ำมัน และน้ำตาล
โดยปกติงานโครงสร้างทั่วไป อัตราส่วนผสม ปูน : ทราย : หิน = 1 : 2 : 4 โดยปริมาตรและต้องผสมน้ำพอ ประมาณ ให้คลุกเคล้าส่วนผสมต่างๆ ได้ทั่วถึงเท่านั้น แต่ไม่ ผสมน้ำมากเกินไปจนทำให้เสียกำลัง ในการเทคอนกรีตควร ทำให้คอนกรีตอัดตัวแน่นโดยทั่วถึงกัน แบบหล่อคอนกรีต ต้องสนิทแน่น เพื่อป้องกันการรั่วไหลของน้ำปูนซีเมนต์
– งานผูกเหล็ก
เหล็กเส้นเมนที่ใช้ควรเป็นเหล็กที่ได้มาตรฐานเป็น เหล็กรีดใหม่ ซึ่งมักเป็นเหล็กข้ออ้อย ไม่ควรใช้เหล็กรีดซ้ำ การจัดวางเหล็กเสริมจะต้องวางให้ถูกตำแหน่ง และมีที่รอง รับที่แข็งแรงพอ การต่อดามเหล็กอาจใช้วิธีทาบกันและผูก ด้วยลวด ระยะทาบไม่ควรน้อยกว่า 40 เท่าของเส้นผ่าน ศูนย์กลางเหล็ก
– งานไม้
ไม้โครงสร้างต่างๆ ที่มองเห็นด้วยตา เช่น ไม้เชิง ชาย ไม้ระแนงฝ้าชายคา เป็นต้น จะต้องไสและใช้กบผิว เก็บเสี้ยนไม้ให้เรียบร้อย โดยเฉพาะไม้บันไดจะต้องทำด้วยความประณีตและควรทาน้ำยากันปลวก
โดยเฉพาะโครงไม้ในส่วนที่จะถูกปิดและมองไม่เห็นในภายหน้า
– งานหลังคา
แยกออกเป็น 2 ส่วน คือ งานโครงหลังคา และ งานมุงกระเบื้องหลังคา
1. งานโครงหลังคา มีทั้งโครงหลังคาไม้และเหล็ก จะต้องตรวจดูขนาด ความหนา ระยะระแนง และจันทัน ใน กรณีที่เป็นไม้ ตัวระแนงและจันทันจะต้องไม่คดงอ ในกรณี ที่เป็นเหล็กจะต้องตรวจดูรอยเชื่อม พร้อมทั้งทาสีกันสนิมให้ ทั่วทุกซอกมุม
2. งานมุงกระเบื้องหลังคา เนื่องจากหลังคาเป็นจุด อ่อนของบ้านที่อาจจะต้องซ่อมแซมภายหลัง ถ้าหากก่อสร้าง ไม่ถูกวิธี ดังนั้น การมุงกระเบื้อง การทำทับหลัง สันตะเข้ ครอบต่างๆ จะต้องปฏิบัติตามวิธีการที่ถูกต้องของผู้ผลิตกระ เบื้อง โดยทั่วไปในปัจจุบัน บริษัทผู้ผลิตกระเบื้องจะมีช่างผู้ ชำนาญรับมุงกระเบื้องให้ พร้อมรับประกันผลงานด้วย
– การก่ออิฐ
ก่อนก่ออิฐจะต้องมีเหล็กยื่นจากเสา เพื่อประสาน ผนังให้เชื่อมต่อกับเสาได้ดี อิฐที่นำมาก่อต้องทำให้อิ่มน้ำ ก่อน ให้เริ่มก่ออิฐจากตอนมุมเสาก่อน และต้องจับดิ่งตอน มุมไว้เสมอ รวมทั้งรักษาแนวก่อโดยขึงเอ็นไว้ การก่อผนัง สูงๆ ควรก่อไม่เกิน 1.20 เมตร ทิ้งผนังให้ปูนก่อแข็งตัว ก่อนแล้วจึงก่ออิฐต่อได้ เมื่อก่ออิฐถึงใต้ท้องคานให้เว้นระยะ 1 1/2-2 ซม. ก่อนฉาบผนังจะต้องอัดปูนทรายล่วงหน้าอย่าง น้อย 1 วัน โดยอัดทั้งสองข้างเพื่อป้องกันการแตกร้าว กรณี ที่ผนังก่ออิฐสูงเกิน 3 เมตร ต้องมีทับหลัง ค.ส.ล. แบ่งครึ่ง ความสูง และผนังอิฐที่กว้างเกิน 4 เมตร จะต้องมีเสาเอ็น ค.ส.ล. แบ่งครึ่งกำแพง
– การฉาบปูน
ก่อนการฉาบปูนจะต้องทำการจับเซี้ยมหรือการฉาบ มุมเสา คาน ด้วยปูนเค็ม ก่อนการฉาบผนังอิฐต้องรดน้ำให้ ชุ่มเสมอ เมื่อทำการฉาบปูนเสร็จเรียบร้อยแล้วต้องไม่มีรอย แตกร้าว แนวเสาคานผนังจะต้องได้ดิ่ง ฉาก ระยะ ขนาดของ เสาคานจะต้องเท่ากันอย่างสม่ำเสมอตลอดแนว ผนังที่ถูกแดด มากๆ หลังวันฉาบจะต้องรดน้ำติดต่อกันอย่างน้อย 3 วัน เพื่อ กันการแตกลายงา
– งานวัสดุผิวพื้น-ผนัง
1. ดูราฟลอร์ พรมทอ ก่อนการปูพรม ต้องทำความ สะอาดบริเวณเสียก่อน ผิวพื้นที่จะปูต้องขัดมันเรียบได้ระดับ ไม่เป็นหลุมเป็นบ่อเล็กๆ เมื่อปูเสร็จแล้วจะต้องเรียบไม่เห็น รอยต่อหรือรอยย่น
2. ไม้ปาร์เก้ ต้องปูแน่นสนิท รอยต่อไม่ควรห่างเกิน กว่า 2 มม. หากมีรอยแยกที่ใหญ่กว่าต้องอุดด้วยขี้เลื่อยผสม กาวพร้อมกับสีให้เรียบร้อย การติดไม้บัวเชิงผนังต้องให้แนบ สนิทกับผนัง
3. กระเบื้องเซรามิคพื้น-ผนัง ผิวหน้าผนังหรือพื้นที่ ใช้กรุ ปู ต้องหยาบแต่เรียบเสมอ หรือขีดผิวหน้าไว้ ผนัง พื้นได้ดิ่งระดับ ควรแช่กระเบื้องในน้ำก่อนจะนำมาปู แนวต่อ กระเบื้องควรเป็นเส้นตรงพอสมควร อุดรอยต่อด้วยซีเมนต์ ขาวให้เรียบร้อย ไม่มีรูหรือช่องว่าง หรือตุ่มปูนเห็นได้ชัดใน กรณีปูกระเบื้อง พื้นต้องมีความลาดเอียงให้น้ำไหลคล่อง ทด สอบได้โดยเทน้ำลงพื้นห้องน้ำ แล้วสังเกตุดูการไหลของน้ำไป ทางตะแกรงระบายน้ำหรือไม่
4. ซีเมนต์ขัดมัน เนื่องจากพื้นขัดมัน อาจเตรียมไว้ สำหรับปูพรม PVC พรมทอ ปูปาร์เก้ เป็นต้น เพราะฉะนั้น พื้นที่เป็นซีเมนต์ขัดมันต้องเรียบไม่เป็นหลุมหรือแอ่ง
5. กรวดล้าง พื้นกรวดล้างต้องไม่มีรอยแตกแยก หากมีการตีเส้น เส้นนั้นต้องตรงและมีความสม่ำเสมอ
– ฝ้าเพดาน
ฝ้าเพดานมีทั้งโครงเคร่าไม้ อลูมิเนียม เหล็กชุบสัง กะสี ไม่ว่าจะเป็นชนิดใด โครงเคร่าจะต้องวางให้ได้ระดับ ตัวที่ยึดโยงไปยังโครงหลังคาต้องไม่ยืดตัว เมื่อรับน้ำหนัก ซึ่งจะทำให้ฝ้าตกท้องช้างหรือโก่งได้ รอยต่อของวัสดุที่ใช้ทำ ฝ้าต้องแนบสนิทเป็นแนวตรง ในกรณีที่เป็นยิบซั่มบอร์ดตรง รอยต่อต้องฉาบต่อด้วยผ้าเทปแล้วขัดให้เรียบเสมอกัน หาก มีไม้มอบฝ้า การต่อไม้ตรงมุมต้องต่อโดยตัดมุม 45 องศา เสมอ แล้วทำการแต่งให้เรียบเสมอ
– การติดตั้งวงกบและบานประตูหน้าต่าง
วงกบหลังจากติดตั้งแล้วต้องได้ดิ่งและระดับยึดติด แน่นกับเสาและคานเอ็น การติดบานประตู หน้าต่าง ต้อง เลื่อนหรือเปิด-ปิดได้คล่องไม่ติดขัด การไสแต่งขอบประตู -หน้าต่างให้เข้ากับวงกบ จะต้องเผื่อความหนาของสีที่จะทา ไว้ด้วย เพราะมิฉะนั้นเมื่อทาเสร็จแล้วประตูหรือหน้าต่าง จะ คับเกินไป สำหรับประตูไม้อัด ต้องตรวจสอบก่อนการติดตั้ง ว่าบานไหนใช้แบบกันน้ำหรือไม่ โดยดูที่ขอบประตู จะปั๊ม ตัวหนังสือสีแดง (กันน้ำ) หรือสีน้ำเงิน (ไม่กันน้ำ) การติด บานพับจะต้องรับน้ำหนักได้เพียงพอกับน้ำหนักของบาน รู กลอนต้องให้ใส่กลอนได้สะดวก โดยแต่งรูกลอนให้เรียบ ร้อยและแข็งแรง กระจกต้องอัดพุตตี้ให้แน่น เพื่อป้องกันน้ำ และเสียงจากการสั่นสะเทือน ซึ่งตรวจได้โดยเคาะเบาๆ แล้ว ฟังเสียง
– การทำบ่อเกรอะ-บ่อพัก-บ่อซึม
ที่บ่อเกรอะจะต้องมีฝาทองเหลืองท่อส้วมจากห้องน้ำ จะต้องวิ่งเข้าที่ถังส้วมวงแรกของบ่อเกรอะ ส่วนท่อที่เชื่อมระ หว่างบ่อเกรอะและบ่อพักจะอยู่ระดับกลางวงที่ 2 สำหรับท่อ จากบ่อพักไปยังบ่อซึม จะเดินจากระดับถังส้วมวงแรกของบ่อ พัก โดยให้ระดับท่ออยู่ต่ำกว่าระดับท่อส้วมจากห้องน้ำเล็ก น้อย บ่อเกรอะ และบ่อพักให้วางติดกันได้ แต่บ่อซึมจะต้อง ห่างจากบ่อพักอย่างน้อย 2 เมตรและรอบๆ จะต้องใส่อิฐหัก กว้างเป็นวง 0.50 เมตร เพื่อให้น้ำเสียระบายออกได้ง่าย
– การวางท่อระบายน้ำรอบบริเวณบ้าน
ท่อระบายน้ำใช้ท่อกระเบื้องใยหินเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 นิ้ว วางลาดเอียงไปหาทางหน้าบ้านโดยใช้ความลาด 1 : 200 บ่อพักสำเร็จรูปวางห่างกันไม่เกิน 8.00 เมตร ก่อนวาง บ่อพักจะต้องเทฐานคอนกรีตก่อนเสมอแล้วแต่งให้เรียบ สำ หรับส่วนบนของบ่อพักหากอยู่ต่ำกว่าระดับดินมากจะต้องก่อ เสริมให้สูงขึ้นและฉาบปูนเรียบโดยให้ต่ำกว่าระดับดินประ มาณ 1 นิ้ว
– งานติดตั้งสุขภัณฑ์-ประปา
การติดตั้งสุขภัณฑ์และอุปกรณ์ต้องได้ดิ่งและฉาก สุขภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ติดกับผนังต้องใช้ Expansion Plug ยึด ควรทดสอบการทำงานของชักโครก โถส้วมท่อระบายน้ำ ทิ้งต่างๆ ทุกชั้น พร้อมทั้งตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ ประปาให้ถูกต้อง
– ไฟฟ้า
โดยปกติจะมีเจ้าหน้าที่ของการไฟฟ้ามาตรวจมาตร ฐานการเดินสายอยู่แล้ว สิ่งที่ควรตรวจสอบเพิ่มเติมคือ ตรวจ สอบดวงโคมต่างๆ ว่าติดตั้งเรียบร้อย การเปิด-ปิดสวิทซ์ถูก ต้อง การตรวจปลั๊กไฟควรมีชุดสายไฟติดหลอดไฟ พร้อมเต้า เสียบไว้ทดลองให้ครบทุกปลั๊ก
– งานสี
ควรตรวจสอบชนิด คุณภาพสีว่าตรงตามรายการก่อ สร้างหรือไม่ พื้นที่ที่จะต้องทาสีต้องขูดแต่งโป๊ ปัดฝุ่นทำความ สะอาดและต้องแห้งสนิท มิฉะนั้นสีจะซีดหรือด่างในภายหลัง การทาสีทับหน้าจะทาได้เมื่อสีรองพื้นแห้งสนิทแล้ว และต้อง ทาอย่างน้อย 2 ครั้ง เมื่อทาสีเสร็จแล้วสีต้องเรียบ ไม่มีรอย แปรง รอยด่าง การทาสีน้ำมันต้องขัดผิวไม้ให้เรียบ โป๊แต่ง รอยแตกแล้วจึงทาสี
– ถนนและทางเข้าบ้าน
พื้นถนนต้องไม่มีเศษปูนติดอยู่มากหรือเป็นก้อนใหญ่ เกินไป พื้นถนนและขอบต้องไม่เป็นบ่อหรือแตกร้าว
– รั้วและประตูรั้ว
แนวรั้วตรง ความสูงถูกต้อง ประตูรั้วทาสีเรียบร้อย การเปิด-ปิดประตูรั้วสะดวก ไม่ติดขัด ที่พื้นถนน กุญแจต้อง เปิด-ปิดสะดวก
– เก็บกวาดทำความสะอาดตกแต่งพื้นที่
หลังจากเสร็จงานต้องขนย้ายเศษไม้ออกจากบริเวณ บ้าน เกลี่ยกลบดินรอบๆ พื้นที่ ให้ได้ระดับ กองหิน กอง ทราย ขนออกหรือเกลี่ยลงในบริเวณที่ต่ำ และถมดินเพิ่มเติม ให้ได้ระดับ รื้อโรงงานชั่วคราวออกนอกบริเวณ เก็บกวาดทำ ความสะอาดทั้งภายในและภายนอกให้เรียบร้อย