|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
หน้าหลัก | บทที่ 1 | บทที่ 2 | บทที่ 3 | บทที่ 4 | บทที่ 5 | บทที่ 6 | บทที่ 7 | บทที่ 8 | บทที่ 9 | บทที่ 10 | บทที่ 11 | บทที่ 12 | บทที่ 13 | บทที่ 14 | บทที่ 15 | |
บทที่ 2 เวกเตอร์ (Vector)
เนื้อหาประกอบด้วย
2.1 ระบบพิกัด
2.2 เวกเตอร์
2.3 ส่วนประกอบของเวกเตอร์
2.4 การบวกเวกเตอร์
2.5 เวกเตอร์ตำแหน่ง
2.6 การคูณเวกเตอร์
เวกเตอร์เป็นเครื่องมือทางคณิตศาสตร์อย่างหนึ่ง ซึ่งดูเหมือนไม่มีความจำเป็นแตเป็นเครื่องมืออย่างแรกที่ต้องใช้ อย่างไรก็ตามในการศึกษาทางฟิสิกส์เวกเตอร์เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญ เพื่อช่วยในอำนวยความสะดวกในการคำนวณ
2.1 ระบบพิกัด (แกนอ้างอิง)
ระบบพิกัดมีความสำคัญเพื่อช่วยในการวัดมีความหมาย เช่นอีก 800 m ถึงอาคารวิทยาศาสตร์เป็นการบอกที่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากไม่ทราบว่าเริ่มต้นที่ตำแหน่งใด
ดังนั้นในการกำหนดระบบพิกัดต้องทราบ
ก. จุดเริ่มต้น
ข. ชนิดของระบบพิกัด (พิกัดฉาก ; พิกัดเชิงขั้ว ; พิกัดทรงกระบอก)
ค. ทิศตามแกน
ระบบพิกัดแบบมาตรฐานใน 2 มิติ
ได้แก่ระบบพิกัดฉาก (Cartesian) และ ระบบพิกัดเชิงขั้ว (Polar)
รูปที่ 2.1 แสดงระบบพิกัดใน 2 มิติ
ตัวอย่างที่ 2.1 จงหาระบบพิกัดเชิงขั้วของจุด ดังรูปที่ 2.2
วิธีทำ จากทฤษฎีพิธากอรัส
= = =
=
=
รูปที่ 2.2
ระบบพิกัดแบบมาตรฐานใน 3 มิติ
ได้แก่ระบบพิกัดฉาก (Cartesian) และ ระบบพิกัดทรงกระบอก (Cylindrical) และระบบพิกัดทรงกลม (Spherical)
รูปที่ 2.3 ระบบพิกัดฉากใน 3 มิติ
2.2 เวกเตอร์
สเกลาร์ : ปริมาณที่มีเฉพาะขนาดอย่างเดียว
เวกเตอร์ : ปริมาณที่มีทั้งขนาดและทิศทาง
ตัวอย่างที่ 2.2 นักศึกษาคนหนึ่งเดินทางไปทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือได้ระยะทาง ดังรูปที่ 2.4 ขวามมือ จงเขียนรูปแสดงการเดินทางในรูปของเวกเตอร์
วิธีทำ เราสามารถเขียนให้อยู่ในรูปของเวกเตอร์ได้ดังรูปที่ 2.4 ทางซ้ายมือ เมือความยาวของลูกศรแทนขนาดของเวกเตอร์มีค่าเท่ากับ (โดยใช้มาตราส่วน ) หัวลูกศรแสดงทิศทางของเวกเตอร์
รูปที่ 2.4
ข้อสังเกตุ เวกเตอร์สามารถเลื่อนออกจากจุดเริ่มต้นได้ โดยขนาดและทิศทางคงที่
การเขียนเวกเตอร์ดังรูปที่ 2.4 เป็นการไม่สะดวกเราสามารถเขียนใหม่ได้เป็น ทำมุม กับแกน ในหนังสือเล่มนี้จะแทนเวกเตอร์ด้วย
2.4 ส่วนประกอบของเวกเตอร์
ตัวอย่างที่ 2.3 นักศึกษาคนหนึ่งเดินทางไปทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางทิศเหนือได้ระยะทาง ดังรูปที่ 2.5 จงหาระยะทางที่เขาเดินทางได้ในทิศเหนือและทิตะวันออก
วิธีทำ เปลี่ยนจากระบบพิกัดเชิงขั้วเป็นระบบพิกัดฉากจากรูปที่ 2.5 จะได้
=
=
= ทิศเหนือ
=
=
= ทิศตะวันออก
ส่วนของเวกเตอร์ บนแกน และ เราเรียกว่า "ส่วนประกอบ" ของเวกเตอร์
รูปที่ 2.5
เวกเตอร์หนึ่งหน่วย คือเวกเตอร์ที่มีขนาด 1 หน่วย และมีทิศทางตามเวกเตอร์ที่พิจารณา เช่น ให้ เป็นเวกเตอร์ที่มีขนาดเท่ากับ และ เป็นเวกเตอร์หนึ่งหน่วย ที่มีทิศเดียวกับเวกเตอร์ ดังรูปที่ 2.6
=
หรือเขียนใหม่ได้เป็น
=
รูปที่ 2.6
ดังนั้นในระบบพิกัดแกนมุมฉาก เวกเตอร์หนึ่งหน่วยแทนด้วย
มีขนาด 1 หน่วยทิศตามแกน
มีขนาด 1 หน่วยทิศตามแกน
มีขนาด 1 หน่วยทิศตามแกน
โดยเวกเตอร์ทั้งสามตั้งฉากซึ่งกันและกัน และเวกเตอร์ทั้งสามจะเรียงกันในทิศทวนเข็มนาฬิกา
จากตัวอย่างที่ 2.3 คำตอบที่ได้สามารถเขียนใหม่ได้เป็น เป็นการเขียนในรูปแบบมาตรฐานซึ่งมีความสะดวกมากเมื่อนำไปใช้ในการบวกและการคูณเวกเตอร์
รูปแแบบทั่ว ๆ ไปของเวกเตอร์เขียนได้ดังนี้ เมื่อ คือส่วนประกอบบนแกน ของ ; คือส่วนประกอบบนแกน ของ ; คือส่วนประกอบบนแกน ของ เป็นเวกเตอร์ใน 3 มิติ
ส่วนประกอบของเวกเตอร์ใน 3 มิติ
ถ้า อยู่บนระบบพิกัดฉาก ; ; โดยที่ ทำมุม ; ; กับแกน ; และ ตามลำดับ ดังรูปที่ 2.7
ส่วนประกอบของ บนระนาบ และ คือ
=
=
เพราะว่า =
แต่ =
=
=
รูปที่ 2.7
ทิศทางของเวกเตอร์ หาได้โดยใช้โคไซน์บอกทิศ (direction cosine) โดยที่ ; ; เมื่อ
ดังนั้นส่วนประกอบของ บนแกน ; และ เขียนใหม่ได้เป็น
=
=
2.4 การบวกเวกเตอร์
เวกเตอร์ สามารถหาได้จากส่วนประกอบของเวกเตอร์เข้าด้วยกันแสดงดังรูปที่ 2.8 เมื่อ
การบวกเวกเตอร์ทำได้โดยการนำหางของเวกเตอร์ตัวที่สอง ต่อเข้ากับหัวของเวกเตอร์อันแรก ส่วน ได้จากการลากจากหางของเวกเตอร์อันแรกไปยังหัวเวกเตอร์ตัวที่สอง
รูปที่ 2.8 แสดงการบวกเวกเตอร์
ตัวอย่างที่ 2.4 จงหาระยะการกระจัดทั้งหมดของนักศึกษาคนหนึ่งซึ่งเดินทางไปทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือได้ระยะทาง จากนั้นเดินทางไปทางทิศตะวันออก ดังรูปที่ 2.9
วิธีทำ จากตัวอย่างที่ 2.3 ระยะการกระจัดครั้งแรกคือ
=
ระยะการกระจัดครั้งที่ 2
=
คำตอบที่ได้คือเวกเตอร์ ซึ่งเราเรียกว่า ผลลัพธ์ ผลลัพธ์ที่ได้นี้สามารถหาได้ดังนี้
รูปที่ 2.9
ก. เขียนรูป โดยการกำหนดมาตราส่วนแล้วนำมาเขียนรูปผลลัพธ์ที่ได้ หาได้โดยการวัดดังรูปที่ 2.9
ข. วิธีคำนวณ โดยการแยกองค์ประกอบของ และ ลงบนบนแกน และ
แกน จากนั้นนำองค์ประกอบในแต่ละแกนมารวมกัน
องค์ประกอบบนแกน ของเวกเตอร์ หาได้จากการนำองค์ประกอบบนแกน ของ และ มาบวกกัน
=
=
=
ในทำนองเดียวกันองค์ประกอบบนแกน
ของเวกเตอร์ หาได้จากการนำองค์ประกอบบนแกน ของ และ มาบวกกัน
=
=
=
รูปที่ 2.10
ค. ใช้เวกเตอร์หนึ่งหน่วย
เมื่อ =
=
จัดรูปใหม่
=
=
จากคำตอบที่ได้ในข้อ ข. และ ข้อ ค. เราสามารถหาผลลัพธ์ได้โดยใช้พิธากอรัส และอาศัยฟังก์ชั่นทางตรีโกณมิติจากสามเหลี่ยมมุมฉากดังรูปที่ 2.11 จากวิธีคำนวณจะสังเกตุเห็นว่าเมื่อเขียนอยู่ในรูปของเวกเตอร์หนึ่งหน่วยทำให้เราสามารถหาผลลัพธ์ได้สะดวกยิ่งขึ้น
=
=
=
=
=
= กับแกน
รูปที่ 2.11
นอกจากนี้ปริมาณเวกเตอร์ได้แก่ การกระจัด ความเร็ว ความเร่ง แรง โมเมนตัม ทอร์ค น้ำหนักเป็นต้น
ตัวอย่างที่ 2.5 รถยนต์คันหนึ่งวิ่งไปทางทิศเหนือด้วยความเร็ว จากนั้นเลี้ยวไปทางทิศตะวันตกและวิ่งด้วยความเร็ว ดังรูปที่ 2.12 จงหาการเปลี่ยนแปลงความเร็วของรถยนต์
วิธีทำ จากรูปที่ 2.12 เมื่อนำมาเขียนในรูปของเวกเตอร์หนึ่งหน่วย
=
=
รูปที่ 2.12
แต่อัตราการเปลี่ยนแปลงความเร็วคือ
=
=
นั่นคือการลบเวกเตอร์ เป็นการบวกเวกเตอร์ในทิศตรงกันข้ามคือ เมื่อนำรูปมาเขียนใหม่ได้ดังรูปที่ 2.13 ดังนั่นอัตราเร็วเมื่อเขียนอยู่ในรูปของเวกเตอร์หนึ่งหน่วย
=
=
รูปที่ 2.13
เราสามารถหาขนาดและทิศทางของ ได้ดังนี้
=
=
=
รูปที่ 2.14
=
=
= กับแกน ดังรูปที่ 2.14
2.5 เวกเตอร์ตำแหน่ง
เวกเตอร์ตำแหน่ง คือเวกเตอร์ทีบอกตำแหน่งของวัตถุเมื่อเทียบกับจุดใดจุดหนึ่งดังรูปที่ 2.15
รูปที่ 2.15 แสดงเวกเตอร์ตำแหน่ง
จากรูปที่ 2.15 เด็กผู้หญิง นายพราน ผู้ชาย และนกตัวที่บิน สังเกตุนกตัวที่เกาะอยู่บนต้นไม้โดยเทียบกับตัวเอง เช่น เป็นเวกเตอร์บอกตำแหน่งของผู้ชายเทียบกับนกตัวที่เกาะอยู่บนต้นไม้ หรือ เป็นเวกเตอร์บอกตำแหน่งของนกตัวที่บินเทียบกับนกตัวที่เกาะบนต้นไม้
ตำแหน่งของนกที่เกาะอยู่บนต้นบนไม้จะอยู่ที่ตำแหน่งต่างกันเมื่อผู้สังเกต
ต่างกันดังนั้น ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าวการบอกเวกเตอร์ตำแหน่ง จึงกำหนดจุดใดจุดหนึ่งเป็นจุดเปรีบยเทียบ ไม่ว่าใครจะเป็นผู้สังเกตก็ให้ใช้จุดเปรียบเทียบจุดเดียวกัน แสดงดังรูปที่ 2.16
รูปที่ 2.16 เวกเตอร์ตำแหน่งของจุด และจุด
จากรูปที่ 2.16 ให้ และ เป็นเวกเตอร์ตำแหน่งของจุด (ผู้ชาย) อยู่ที่ตำแหน่ง และ (นกเกาะที่ต้นไม้) อยู่ที่ตำแหน่ง เมื่อเทียบกับจุด (เด็กผู้หญิง) อยู่ที่ตำแหน่ง จะได้
= (มอง)
=
=
= (มอง )
=
=
อาศัยการบวกเวกเตอร์โดยการเขียนรูปจะได้
=
= (มอง )
= (ตำแหน่งสุดท้ายลบตำแหน่งตั้งต้น)
ตัวอย่างที่ 2.6 จากรูปที่ 2.17 เวกเตอร์ มีขนาด 100 หน่วย โดยแนวของเวกเตอร์ ผ่านจุด หน่วย เวกเตอร์ มีขนาด 25 หน่วยบนแกน และเวกเตอร์ มีขนาด 50 หน่วยบนแกน จงหา
วิธีทำ คำนวณโดยใช้ เวกเตอร์หนึ่งหน่วย (unite vector)
สมมติให้ อยู่ที่จุด
= และ
=
รูปที่ 2.17
=
=
= = หน่วย
= หน่วย
แต่ = = หน่วย
ดังนั้น = = หน่วย
=
=
=
คำนวณโดยใช้โคไซน์บอกทิศ (direction cosine)
=
=
= = หน่วย
= หน่วย
เมื่อ =
=
แต่ = = หน่วย
= = หน่วย
= = หน่วย
จากโจทย์ = หน่วย
ดังนั้น = หน่วย
=
=
=
2.6 การคูณเวกเตอร์
การคูณเวกเตอร์มี 2 ชนิดได้แก่
ก. ผลคูณที่ได้เป็นปริมาณสเกลาร์ เรียกว่าผลคูณแบบดอท (dot product) หรือผลคูณสเกลาร์ (scalar product)
ข. ผลคูณที่ได้เป็นปริมาณเวกเตอร์ เรียกว่าผลคูณแบบครอส (cross product) หรือผลคูณเวกเตอร์ (vector)
ให้ =
=
ผลคูณสเกลาร์ :
=
=
(เพราะว่า และ )
รูปที่ 2.18
เมื่อ และ คือขนาดของเวกเตอร์ และ
คือมุมระหว่างเวกเตอร์ และ เมื่อ
จากรูปที่ 2.18 เงาของ บน คือ และ เงาของ บน คือ นั่นคือผลคูณสเกลาร์คือการคูณเวกเตอร์กับเงาของอีกเวกเตอร์หนึ่ง
ผลคูณเวกเตอร์ :
=
=
เมื่อ คือเวกเตอร์ผลลัพธ์ทิศของเวกเตอร์ หาได้โดยใช้กฎมือขวาเมื่อ แสดงดังรูปที่ 2.19 เพื่อความสะดวกในการคำนวณเราสามารถหาผลคูณแบบเวกเตอร์ได้โดยใช้เมตริกซ์
=
รูปที่ 2.19
=
=
การพิจาณาเครื่องหมายผลคูณเวกเตอร์พิจารณาโดยการตั้งแกนแบ่งครึ่งทั้งสองข้างให้เท่ากันค่าทางซ้ายเครื่องหมายลบ ค่าทางขวาเครื่องหมายบวกตามระบบแกน
หรือการพิจาณาเครื่องหมายผลคูณเวกเตอร์ดังรูปที่ 2.20 ทิศทวนเข็มเครื่องหมายบวก ทิศตามเข็มเครื่องหมายลบเมื่อ
; ; ; ; ;
รูปที่ 2.20
ตัวอย่างที่ 2.6 พิจารณาเวกเตอร์ และ จงหา
ก. ผลคูณสเกลาร์
ข. ผลคูณเวกเตอร์
ค. มุมระหว่างเวกเตอร์ทั้งสอง
วิธีทำ
ก. =
=
=
ข. =
= =
=
=
ผลคูณแบบเวกเตอร์ มีขนาด หน่วย ทิศตามแกน
ค. =
=
=
=
=
สรุป
ระบบพิกัดฉาก มีความสำคัญ และใช้ในการระบุตำแหน่ง
เวกเตอร์ แสดงตำแหน่งและทิศทาง
ส่วนประกอบเวกเตอร์ : และ
เวกเตอร์หนึ่งหน่วย :
การบวกเวกเตอร์ : เมื่อ และ
ผลคูณสเกลาร์ :
ผลคูณเวกเตอร์ : =