home movie radio music chord lyrics book game Dictionary clip
HOME HAND MADE RADIO SHOP CHORD LYRICS BOOKS GAME Dictionary Clip




 
หน้าหลัก | บทที่ 1 | บทที่ 2 | บทที่ 3 | บทที่ 4 | บทที่ 5 | บทที่ 6 | บทที่ 7 | บทที่ 8 | บทที่ 9 | บทที่ 10 | บทที่ 11 | บทที่ 12 | บทที่ 13 | บทที่ 14 | บทที่ 15 |
 

บทที่ 14 ของไหล

เนื้อหาประกอบด้วย

14.1   คำจำกัดความของความหนาแน่น  และ ความดัน

14.2   ความดันในของไหลที่อยู่นิ่ง

14.3   แรงลอยตัว กฎของอาร์คีมีดีส (Archimedes’ Principle)

14.4   ของไหลเคลื่อนที่ สมการแบร์นูลลี (Bernoulli’s Principle)

          ของไหล  เป็นสารที่สามารถไหลไปมาได้เมื่อมีแรงมากระทำ  ในบทนี้จะศึกษาคุณสมบัติของไหล ในเชิงอุดมคติโดยอาศัยกลศาสตร์ดั้งเดิม

14.1 คำจำกัดความของความหนาแน่น และ ความดัน

          ความเฉื่อยของของไหลจะแสดงในเทอมของความหนาแน่น  แทนที่จะเป็นมวล

          ความหนาแน่น : คืออัตราส่วนระหว่างมวลต่อปริมาตร

                                   =      

ตัวอย่างที่ 14.1 จงหาอัตราส่วนระหว่างมวลของทองคำ  กับมวลของโลก  เมื่อทองคำเป็นรูปลูกบาศก์ซึ่งมีความยาวด้านละ 

          กำหนดให้  ทองคำมีความหนาแน่น

                        โลกมีมวล  =

วิธีทำ  จาก                    =      

                                   =           =      

                                      =      

ดังนั้น                           =      

                                      =      

          แรงที่กระทำกับของไหลจะแทนด้วยความดันเพื่อความสะดวก

          ความดัน  คือแรงที่กระทำต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่

                                   =      

         

 

 

หน่วยของความดัน

                                  =           =      

หน่วยที่ได้เรียกว่า  พาสคาล (Pascal)

                                =              =      

 

ตัวอย่างที่ 14.2  ทองคำรูปลูกบาศก์ในตัวอย่างที่ 14.1 วางบนพื้น จงหาความดันที่กระทำต่อพื้น

วิธีทำ  แรงที่กระทำบนพื้นเป็นแรงเนื่องจากน้ำหนักของทองคำ

                                   =             =      

                                      =      

                                      =      

หน่วยของความดันที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีอยู่หลายหน่วยด้วยกัน  แสดงดังตารางข้างล่างนี้

 

Converted

to

1 Pascal

1 Pa

1 atmosphere

1atm

1 mmHg

1 Toor

1 lb/in2

1 psi *

Pa

1

101 kPa

133 Pa

6.90 kPa

atm

1

mmHg

760 mmHg

1

51.7 mmHg

psi

14.7 psi

1

         

                   psi  = pounds per square inch

 

 

14.2ความดันในของไหลที่อยู่นิ่ง 

          ของไหลอยู่นิ่งจะมีคุณสมบัติ 4  ข้อที่เราต้องทำความเข้าใจ

ก.     แรงดันจะตั้งฉากกับพื้นที่ผิว  ถ้าแรงดันไม่ตั้งฉากหรือทำมุมใด ๆ กับพื้นที่ผิวของก้อนของไหล  ให้แยกองค์ประกอบของแรงในแนวตั้งฉาก และขนานกับพื้นที่ดังรูปที่ 14.1  ในกรณีนี้แรงที่ตั้งฉากกับพื้นที่ของของเหลวจะทำให้เกิดทอร์คและเกิดการหมุน  อย่างไรก็ตามเนื่องจากของไหลอยู่นิ่งแรงลัพธ์ที่กระทำที่ผิวจะมีค่าเป็นศูนย์

 

                 รูปที่ 14.1

 

          ข. แรงดันต่อหน่วยพื้นที่มีค่าเท่ากันทุก ๆ จุดบนผิวนั้น  พิจารณาก้อนของเหลวดังรูปที่ 14.2  จากกฎข้อสองของนิวตัน

 

                                     

 

 

 

                                     

 

 

          รูปที่ 14.2

 

                                       =      

                            =             

                                             =      

                                        =      

                            =      

                                            =      

          จากสมการความดัน

                                           =      

                                             =      

                                          =      

                                            =      

          นั่นคือทุกด้านของก้อนของเหลวจะมีความดันเท่ากัน  ไม่ว่าจะเปลี่ยนรูปร่างของก้อนของเหลวและมุมที่แรงกระทำบนก้อนของเหลว  ผลสุดท้ายค่าที่ได้ก็จะมีค่าเท่ากัน  สรุปได้ว่าความดันจะค่าเท่ากันในทุกทิศทาง

 

          ค. ความดันในของไหลจะขึ้นอยู่กับความลึกเพียงอย่างเดียว

          พิจารณาก้อนของเหลวมีพื้นที่หน้าตัด

 

สูง  แรงของก้อนของเหลวคือแรงเนื่องจากน้ำหนัก  แรงที่กระทำที่ด้านล่างของก้อนของเหลวคือแรงดัน  ส่วนแรงด้านข้างจะหักล้างกันหมด แสดงดังรูปที่ 14.3  จากกฎข้อสองของนิวตัน

                      =      

                  =      

                        =           

          รูปที่ 14.3                                                    =     

                            

          จากสมการความดันและความหนาแน่น

                                  =          =      

          ความดันในของไหลอยู่นิ่ง                      =      

 

          นั่นคือความดันในกรณีนี้คือน้ำหนักของของเหลว  ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญและความดันจะขึ้นอยู่กับความสูงไม่ใช่รูปร่างของของเหลว

 

ตัวอย่างที่ 14.3 ท่อน้ำประปาสำหรับต่อเข้าอาคารสูงมีความดัน   จงคำนวณหาความสูงของอาคารที่สูงที่สุดที่สามารถต่อท่อประปาได้โดยไม่ต้องอาศัยปั๊ม

วิธีทำ  เมื่อไม่คำนึงถึงรูปร่างและขนาดของท่อ  ความดันจะขึ้นอยู่กับความสูงเท่านั้น  จากสมการความดันในของไหลที่อยู่นิ่ง (เนื่องจากที่ระดับสูงสุดน้ำในท่อจะอยู่นิ่ง)

                                   =      

                                    =           =      

                                      =      

         

          การวัดความดัน  การวัดความดันโดยทั่วไปจะเป็นการเปรียบเทียบ พิจารณาแผนภาพแสดงเครื่องมือวัดความดันแสดงดังรูปที่ 14.4  ถ้าความดันทั้งสองด้านมีค่าแตกต่างกัน  ความดันด้านที่มากกว่าจะไปดันแผ่นกั้นทำให้เข็มที่ติดอยู่กับแผ่นกั้นเบี่ยงเบนไปทำให้สามารถอ่านค่าได้

          เครื่องมือวัดความดันจะอ่านค่าได้ศูนย์เมื่อความดันทั้งสองข้างมีค่าเท่ากัน ความดันนี้เรียกว่าความดันสมบูรณ์ (absolute pressure)  หรือความดันบรรยากาศ (atmosphere)

          ความสัมพันธ์ระหว่างความดันเกจ  และความดันสมบูรณ์  คือ

              =      

           เมื่อ  คือความดันบรรยากาศ มีค่าเท่ากับ

 

 

 

 

          รูปที่ 14.4

 

 

ตัวอย่างที่ 14.4  จงใช้ความดันสมบูรณ์ เพื่อประมาณค่ามวลของความดันบรรยากาศ

วิธีทำ  จากสมการความดัน                      =             =      

เมื่อ  คือรัศมีของโลก

                                                      =      

                                                          =      

                                                          =      

          ทำไมเราจึงไม่รู้สึกว่ามีแรงมากระทำ

 

          ง. การประยุกต์การส่งผ่านแรงดันคงที่ จากภายนอกตลอดทั่วของเหลว

             (กฎของปาศคาล , Pascal’s Principle)

 

 

 

 

 

         

                                                                   รูปที่ 14.5

 

          จากรูปที่  14.5  แสดงเครื่องอัดไฮดรอลิก  พิจารณาลูกสูบในกระบอกเล็กเมื่อออกแรง  น้อย ๆ กระทำให้เคลื่อนที่ไปทางขวามือ  จะมีผลทำให้ลูกสูบในกระบอกใหญ่เคลื่อนที่ขึ้น  เนื่องจากแรง  ซึ่งมีค่ามาก  จึงทำให้สามารถยกวัตถุที่มีน้ำหนักมาก ๆ ได้ เมื่อออกแรงน้อย ๆ

          ของไหลไม่ได้เพิ่มพลังงาน  แต่เกิดจากงานที่ทำบนของไหลเนื่องจากแรง  ซึ่งมีค่าเท่ากับงานที่ใช้ในการยกวัตถุที่มีน้ำหนักมาก ๆ  อันเนื่องมาจากแรง   จากกฎการอนุรักษ์พลังงาน และสมการของงานจะได้

                                          =      

          ปริมาตรของของไหลที่เคลื่อนที่ในกระบอกเล็กจะมีค่าเท่ากับปริมาตรของของไหลที่เคลื่อนที่ในกระบอกใหญ่  จากนั้นนำปริมาตรของของไหลในแต่ละท่อไปหารสมการข้างต้นจะได้

                                         =      

                                           =      

          จากสมการความดัน

                                           =           

                                             =      

 

14.3 แรงลอย กฎของอาร์คีมีดีส (Archimedes’ Principle)

          ทำไมวัตถุบางชนิดจมบางชนิดลอย  เนื่องจากของไหลออกแรงกระทำต่อวัตถุ  แรงนี้เรียกว่า  แรงพยุง (buoyant force) เมื่อแรงพยุงคือผลต่างของความดัน เป็นการเปรียบเทียบความดันระหว่างด้านบนของวัตถุ กับความดันด้านล่างของวัตถุ  แรงพยุงที่กระทำต่อวัตถุแสดงดังรูปที่ 14.5

               =      

 

          อาศัยความสัมพันธ์ระหว่างแรงกับความดัน  เมื่อความดันขึ้นอยู่กับความลึกในของเหลว

 

               =      

                   =      

                   =      

                   =      

           นั่นคือแรงพยุงเป็นผลมาจากความหนาแน่นของ           รูปที่ 14.5                       ของเหลว และปริมาตรส่วนที่จมของวัตถุ  ซึ่งมีค่าเท่ากับมวลของของเหลวที่ถูกแทนที่ด้วยวัตถุ

          กฎของอาร์คีมีดีส แรงพยุงจะมีค่าเท่ากับน้ำหนักของของเหลวที่ถูกแทนที่ด้วยวัตถุ  สามารถเขียนอยู่ในรูปสมการทางคณิตศาสตร์ได้ดังนี้

 

                                  =            (  คือมวลของของเหลว )

 

 

 

 

ตัวอย่างที่ 14.5 กล่องโลหะมวล  กรัม เมื่อชั่งในอากาศ  แต่อ่านได้   กรัมเมื่อช่งในน้ำ จงหาความหนาแน่นของกล่องโลหะนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                             รูปที่ 14.6 ก.                                 รูปที่ 14.6 ข.

 

วิธีทำ  เมื่อชั่งในอากาศจะมีแรงเนื่องจากน้ำหนักเพียงอย่างเดียว ซึ่งแรงนี้จะไปกระทำต่อตาชั่ง ดังรูปที่ 14.6 ก. แต่เมื่อนำไปชั่งในน้ำจะมีแรงพยุงเพิ่มเข้ามาดังรูปที่ 14.6 ข. ทำให้ตาชั่งอ่านค่าได้น้อยลง

จากกฎข้อสองของนิวตัน

                               =      

                     =      

                                  =               

                                      =      

จากกฎของอาร์คีมีดีส

                                  =      

                               =      

                                 =      

จากสมการความหนาแน่นเพื่อหาปริมาตรของกล่องโลหะ

                                =      

                                   =      

จากสมการความหนาแน่นเพื่อหาความหนาแน่นของกล่องโลหะ

                                   =             =      

                                      =      

                                      =      

          แรงพยุงเป็นแรงชนิดหนึ่งดังนั้นสามารจัดการหรือคำนวณได้เหมือนแรงชนิดอื่น ๆ เช่น แรงเสียดทาน แรงจากภายนอก แรงโน้มถ่วง เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

ตัวอย่างที่ 14.6 จงคำนวณหาปริมาตรส่วนที่จมต่อปริมาตรทั้งหมดของก้อนน้ำแข็งที่ลอยอยู่ในน้ำดังรูปที่ 14.7

          วิธีทำ แรงที่กระทำต่อวัตถุคือแรงเนื่องจากน้ำหนัก  และแรงพยุง

          จากกฎข้อสองของนิวตัน

                      =      

                  =      

                         =            =      

          จากกฎของอาร์คีมีดีส  โดยอาศัยความจริงที่ว่า                      รูปที่ 14.7                 ปริมาตรส่วนที่จมของวัตถุจะเข้าไปแทนที่น้ำ

                                            =      

                                         =      

                                           =      

 

          เมื่อ   คือมวลของน้ำที่ถูกแทนที่  ; คือปริมาตรส่วนที่ลอย  ; คือปริมาตรส่วนที่จมจากนิยามของความหนาแน่น

                                           =      

                                         =      

                                     =      

                                                =      

                                                =      

          ก้อนน้ำแข็งจะลอยเหนือน้ำ

                                     =      

                                                =      

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

14.4 ของไหลเคลื่อนที่ - สมการแบร์นูลลี  (Bernoulli’s Principle)

        สมการแบร์นูลลี  ความในของไหลเคลื่อนที่จะมีค่าน้อยกว่าความดันในของไหลที่อยู่นิ่ง  สังเกตได้จากเมื่อใช้มือจับเศษกระดาษชิ้นยาว ๆ แล้วเป่า  จะเห็นว่ากระดาษจะยกตัวขึ้น

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                รูปที่ 14.8

          เมื่อของไหลเคลื่อนที่จะเป็นการง่ายเมื่อพิจารณาในรูปของพลังงาน แทนพิจารณาในรูปของแรง  พิจารณาของไหลส่วนเล็ก ๆ ในท่อ  ซึ่งเคลื่อนที่ไปทางขวามือเมื่อขนาดของท่อมีขนาดเล็กลงแสดงดังรูปที่ 14.8 ให้ของไหลที่ปลายด้านล่างเคลื่อนที่ได้ระยะทาง  ทำให้ของไหลในท่อด้านบนเคลื่อนที่ได้ระยะทาง  เป็นของไหลที่อัดไม่ได้  มวลของของไหลที่เคลื่อนที่อยู่ภายในท่อด้านบนและด้านล่างจะมีค่าเท่ากัน  จากนิยามของความหนาแน่น

                                            =      

                                        =      

                                          =      

 

          เวลาที่ของไหลใช้ในการเคลื่อนที่มีค่าเท่ากัน  เมื่อนำมาหารสมการด้านบนทั้งสองข้างจะได้

                                        =      

                                          =      

 

          สมการที่ได้เรียกว่าสมการแห่งความต่อเนื่อง (equation of continuity)

          แรงดันที่ท่อด้านล่าง  แรงดันที่ท่อด้านบน  และแรงโน้มถ่วง แรงทั้งหมดจะทำให้เกิดงานเนื่องจากของไหล  จากทฤษฎีของงาน พลังงาน  งานทั้งหมดที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของของไหลส่วนเล็ก ๆ ที่พิจารณา  จะมีค่าเท่ากับการเปลี่ยนแปลงพลังงานจลน์ของมวลที่เคลื่อนที่

                        =      

จากนิยามของความดันและความหนาแน่น

             =      

เมื่อปริมาตรของไหลส่วนที่เคลื่อนที่ในท่อล่างกับท่อบนมีค่าเท่ากัน

                               =      

                                  =      

สมการที่ได้เรียกว่าสมการแบร์นูลลี  นั่นคือ

                                    =       ค่าคงที่

ตัวอย่างที่ 14.7  จงคำนวณหาความเร็วของน้ำที่ไหลผ่านรอยรั่วที่ฐานของเขื่อนกั้นน้ำ ถ้าระดับน้ำในเขื่อนสูง 

วิธีทำ   จากรูปที่ 14.9  กำหนดให้ฐานเขื่อนอยู่ที่ตำแหน่ง   น้ำไหลออกจากรอยรั่วที่ฐานเขื่อน  และกำหนดให้น้ำบริเวณเหนือเขื่อนมีความเร็วเป็นศูนย์ (เนื่องจากรอยรั่วมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับบริเวณเหนือเขื่อน)

          จากสมการแบร์นูลลี

 

      =      

                 =      

 

          รูปที่ 14.9

 

          แต่ความดันบรรยากาศเหนือเขื่อนจะมีค่าเท่ากับความดันบรรยากาศที่ฐานเขื่อนคือ

                                          =      

                                             =      

แทนค่าต่าง ๆ ลงในสมการ

                                             =      

                                                =      

          หลัการนี้ใช้คำนวณได้กับรอยรั่วทั่ว ๆ ไปที่มีลักษณะเช่นนี้

 

ตัวอย่างที่ 14.8 จงหาความเร็วของอากาศเหนือลูกปิงปองที่ลอยอยู่ดังรูปที่ 14.10

วิธีทำ ให้ความแตกต่างระหว่างด้านบนกับด้านล่างไม่มีผลต่อความสูงของลูกปิงปอง เนื่องจากลูกปิงปองมีขนาดเล็ก  ดังนั้นผลต่างระหว่างความสูงจึงมีค่าน้อยมากนั่นคือ

          จากสมการของแบร์นูลลี

                =      

เมื่อ 

                         =      

             รูปที่ 14.10            กำหนดให้ความเร็วด้านล่างของลูกปิงปองมีค่าเข้าใกล้ศุนย์

                                  =      

                                                =      

 

ความแตกต่างของความดันสามารถหาได้จากกฎข้อสองของนิวตัน

                                         =      

                              =      

                                      =      

หารสมการทั้งสองข้างด้วยพื้นที่หน้าตัด  ของลูกปิงปอง  จากนั้นใช้สมการความดัน

                                     =      

                                                =      

แทนค่าสมการ    จะได้

                                        =      

                                            =      

กำหนดให้  ;   และ

                                             =      

                                                =      

สรุป

ความหนาแน่น :

ความดัน :

ความดันในของไหลที่อยู่นิ่ง :

กฎของอาร์คิมีดีส :

สมการการไหลต่อเนื่อง :

สมการแบร์นูลลี :

 

 
Bookmark This Page