การประหยัดพลังงานใน “ที่ทำงาน”
“ที่ทำงาน” มีการใช้พลังงานหลายรูปแบบมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะของกิจการ
ซึ่งเจ้าของกิจการหรือแม้แต่พนักงานทุกระดับสามารถประหยัดพลังงานได้ โดยมีแนวทางการ
ประหยัดพลังงาน ดังนี้
แนวทางการประหยัดพลังงาน
แนวทางที่พนักงานทุกระดับควรปฏิบัติเพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงานในที่ทำงานแยก เป็น 3 ระบบหลักๆ คือ ระบบปรับอากาศและระบายอากาศ ระบบไฟฟ้าแสงสว่างอุปกรณ์ อื่นๆ
ระบบปรับอากาศและระบายอากาศ
(ใช้ไฟฟ้าประมาณร้อยละ 60 ของการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งหมดในอาคาร) ระบบปรับอากาศมีหลายชนิด แต่ที่ใช้กันมากในอาคารสถานที่ทำงาน มักจะเป็นเครื่อง ทำน้ำเย็นแบบศูนย์ระบายความร้อนด้วยน้ำและเครื่องปรับอากาศแบบชุดระบายความร้อนด้วย อากาศหรือน้ำ
1. ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ
(ประหยัดการใช้พลังงานของระบบปรับอากาศได้ร้อยละ 5-10)
– การลดชั่วโมงการทำงาน
ปิดเครื่องทำน้ำเย็นซึ่งใช้ไฟฟ้ามาก ก่อนเวลาเลิกงาน 15-30 นาที เนื่องจากน้ำ เย็นในระบบยังมีความเย็นเพียงพอ ปิดเครื่องส่งลมเย็น หรือเครื่องปรับอากาศแบบชุด ในเวลาพักเที่ยง หรือในบริเวณ ที่เลิกใช้งาน ปิดพัดลมระบายอากาศในห้องน้ำหลังเลิกงานและวันหยุด
– ปรับตั้งอุณหภูมิเทอร์โมสตัทให้เหมาะสม
ตั้งอุณหภูมิที่ 78 ํ F (25 ํ C) ในบริเวณที่ทำงานทั่วไปและพื้นที่ส่วนกลาง
ตั้งอุณหภูมิที่ 75 ํ F (24 ํ C) ในบริเวณพื้นที่ทำงานใกล้หน้าต่างกระจก
ตั้งอุณหภูมิที่ 72 ํ F (22 ํ C) ในห้องคอมพิวเตอร์
การปรับอุณหภูมิเพิ่มทุกๆ 1 ํ C จะช่วยประหยัดพลังงานร้อยละ 10 ของเครื่องปรับอากาศ
– ในกรณีที่มีเครื่องทำน้ำเย็นติดตั้งแบบขนานกันหลายเครื่อง ไม่ควรเดินเครื่องทำน้ำเย็นที่เป็นเครื่องสำรอง ในขณะที่ยังมีภาระทำความเย็นต่ำ (เช่นในวันนั้นมีคนมาทำงานจำนวนน้อย อากาศนอกอาคารเย็น หรือมีฝนตก) เพื่อที่จะทำให้ ระบบมีประสิทธิภาพสูงสุด และควรปิดวาล์วน้ำเย็นและน้ำหล่อเย็นที่เข้าและออกจากเครื่องทำ น้ำเย็นสำรองนั้น
– ควรบำรุงรักษาอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอโดยการตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ การทำ ความสะอาด และตรวจสอบรอยรั่วตามขอบกระจกและผนังทุก 3-6 เดือน
2. ปรับปรุงและติดตั้งอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน
(ประหยัดการใช้พลังงานของระบบปรับอากาศได้ร้อยละ 10-25)
– ปรับปรุงในส่วนระบบน้ำเย็น
- ควรเลือกเครื่องทำน้ำเย็นที่มีประสิทธิภาพสูง (ค่ากิโลวัตต์ต่อตันต่ำ) และเลือกจำนวนเครื่องให้ทำงานได้ค่าประสิทธิภาพสูงที่ภาระสูงสุดและภาระต่ำสุด
- ติดตั้งเครื่องปรับอากาศขนาดเล็กแบบแยกส่วนที่มีค่า EER สูง (เบอร์5) สำหรับบริเวณที่มีการทำงานในช่วงเย็น หรือในวันหยุด เพื่อลดชั่วโมงทำงานของเครื่องทำน้ำเย็น
- ปรับปรุงฉนวนท่อน้ำเย็น เพื่อลดความร้อนที่ถ่ายเทเข้าไปสู่น้ำเย็น ซึ่งช่วยให้เครื่องทำน้ำเย็นใช้ไฟฟ้าลดลง
* EER : Energy Efficiency Ratio (อัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงาน)– ปรับปรุงในส่วนระบบลมเย็น
- ใช้เทอร์โมสตัทชนิดอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีความแม่นยำในการควบคุมอุณหภูมิ ซึ่งความถูกต้องในการควบคุมอุณหภูมิ 1 ํ C จะประหยัดการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศ ถึงร้อยละ 10
- ใช้แผงกรองอากาศประสิทธิภาพสูง ช่วยลดความสกปรกที่ขดน้ำเย็น เป็นการ เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องส่งลมเย็นและทำให้คุณภาพอากาศในที่ทำงานดีขึ้น
- ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจสอบค่าคาร์บอนไดออกไซด์ภายในที่ทำงาน เพื่อควบคุม การเปิดปิดทางเข้าของอากาศภายนอก ไม่ให้เข้ามาในอาคารมากเกินไปในขณะที่ยังคงรักษา ปริมาณอากาศบริสุทธิ์ในที่ทำงานให้เพียงพออยู่เสมอ
- ใช้อุปกรณ์ควบคุมปริมาณลม พร้อมกับติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมความเร็วรอบ มอเตอร์พัดลมของเครื่องส่งลมเย็น เพื่อขจัดปัญหาภาวะไม่สมดุลย์ของลมที่จ่ายในแต่ละพื้นที่ ทำงานในขณะเดียวกันยังเป็นการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
– ใช้ระบบควบคุมอัตโนมัติ
ระบบควบคุมอัตโนมัติ เป็นระบบประหยัดพลังงานทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ใช้ง่าย สามารถควบคุมการทำงานของอุปกรณ์จำนวนมากโดยใช้บุคลากรเพียงคนเดียว สามารถกำหนดชั่วโมงทำงานของระบบปรับอากาศได้ถูกต้องแม่นยำและมีประสิทธิ ภาพ กล่าวคือ สามารถเปิดและปิดอุปกรณ์ตามเวลาที่กำหนด (Time Schedule) และ สามารถเปิดและปิดตามสภาพอากาศภายนอกและตามภาระทำความเย็น (Optimum Start -Stop) - สามารถควบคุมการทำงานของระบบปรับอากาศในระยะไกล (จากหน้าจอ คอมพิวเตอร์)
– ปรับปรุงในส่วนอาคาร - ผนังทึบ ผนังภายนอกควรทาสีขาวหรือสีอ่อน เพื่อช่วยสะท้อนความร้อน
ผนังภายในควรบุฉนวนกันความร้อน - ผนังกระจก (ซึ่งนิยมมากสำหรับอาคารสถานที่ทำงานในปัจจุบัน) ควรใช้กระจกชนิดสะท้อนรังสีความร้อน (Heat Mirror) แทนที่จะใช้กระจกใสธรรมดา กรณีอาคารเก่าที่ใช้กระจกใสธรรมดา ก็ควรพิจารณาติดฟิล์มชนิดสะท้อนรังสีความร้อน
ระบบแสงสว่าง
(ใช้ไฟฟ้าประมาณร้อยละ 25 ของการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งหมดของอาคาร)
1. ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ (ประหยัดพลังงานของไฟฟ้าแสงสว่างได้ร้อยละ 1-5)
- ปิดไฟในเวลาพักเที่ยงหรือเมื่อเลิกใช้งาน
- ถอดหลอดไฟในบริเวณที่มีความสว่างมากเกินความจำเป็น ทั้งนี้ควรถอดบัลลาสต์
- บำรุงรักษาอุปกรณือย่างสม่ำเสมอ ตรวจสอบการทำงานและความสว่าง ทำความ สะอาดสม่ำเสมอ ทุกๆ 3-6 เดือน
2. ปรับปรุงและติดตั้งอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน (ประหยัดพลังงานของไฟฟ้าแสงสว่างได้ร้อยละ 25-30)
– เลือกใช้อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง
เลือกใช้หลอดที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ 18 และ 36 วัตต์ ชนิดไตรฟอสฟอร์ (หลอดซุปเปอร์ลักซ์) ซึ่งจะให้แสงสว่างมากกว่าหลอดผอมธรรมดาถึงร้อย ละ 30แต่ใช้ไฟฟ้าเท่าเดิม ใช้หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์แทนหลอดไส้ ใช้บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์แทนบัลลาสต์ชนิดขดลวดแกนเหล็กทำให้การใช้ไฟฟ้าลด ลง 10 วัตต์ เหลือเพียง 1-2 วัตต์ นอกจากนี้ยังช่วยยืดอายุการใช้งานของหลอดไฟถึง 2 เท่า ใช้โคมประสิทธิภาพสูง จะช่วยลดจำนวนหลอดไฟจากเดิม 4 หลอดใน 1 โคม เหลือ 2 หลอด โดยที่ความสว่างยังคงเดิม
– ปรับปรุงระบบแสงสว่าง - ติดตั้งสวิตซ์ไฟให้สะดวกในการเปิดปิด (ควรอยู่ที่ประตูทางเข้าออก) และควรแยก สวิตซ์ควบคุมเป็นแถว ไม่ควรมีสวิตซ์เดียวควบคุมการเปิดปิดทั้งชั้น
- ควรติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างให้ใช้เฉพาะที่เท่านั้น
- ใช้แสงธรรมชาติช่วยในบริเวณที่ทำงานริมหน้าต่างและระเบียงทางเดิน
– ใช้ระบบควบคุมแสงสว่างอัตโนมัติ
- ใช้อุปกรณ์ตรวจจับการเคลื่อนไหวเพื่อเปิดปิดไฟอัตโนมัติ เช่น ห้องประชุม และห้อง
ผู้บริหาร - ใช้อุปกรณืควบคุมการเปิดไฟอัตโนมัติตามเวลา เช่น บริเวณที่ทำงาน ทางออก และ
ห้องน้ำ - ใช้อุปกรณ์หรี่แสง เช่น บริเวณที่ทำงานริมหน้าต่าง
อุปกรณ์อื่นๆ
(ใช้ไฟฟ้าประมาณร้อยละ 15 ของการใช้พลังงานทั้งหมดของอาคาร)
1. อุปกณ์สำนักงาน
ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer) เครื่องพิมพ์ผล (Printer) เครื่องถ่ายเอก
สารและเครื่องโทรสาร
– ปิดเครื่องหลังเลิกงานพร้อมทั้งดึงปลั๊กออกด้วย เนื่องจากยังมีการสิ้นเเปลืองพลังงาน ยกเว้น เครื่องโทรสาร ซึ่งต้องเปิด 24 ชั่วโมง
– ปิดจอภาพในเวลาพักเที่ยง เนื่องจากจอภาพใช้ไไฟ้ากว่าร้อยละ 70 ของ คอมพิวเตอร์ และควรสั่งให้ระบบประหยัดพลังงานอัตโนมัติที่มากับเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน
– ซื้อเฉพาะอุปกรณืสำนักงานที่มีสัญลักษณ์ Energy Star และตรวจสอบว่า ระบบประหยัดพลังงานทำงานได้จริง
– ซื้อจอภาพขนาดที่เหมาะสม เช่น จอภาพ 14 นิ้ว ใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าจอภาพ 17 นิ้ว
– พิจารณาเครื่องพิมพ์ผล (Printer) และครื่องถ่ายเอกสารที่มีระบบถ่าย 2 หน้า จะช่วยประหยัดกระดาษ
2. ลิฟท์
– ควรใช้บันไดกรณีขึ้นลงชั้นเดียว
– ควรตั้งโปรแกรมให้ลิฟท์หยุดเฉพาะชั้นคี่ หรือชั้นคู่ เนื่องจากลิฟท์ใช้ไฟฟ้ามาก ในขณะออกตัว
3. ปั๊มน้ำ
– ใช้หัวน้ำก็อกชนิดประหยัดน้ำ
– ควรติดมิเตอร์วัดการใช้น้ำ แยกระหว่างระบบน้ำที่ใช้ระบายความร้อนของเครื่อง ทำน้ำเย็นกับระบบประปา เพื่อง่ายต่อการควบคุมตรวจสอบการใช้ปริมาณน้ำ
– ควรนำน้ำจากอ่างล้างมือมาใช้รดต้นไม้ (บริเวณรอบๆ สถานที่ทำงาน) หรือติดตั้ง อุปกรณ์ตรวจสอบความชื้นที่ผิวดิน บริเวณปลูกต้นไม้ เพื่อควบคุมการทำงานของปั๊มน้ำ
การประหยัดพลังงานในอาคารหรือสถานที่ทำงานให้ได้ผลนั้น เจ้าของอาคารหรือเจ้า ของกิจการ พนักงานทุกระดับ ตลอดจนผู้เข้าไปติดต่อในอาคารหรือสถานที่ทำงาน ต้องให้ ความร่วมมือโดยตระหนักถึงความสำคัญของการประหยัดพลังงานและที่สำคัญต้องมีการปฏิบัติ อย่างจริงจังและต่อเนื่องดังแนวทางวิธีการต่างๆ ดังกล่าวมาข้างต้น